วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ซื้อหุ้นแล้วติดดอย ทำไงดี ??

          ดอยในการลงทุนนั้น มีหลายดอย ไม่ว่าจะเป็นดอยหุ้น ดอยน้ำมัน ดอยทองคำ หรือแม้แต่ดอยหุ้นต่างประเทศ เรียกได้ว่าทุกสินทรัพย์ที่มีการซื้อขาย สามารถสร้างดอยได้ทั้งหมด เขาว่า ทองดีก็ซื้อบ้าง หุ้นตัวไหนแรงก็ตามไปด้วย พอมารู้ตัวอีกทีก็อยู่บนดอยเสียแล้ว ถึงแม้จะมีเพื่อนร่วมอาศัยบนดอยมากมาย ไม่ว่าจะอาศัยกันอยู่แถบเชิงดอย หรือยอดดอย ก็ไม่เคยทำให้เรารู้สึกอบอุ่นแต่อย่างใดจริงไหม เช่นนั้นแล้ว วันนี้ เรามาหาทางลงดอยกันดีกว่า



          ขั้นตอนแรกก่อนการลงดอย เรามาตั้งสติ พิจารณาดูกันอีกทีว่า สินทรัพย์ที่ดอยอยู่นั้น ยังมีอนาคตและสมควรเก็บไว้ในครอบครองหรือไม่ เช่น กรณีของดอยหุ้น หากพบว่ายังเป็นหุ้นที่ดี มีอนาคต โดยราคาที่ลดลงน่าจะเกิดจากความผันผวนในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ หรือเราอาจมองได้ว่า ราคาหุ้นตอนนี้เป็นเพียงดอยชั่วคราวเท่านั้น เช่นนี้ ให้ทำใจร่ม ๆ แล้วอดทนถือต่อไป ยิ่งถ้ามั่นใจในพื้นฐานหุ้นมาก ๆ รวมทั้งมั่นใจว่า ราคาหุ้นจะกลับมาในอนาคต การตัดสินใจซื้อหุ้นเพิ่มเพื่อถัวเฉลี่ยต้นทุนก็ไม่ว่ากัน

          แต่ถ้าดูแล้วพบว่าเป็นเพียงหุ้นที่ เคย” ดีก็ตัดใจเสียเถิด อย่าลืมว่า พื้นฐานหุ้นมันเปลี่ยนไปได้ ไม่ว่าจะด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หรือการมีสินค้าอื่นทดแทน ซึ่งย่อมทำให้กำไรที่เคยได้เป็นกอบเป็นกำ กลับลดลงจนน่าใจหาย ซึ่งหากเจอกรณีเช่นนี้ นับว่ามีโอกาสของความเป็นดอยถาวรเสียแล้ว กรณีนี้ ให้สูดหายใจลึก ๆ แล้วเตรียมลงดอยกันเลย

วิธีที่ เนื้อร้ายต้องตัดทิ้ง (Cut Loss)
          เมื่อพื้นฐานมันเปลี่ยนไปแล้ว แถมแนวโน้มราคา มีแต่จะปักหัวดิ่งลง ยิ่งช้ำใจกว่านั้นเมื่อเห็นราคาหุ้นตัวอื่นวิ่งขึ้นทั้งตลาด ในสถานการณ์เช่นนี้ ตัดใจขายเอาเงินไปซื้อหุ้นตัวอื่นเพื่อมาสร้างกำไร ชดเชยขาดทุนดีกว่า จริง ๆ แล้ว การ Cut Loss นั้น เป็นหนึ่งในหลักการพื้นฐานของนักลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนสายเทคนิค ที่มักจะกำหนดลิมิตของการขาดทุนไว้ เช่น หากราคาหุ้น ลดลงไปจากราคาที่ซื้อไว้ 20% ต้องทำการ Cut Loss ทันที เพื่อจำกัดการขาดทุนนั่นเอง

วิธีที่ ลดอาการบาดเจ็บด้วยการซื้อหุ้นเพิ่มเพื่อลดราคาต้นทุนให้ต่ำลง 
          โดยวิธีการนี้ต้องดูแนวโน้มราคาหุ้นประกอบการตัดสินใจด้วย เพราะการซื้อถัวควรทำในแนวโน้มขาขึ้นเท่านั้น ตัวอย่างเช่น
ซื้อหุ้น ราคาหุ้นละ บาท จำนวน 1,000 หุ้น ต้นทุน 1,000 บาท
ต่อมา หุ้น ราคาหุ้นละ 0.65 บาท ทำให้หุ้นในพอร์ตมีมูลค่า 0.65*1,000 = 650 บาท ขาดทุน 350 บาท
คาดการณ์ว่า 0.65 บาท เป็นราคาต่ำสุดของหุ้น แล้ว ตัดสินใจซื้อหุ้น เพิ่ม 1,000 หุ้น ที่ราคาหุ้นละ 0.65 บาท ทำให้ต้นทุนหุ้นในพอร์ตรวม 1,000 + 650 = 1,650 บาท โดยหุ้นในพอร์ตมีมูลค่า 0.65*2,000 = 1,300 บาท หรือขาดทุน 350 บาท
          ต่อมา หุ้น ราคาหุ้นละ 0.80 บาท ทำให้หุ้นในพอร์ตมีมูลค่า 0.8*2,000 = 1,600 บาท หรือขาดทุน 50 บาท จากตัวอย่าง การซื้อหุ้นในแนวโน้มขาขึ้นเพื่อถัวให้ราคาเฉลี่ยลดลง ช่วยลดความเสียหายของหุ้นในพอร์ตเหลือ 3% (ขาดทุน 50 บาท จากต้นทุน 1,650 บาท) แต่หากเราไม่ได้ทำอะไรเลย เราจะขาดทุน 20% (ขาดทุน 200 บาท จากต้นทุน 1000 บาท) ทั้งนี้ การคำนวณไม่ได้คิดค่าธรรมเนียมในการซื้อขายนะ
          ความเสี่ยงจากการแก้พอร์ตด้วยวิธีนี้ คือ หากการคาดการณ์เราผิดพลาดโดยไปซื้อหุ้นเพิ่มในแนวโน้มราคาขาลง พอร์ตเราจะยิ่งติดดอยหนักขึ้นไปอีก ถึงแม้เราจะได้ราคาต้นทุนต่ำลงไปเรื่อย ๆ แต่อย่าลืมว่า มูลค่าหุ้นที่ถือในปัจจุบัน ก็จะยิ่งต่ำลงไปเช่นกัน

วิธีที่ 3 Short Against Port เป็นการขายหุ้นออกบางส่วน 
          เพื่อนำเงินกลับไปซื้อหุ้นตัวเดิมในราคาที่ถูกลงเพื่อให้มีจำนวนหุ้นในพอร์ตเพิ่มขึ้น วิธีนี้เป็นการลดความเสียหายของพอร์ต โดยไม่เพิ่มต้นทุน แต่ต้องอาศัยการคาดการณ์ที่แม่นยำของราคาแนวรับ แนวต้าน เช่น
          ซื้อหุ้น ราคาหุ้นละ บาท จำนวน 1,000 หุ้น ต้นทุนรวม 1,000 บาท
          ต่อมา หุ้น ราคาหุ้นละ 0.7 บาท ทำให้หุ้นในพอร์ตมีมูลค่า 0.7*1,000 = 700 บาท ขาดทุน 300 บาท
          คาดการณ์ว่า ราคาหุ้น จะลดลงต่ำกว่าแนวรับแรกที่ 0.7 บาท ตัดสินใจขายหุ้น ออกไปก่อน 500 หุ้น ที่ราคาหุ้นละ 0.7 บาท ได้เงิน 350 บาท ทำให้ต้นทุนเหลือ 1,000 -350 = 650 บาท โดยขณะนี้หุ้นในพอร์ตมีมูลค่า 0.7* 500 = 350 บาท ขาดทุน 300 บาท
          ต่อมา หุ้น ราคาหุ้นละ 0.5 บาท ทำให้หุ้นในพอร์ตมีมูลค่า 0.5*500 = 250 บาท ขาดทุน 400 บาท
          วิเคราะห์ว่า หุ้น ที่ราคา 0.5 บาทเป็นจุดต่ำสุด นำเงินที่ขายหุ้น B 350 บาท กลับเข้าซื้อหุ้น ที่ราคา 0.5 บาท ได้ 350 / 0.5 = 700 หุ้น ต้นทุนกลับมาเป็น 650+350 = 1,000 บาท โดยพอร์ตมีมูลค่า 0.5*(500+700) = 600 บาท
          หุ้น ราคาเด้งกลับไปชนแนวต้านที่หุ้นละ 0.80 บาท ทำให้พอร์ตมีมูลค่า 0.8*1,200 = 960 บาท ขาดทุน 40 บาท
          จากตัวอย่าง เราสามารถลดความเสียหายของพอร์ตเหลือ 4% (ขาดทุน 40 บาท จาก 1,000 บาท) แต่หากไม่ได้ทำอะไรเลย พอร์ตของเราจะขาดทุน 20% (ขาดทุน 200 บาท จาก 1,000 บาท) โดยวิธีนี้นอกจากการคาดการณ์ทิศทางแนวโน้มที่แม่นยำแล้ว การคาดการณ์แนวรับ แนวต้านก็สำคัญเช่นกัน

          นี่เป็นเพียงแค่บางตัวอย่างสำหรับการแก้พอร์ตหุ้นด้วยหุ้น ยังมีวิธีที่เราสามารถนำ Derivative เข้ามาช่วยแก้พอร์ตได้ เช่น การ Short Futures ของหุ้นตัวที่เราถืออยู่ เพื่อให้กำไรจาก Futures มาหักล้างกับการขาดทุนจากราคาหุ้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ดอยสูงมาก ๆ การแก้พอร์ตอาจต้องใช้แรงงานและเวลาค่อนข้างมาก ดังนั้นแล้ว เราไม่ควรปล่อยให้พอร์ตขาดทุนมาก ๆ แล้วค่อยหาทางแก้ไข ถ้ารักจะเทรดหุ้นแล้ว อย่าลืมฝึกฝนตัวเองให้มีวินัยในการ Cut loss ด้วยนะจ๊ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น