วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ประวัติศาสตร์การลงทุน

วิกฤติ BLACK MONEY

       วันที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้น   เพียงแค่ตลาดหุ้นร่วงเพียง 1-2% หลายคนก็ว่ารุนแรงแล้ว แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้าอยู่ดีๆ ตลาดหุ้นร่วงหนักทีเดียวกว่า 20% ลองนึกภาพตลาดหุ้นไทยจาก 1,500 จุดจะเหลือเพียง 1,200 จุด บรรยากาศในวันนั้น    คงไม่ต่างอะไรกับวันโลกาวินาศ   



          แต่นี่คือสิ่งที่เคยเกิดขึ้นกับสหรัฐอเมริกาเมื่อวันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน 1987 วันที่ดัชนีดาวโจนส์ร่วงลงไปถึง 500 จุด คิดเป็นการลดลงกว่า 22% ภายในวันเดียว ซึ่งถือเป็นการลดลงของดาวโจนส์ที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้น   ทุกคนเรียกวันจันทร์อันโหดร้ายนั้นว่า Black Monday   

          ปกติแล้ว ทุกการร่วงลงของตลาดแบบรุนแรงมักจะต้องมีสาเหตุที่ค่อนข้างเลวร้ายหน่อยๆ อาจมีสงคราม มีมาตรการณ์รัฐบางอย่าง หรือเกิดความไม่สงบทางการเมือง ฯลฯ แต่กับเหตุการณ์วันจันทร์ทมิฬที่ทำให้ความมั่งคั่งของชาวอเมริกันหายไปกว่า แสนล้านเหรียญ สาเหตุของมันมาจากเรื่องที่ง่ายกว่านั้นมาก   มันเกิดจากแรงขายที่มากกว่าแรงซื้อ แต่ช้าก่อน นี่ไม่ใช่คำตอบแบบกำปั้นทุบดิน เพราะแรงขายที่ว่ามันคือแรงขายแบบ มหาศาล” ที่มาจากระบบการเทรดของคอมพิวเตอร์   

          คอมพิวเตอร์ไม่พลาดหรอก   คนอาจเข้าใจว่าคอมพิวเตอร์ไม่มีพลาด เราดูจะไว้ใจคอมพิวเตอร์ให้คำนวณเส้นทางการบินจากโลกไปดวงจันทร์มากกว่าที่จะใช้มือคำนวณเอง แต่เชื่อเถอะว่ามันก็มีจุดอ่อน ยิ่งสำหรับโลกการลงทุนที่มีปัจจัยต่างๆ นอกเหนือจากความเข้าใจของเรามากมายนัก โอกาสพลาดของคอมพิวเตอร์ก็ยิ่งสูงขึ้นไปใหญ่   

          ในยุคสมัยนั้น คอมพิวเตอร์เริ่มมีความนิยมในสายธุรกิจการลงทุนมากขึ้น ดูแล้วน่าจะเอามาช่วยแบ่งเบางานหนักๆ ได้ไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานที่เกี่ยวข้องกับซื้อขายหุ้น มนุษย์อาจอิดออดเวลาต้องขายหุ้นเมื่อต้องตัดขาดทุน แต่คอมพิวเตอร์ไม่มีปัญหานี้ มันพร้อมจะขายหุ้นทุกเมื่ออย่างชินชาราวกับคนที่ไร้หัวใจ   ด้วยเหตุนี้เอง กองทุนต่างๆ จึงนิยมใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นในงานของการควบคุมความเสี่ยง โดยจะกำหนดจุดตัดขาดทุนไว้เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้ขาดทุนหนักได้ ตัวอย่างเช่น หากตลาดหุ้นโดยรวมร่วงลงไป 10%  คอมพิวเตอร์อาจจะขายหุ้นในกองทุนออกไป 20% 30% หรือ 50% เพื่อไม่ให้กองทุนต้องถือหุ้นมากไปหากตลาดหุ้นตกหนักกว่าเดิม   

          ฟังดูก็สมเหตุสมผลดีนี่ แล้วมีอะไรต้องกังวลหละ ?   ใครๆ ก็อยากขาย   แต่อะไรจะเกิดขึ้นถ้ากองทุนนับรอยนับพันต่างคิดเหมือนๆ กันว่าต้องขายหุ้นทิ้งออกไปให้เร็วที่สุด   นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในเช้าวันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม 1987 เมื่อแรงขายมหาศาลจากกองทุนได้ถล่มเข้ามาระลอกแรก และเมื่อมีแรงขายมากกว่าแรงซื้อมากๆ ตลาดย่อมร่วงหนัก และเมื่อตลาดร่วงหนัก เจ้าคอมพิวเตอร์ที่ดูแลกองทุนอยู่ต่างก็แย่งกันขายจ้าละหวั่นเพราะตลาดร่วงมาถึงจุดที่กำหนดไว้ และเมื่อแย่งกันขายระลอกสอง ตลาดก็ยิ่งลงต่อไปอีก เป็นวัฏจักรแห่งความวุ่นวายที่ดำเนินต่อไปเรื่อยๆ   

          แค่นั้นยังไม่พอ นักลงทุนทั่วไปที่เข้ามาเห็นความวุ่นวานดังกล่าวก็เริ่มกังวลในอนาคตของตัวเอง แรงขายจากนักลงทุนที่เป็นมนุษย์จริงๆ ก็เข้ามาเสริมให้ทุกอย่างเลวร้ายลง จนจบวันด้วยสภาพตายอนาถที่ดัชนีลบไปกว่า 500 จุด แม้แต่โรงพยาบาลก็ได้รับผลกระทบจากจำนวนผู้เข้ารับการรักษาที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในแผนกจิตเวช (ไม่เครียดก็แปลก หุ้นลงไปวันเดียว 22%)   

          ส่วนประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กันแม้จะอยู่ห่างกันคนละซีกโลก ตลาดหุ้นไทยในวันถัดมาก็ร่วงลงไปอีก 8% และร่วงลงไปอีกกว่า 40% นับจากเหตุการณ์ Black Monday ไม่ถึงสองเดือนเท่านั้น   ถ้ายุคนั้นมีโซเชียลเน็ทเวิร์ก คงไม่มีใครกล้าส่งภาพสวัสดีวันจันทร์ไปอีกนาน   สาเหตุที่แท้จริง   ดูยังไงคอมพิวเตอร์ก็เป็นผู้ร้าย ซึ่งก็เป็นความจริงส่วนหนึ่ง แต่จนทุกวันนี้ก็ยังไม่มีใครสรุปได้ว่าสาเหตุแท้จริงที่เป็นตัวจุดชนวนให้ตลาดหุ้นทิ้งดิ่งมันคืออะไรกันแน่ บ้างก็ว่าเป็นเพราะกฎหมายอุดช่องโหว่ทางภาษีของบริษัท บ้างก็ว่าเป็นเพราะการส่งออกที่แย่ลง บ้างก็ว่าเป็นเพราะตลาดหุ้นที่ขึ้นมาหลายปีจนราคาแพงไปแล้ว   

          แต่ไม่ว่าสาเหตุจะมาจากอะไรก็ตาม ลึกๆ แล้วมันอาจมาจากสิ่งที่เรียกว่า ความประมาท”   ลองคิดดูว่า ถ้าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ถูกกำหนดให้มันคำนึงถึงความเสี่ยงรอบด้านตั้งแต่แรก ไม่ละเลยข้อเท็จจริงที่ว่าการขายตัดขาดทุนจะเกิดปัญหาได้หากมีการเทขายพร้อมๆ กัน 

       วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคมก็คงเป็นเช้าอีกวันที่แสนสดใส ไม่ใช่วันที่ความมั่งคั่งของคนหายไปกว่า แสนล้านเหรียญ   ซึ่งหลังจากปี 1987 เหตุการณ์ที่ตลาดร่วงอย่างรุนแรงในเวลาสั้นๆ ก็ยังปรากฏให้เห็นบ่อยๆ อย่างในปี 2011 และปี 2015 ที่ดัชนีดาวโจนส์ร่วงลงไปหลายเปอร์เซ็นต์เช่นกัน แต่โชคยังดีที่ตลาดฟื้นตัวกลับมาได้ไวกว่าตอนเกิด Black Monday เพราะในปี 1987 ตลาดต้องใช้เวลาประมาณ 14 เดือนกว่าที่จะสร้างจุดสูงสุดใหม่ได้  


คอมพิวเตอร์อาจไม่เคยพลาด
แต่ที่พลาดคือคนอย่างเราๆ
ที่ไว้ใจคอมพิวเตอร์มากเกินไปต่างหาก  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น