วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2565

หนังสือยืนยันราคาในการขายที่ดิน

 




หนังสือยืนยันราคาในการขายที่ดิน

 

ที่...........................................................................

วันที่..............เดือน...........................................พ.ศ.................

 

          ข้าพเจ้า...................................................................................อายุ................ปี อยู่บ้านเลขที่.................ตำบล.............................................อำเภอ..............................................จังหวัด...................................................เป็นเจ้าของผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินตามเอกสาร........................... ............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................ขอมอบให้....................................................................................อายุ..................ปี อยู่บ้านเลขที่.................ตำบล.............................................อำเภอ..............................................จังหวัด...................................................เป็นผู้ดำเนินการเสนอขายที่ดินดังกล่าวนี้ ในราคาไร่ละ................................................................................บาท (..........................................................................................) โดยกำหนดยืนยันในราคานี้เป็นเวลา..............เดือน นับจากวันนี้เป็นต้นไป

          เงื่อนไขในการเสนอขาย

          1. ฝ่ายผู้ซื้อสามารถตรวจสอบหลักฐานที่ดินได้ภายหลังการทำหนังสือนี้

          2. ให้ค่านายหน้าในการดำเนินการเสนอขาย......................................................

          3. ค่าธรรมเนียมในการซื้อขายมอบให้...........................................................................เป็นผู้จ่าย

          4. ค่าภาษีมอบให้...........................................................................เป็นผู้จ่าย

          5. ส่วนที่ขายได้เกินราคาตามหนังสือยืนยันราคานี้ ยินยอมให้ผู้ดำเนินการเสนอขายทั้งหมด

          6. อื่นๆ..................................................................................................................................

 

 

 

ลงชื่อ.........................................................................เจ้าของที่ดิน

      (.........................................................................)

 

ลงชื่อ.........................................................................ผู้ดำเนินการเสนอขาย

      (.........................................................................)

 

ลงชื่อ.........................................................................พยาน/ผู้รวบรวม

      (.........................................................................)

 

ลงชื่อ.........................................................................พยาน

      (.........................................................................)

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2565

คอง 14 (ครรลอง 14 ประการ)

1. คองสิบสี่โดยนัย ที่ 1

คองสิบสี่โดยนัย ที่ 1

เพื่อดํารงรักษาไว้ซึ่งประเพณีและทํานองคลองธรรมอันดีงามกล่าวถึงผู้เกี่ยวข้องในครอบครัว สังคมตลอดจน ผู้มีหน้าที่ปกครองบ้านเมืองพึงปฏิบัติ เมื่อพูดถึงคองมักจะมีคําว่าฮีตควบคู่กันอยู่เสมอ แบ่งออกเป็น 14 ข้อ คือ

1. ฮีตเจ้าคองขุน สําหรับกษัตริย์หรือผู้ครองเมืองปกครองอํามาตย์ ขุนนางข้าราชบริพาร

2. ฮีตเจ้าคองเพีย สําหรับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ในการปกครองข้าทาสบริวาร

3. ฮีตไพร่คองนาย สําหรับประชาชนในการปฏิบัติตนตามกบิลบ้านเมืองและหน้าที่พึงปฏิบัติต่อนาย

4. ส่วนรวมฮีตบ้านคองเมือง วัตรอันพึงปฏิบัติตามธรรมเนียมทั่วไปของพลเมืองต่อบ้านเมืองและส่วนร่วม

5. ฮีตผัวคองเมีย หลักปฏิบัติต่อกันของสามีภรรยา

6. ฮีตพ่อคองแม่ หลักปฏิบัติของผู้ครองเรือนต่อลูกหลาน

7. ฮีตลูกคองหลาน หลักปฏิบัติของลูกหลานต่อบุพการี

8. ฮีตใภ้คองเขย หลักปฏิบัติของสะใภ้ต่อญาติผู้ใหญ่และพ่อแม่สามี

9. ฮีตป้าคองลุง หลักปฏิบัติของลุง ป้า น้า อา ต่อลูกหลาน

10. ฮีตคองปู่ย่า ตาคองยาย หลักปฏิบัติของปู่ย่า ตายาย ให้เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรต่อลูกหลาน

11. ฮีตเฒ่าคองแก่ หลักปฏิบัติของผู้เฒ่าในวัยชราให้เป็นที่เคารพเลื่อมในเหมาะสม

12. ฮีตคองเดือน การปฏิบัติตามจารีตประเพณีต่าง ๆ ในฮีตสิบสอง

13. ฮีตไฮ่คองนา การปฏิบัติตามประเพณีเกี่ยวกับการทําไร่ทํานา

14. ฮีตวัดคองสงฆ์ หลักปฏิบัติของภิกษุสามเณรให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยทั้งการช่วยทํานุบํารุงวัดวาอาราม

 

2. คองสิบสี่โดยนัย ที่ 2

 

 

คองสิบสี่โดยนัย ที่ 2

กล่าวถึงหลักการสําหรับพระมหากษัตริย์ในการปกครองทั้งอํามาตย์ราชมนตรีและประชาชนเพื่อความสงบสุขร่มเย็น โดยทั่วกัน

1. แต่งตั้งผู้ซื่อสัตย์สุจริต รู้จักราชการ บ้านเมือง ไม่ข่มเหงไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน

2. หมั่นประชุมเสนามนตรี ให้ข้าศึกเกรงกลัว บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง ประชาชนเป็นสุข

3. ตั้งมั่นในทศพิธราชธรรม

4. ถึงปีใหม่นิมนต์ภิกษุมาเจริญพุทธมนต์ สวดมงคลสูตรและสรงน้ำพระภิกษุ

5. ถึงวันปีใหม่ให้เสนาอํามาตย์นําเครื่องบรรณาการ น้ำอบ น้ำหอม มุรธาภิเษก พระเจ้าแผ่นดิน

6. ถึงเดือนหกนิมนต์ พระภิกษุสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ถือน้าพิพัฒน์สัตยาติพระเจ้าแผ่นดิน

7. ถึงเดือนเจ็ด เลี้ยงท้าวมเหสักข์ หลักเมือง บูชาท้าวจตุโลกบาลเทวดาทั้งสี่

8. ถึงเดือนแปด นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ทําพิธีชําระ และเบิกบ้านเมือง สวดมงคลสูตรคืน โปรยกรวดทรายรอบเมือง ตอกหลักบ้านเมืองให้แน่น

9. ถึงเดือนเก้า ประกาศให้ประชาชนทําบุญข้าวประดับดิน อุทิศส่วนกุศลแก่ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ

10. วันเพ็ญเดือนสิบ ประกาศให้ประชาชนทําบุญข้าวสาก จัดสลากภัตต์ถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ แก่ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ

11. วันเพ็ญเดือนสิบเอ็ด ทําบุญออกพรรษา ให้สงฆ์ปวารณามนัสการและมุรธาภิเษก พระธาตุหลวง พระธาตุภูจอมศรี และประกาศให้ประชาชนไหลเรือไฟเพื่อบูชาพญานาค

12. เดือนสิบสองให้ไพร่ฟ้าแผ่นดินรวมกันที่พระลานหลวงแห่เจ้าชีวิตไปแข่งเรือถึงวันเพ็ญพร้อมด้วยเสนาอํามาตย์ นิมนต์ และภิกษุรูป นมัสการพระธาตุหลวงพร้อมเครื่องสักการะ

13. ถึงเดือนสิบสอง ทําบุญกฐิน ถวายผ้ากฐินตามวัดต่าง ๆ

14. ให้มีสมบัติอันประเสริฐ คูนเมืองทั้ง14 อย่างอันได้แก่ อํามาตย์ ข้าราชบริพาร ประชาชน พลเมือง ตลอดจนเทวดา อารักษ์เพื่อค้ำจุนบ้านเมือง

 

3. คองสิบสี่โดยนัย ที่ 3

คองสิบสี่โดยนัย ที่ 3

เป็นจารีตประเพณีของประชานและธรรมที่พระเจ้าแผ่นดินพึงยึดถือ

1. เดือนหกขนทรายเข้าวัด ก่อพระเจดีย์ทรายทุกปี

2. เดือนหกหน้าใหม่ เกณฑ์คนสาบานตนทําความซื่อสัตย์ต่อกันทุกคน

3. ถึงฤดูทํานา คราด หว่าน ปัก ดํา ให้เลี้ยงตาแฮก ตามกาลประเพณี

4. สิ้นเดือนเก้าทําบุญข้าวประดับดินเพ็ญเดือนสิบทําบุญข้าวสาก อุทิศส่วนกุศลให้ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ

5. เดือนสิบสองให้พิจารณาทําบุญกฐินทุกปี

6. พากันทําบุญผะเหวด ฟังเทศน์ผะเหวดทุกปี

7. พากันเลี้ยงพ่อ แม่ที่แก่เฒ่า เลี้ยงตอบแทนคุณที่เลี้ยงเราเป็นวัตรปฏิบัติไม่ขาด

8. ปฏิบัติเรือนชานบ้านช่อง เลี้ยงดูสั่งสอน บุตรธิดา ตลอดจนมอบ มรดกและหาคู่ครองเมื่อถึงเวลาอันควร

9. เป็นเขย่าดูถูกลูกเมีย เสียดสีพ่อตาแม่ยาย

10. รู้จักทําบุญให้ทาน รักษาศีล ไม่พูดผิดหลอกลวง

11. เป็นพ่อบ้านให้มีพรหมวิหาร สี่ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

12. พระมหากษัตริย์ต้องรักษาทศพิธราชธรรม

13. พ่อตา แม่ยาย ได้ลูกเขยมาสมสูงให้สํารวมวาจา อย่าด่าโกรธา เชื้อพงศ์พันธุ์อันไม่ดี

14. ถ้าเอามัดข้าวมารวมกองในลานทําเป็นลอมแล้ว ให้พากันปลงข้าวหมกไข่ ทําตาเหลว แล้วจึงพากันเคาะฟาดตี

 

 4. คองสิบสี่โดยนัย ที่ 4

คองสิบสี่โดยนัย ที่ 4

1. ให้พระภิกษุสงฆ์ศึกษาพระธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้าและรักษาศีล227 ข้อ เป็นประจําทุกวัน

2. ให้รักษาความสะอาดกุฏิ วิหาร โดยปัดกวาดเช็ดถูกทุกวัน

3. ให้ปฏิบัติกิจนิมนต์ของชาวบ้านเกี่ยวกับการทําบุญ

4. ถึงเดือนแปด ตั้งแต่แรมหนึ่งค่ำเป็นต้นไปต้องจําพรรษา ณ วัดใดวัดหนึ่งไปจนถึงวันแรมหนึ่งคําเดือนสิบเอ็ด

5. เมื่อออกพรรษาแล้วพอถึงฤดูหนาว (เดือนอ้าย) ภิกษุผู้มีศีลหย่อนยานให้หมวดสังฆาทิเสสต้องอยู่ปริวาสกรรม

6. ต้องออกเที่ยวบิณฑบาต ทุกเช้าอย่าได้ขาด

7. ต้องสวดมนต์และภาวนาทุกคืนอย่าได้ละเว้น

8. ถึงวันพระขึ้นสิบห้าค่ำหรือแรมสิบสี่ค่ำ (สําหรับเดือนคี่) ต้องเข้าประชุมทําอุโบสถสังฆกรรม

9. ถึงปีใหม่ (เดือนห้า วันสงกรานต์) นําทายก ทายิกา เอาน้ำสรงพระพุทธรูปและมหาธาตเจดีย์

10. ถึงศักราชใหม่ พระเจ้าแผ่นดินไหว้พระ ให้สรงน้ำในพระราชวัง

11. เมื่อมีชาวบ้านเกิดศรัทธานิมนต์ไปกระทําการใด ๆ ที่ไม่ผิดหวังพระวินัยก็ให้รับนิมนต

12. เป็นสมณะให้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัดวาอาราม พระมหาธาตุเจดีย์

13. ให้รับสิ่งของที่ทายก ทายิกานํามาถวายทาน เช่น สังฆทานหรือสลากภัตต

14. เมื่อพระเจ้าแผ่นดินหรือเสนาข้าราชการมีศรัทธา นิมนต์ไปประชุมกันในพระอุโบสถแห่งใด ๆ ในวันเพ็ญเดือนสิบเอ็ดต้องไปอย่าขัดขืน

 

© กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม อบจ.ร้อยเอ็ด 2022, Powered by Astroid. Design by JoomDev

 

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2565

บทสวดมหาเมตตาใหญ่



นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะนะโม ตัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะนะโม ตัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะนะโม ตัสสะ

 

พุทธัง สรณัง คัจฉามิ

ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ

สังฆัง สรณัง คัจฉามิ

 

ทุติยัมปิ พุทธธัง สรณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ

 

ตะติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ

 

         เอวัมเม สุตัง. เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม. ตัต๎ระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ. ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง. ภะคะวา เอตะทะโวจะ เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ      อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขา.กะตะเม เอกาทะสะ. สุขัง สุปะติ, สุขัง ปะฏิพุชฌะติ, นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ, มะนุสสานัง ปิโย โหติ, อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ, เทวะตา รักขันติ,

นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ, ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ, มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติ, อะสัมมุฬ๎โห กาลัง กะโรติ, อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พ๎รัห๎มะโลกูปะโค โหติ. เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขา.อัตถิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ. อัตถิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ. อัตถิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ. กะตีหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ. กะตีหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ.กะตีหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ. ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ. สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ. ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ.

 

๑. แผ่เมตตาโดยไม่เจาะจงผู้รับ ๕ จำพวก

กะตะเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ.

๑) สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

๒) สัพเพ ปาณา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

๓) สัพเพ ภูตา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

๔) สัพเพ ปุคคะลา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

๕) สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ.

อิเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตา เจโตวิมุตติ.

 

๒. แผ่เมตตาโดยเจาะจงผู้รับ ๗ จำพวก

กะตะเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ.

๑) สัพพา อิตถิโย อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

๒) สัพเพ ปุริสา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

๓) สัพเพ อะริยา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

๔) สัพเพ อะนะริยา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

๕) สัพเพ เทวา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

๖) สัพเพ มะนุสสา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

๗) สัพเพ วินิปาติกา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ.

อิเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ.

 

๓. แผ่เมตตาให้สัตว์ ๑๒ จำพวกใน ๑๐ ทิศ

(๑) แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ใน ๑๐ ทิศ

     กะตะเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ.

     ๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.                   

     ๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

     ๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

     ๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

     ๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

     ๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

     ๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

     ๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

     ๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

     ๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

 

        (๒) แผ่เมตตาให้สัตว์ที่มีลมปราณใน ๑๐ ทิศ

     ๑) สัพเพ ปุรัตถิยายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.                         

     ๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ. 

     ๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.                                   

     ๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.     

     ๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

     ๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

     ๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา  สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

     ๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

     ๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

     ๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

 

        (๓) แผ่เมตตาให้ผู้เกิดในภพภูมิต่างๆ ในทิศทั้ง ๑๐

             ๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

             ๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

             ๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

             ๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

             ๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

             ๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

             ๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

             ๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

             ๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

             ๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

 

        (๔) แผ่เมตตาให้บุคคลใน ๑๐ ทิศ

             ๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.          

             ๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

             ๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

             ๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

             ๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

             ๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

             ๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

             ๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

             ๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.          

              ๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

 

        (๕) แผ่เมตตาให้ผู้มีตัวตนใน ๑๐ ทิศ

             ๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

             ๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา

                   อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา

                   อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา

                   อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา

                   อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา

                   อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา

                   อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา

                   อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา

                   อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา

                   อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

 

         (๖) แผ่เมตตาให้สตรีใน ๑๐ ทิศ

                  ๑) สัพพา ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

                  ๒) สัพพา ปัจฉิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

                  ๓) สัพพา อุตตะรายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

                  ๔) สัพพา ทักขิณายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

                  ๕) สัพพา ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

                  ๖) สัพพา ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

                  ๗) สัพพา อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

                  ๘) สัพพา ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

                  ๙) สัพพา เหฏฐิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.          

                   ๑๐) สัพพา อุปะริมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

 

         (๗) แผ่เมตตาให้บุรุษใน ๑๐ ทิศ

               ๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

               ๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

               ๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

               ๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

               ๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

               ๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ. 

               ๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

               ๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

               ๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

               ๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

 

         (๘) แผ่เมตตาให้พระอริยะใน ๑๐ ทิศ

               ๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

               ๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

               ๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

               ๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

               ๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

               ๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

               ๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

               ๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพ๎ยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

               ๙) สัพเพ เหฏฐิม

 

 

******************** 

บทสวดมนต์ขอขมากรรม ถอนคำสาปแช่ง ถอนการบนบานต่างๆ คล่องตัว ร่ำรวย เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

บทสวดมนต์ขอขมากรรม ถอนคำสาปแช่ง 

ถอนการบนบานต่างๆ คล่องตัว ร่ำรวย เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

 


      อุกาสะ อัจจะโยโนภันเต อัจจะขมา ยะถาพาเล ยะถามูลเห  ยะถาอะกุศเลเยมะ ยังกะรัมหา เอวังภันเต อัจจะโยโน ปะฏิคัณหะถะ อายะติง สังวะเรยยามะ

      ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐาน ขอขมากรรม ที่ได้กระทำความผิดอกุศลเข้าสิงจิตให้กระทำผิด พูดผิด คิดผิด ด้วยกายวาจาใจ เคยลบหลู่พระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ สมมุติสงฆ์ พระโพธิสัตว์ ลบหลู่บิดามารดา ครูบาอาจารย์ ผู้มีพระคุณทุกท่าน ลบหลู่เทพทรง องค์เทพ และองค์พรหมทั้งหลาย ลบหลู่พระธรณี พระแม่คงคา พระแม่โพสพ พระเพลิงพระพายและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุ ในแสนโกฏจักรวาล ในอนันตจักรวาล ไม่ละลายบาปไม่เกรงกลัวต่อบาปซุบซิบนินทาใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น ชอบเพ่งโทษแล้วโยนความผิดให้ผู้อื่น ยุยงส่งเสริมให้แตกความสามัคคี ชอบนำเรื่องราวที่ไม่จริงไปขยายใส่ความให้คนอื่นเข้าใจผิด ชอบคิดเข้าข้างตัวเองเสมอว่า... คนนั้นจะต้องเป็นอย่างนี้ คนนี้จะต้องอย่างโน้น ใจคิดคดทรยศหักหลังเพื่อนฝูง และผู้มีพระคุณทั้งหลาย วิบากกรรมอันใดที่ข้าพเจ้าเคยติดสินบนไว้ ต่อสิ่งศักดิ์สิทธ์ทั้งหลาย เทพเจ้าเหล่าเซียนพระองค์ใด ภูตผีปีศาจอสูรกายยักษ์มารเหล่าใด อาทิสมานกายสัมพะเวสีทั้งหลาย เทพพรหมทุกชั้นฟ้า เจ้าพ่อเจ้าแม่ เจ้าที่เจ้าทาง ผีสางนางไม้ท่านใดได้แก้บนไปแล้วก็ดี หลงลืมไม่ได้แก้บนก็ดี เจตนา หรือไม่เจตนาก็ดี เป็นหนี้ผูกพันกันมา ในอดีตชาติเป็นร้อยชาติ พันชาติ หมื่นชาติ แสนชาติ จะนับประมาณมิได้ แม้ในชาติปัจจุบันนี้เป็นการไม่สมควร เสมือนหนึ่งเป็นการต่อรองกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย บัดนี้ข้าพเจ้าขอสำนึกผิด ในการกระทำทั้งปวงด้วยกาย วาจา ใจ ขอให้ท่านทุกรูปทุกนาม ทุกจิต ทุกวิญญาณ ทุกภพทุกภูมิ โปรดงดโทษอโหสิกรรม ให้เป็นอภัยทาน ให้ขาดจากกัน ในชาตินี้เพื่อจะได้ไม่ติดภพติดชาติ ติดภพติดภูมิ ไปในชาติหน้าอีกต่อไป ข้าพเจ้าจักสำรวมระวัง ไม่ขอติดสินบนอีกต่อไป จะอธิษฐานขอพร เพียงอย่างเดียว ลูกขอกราบอาราธนาและ อัญเชิญ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระธรรม และพระสงฆ์ พระโพธิสัตว์ บิดามารดา ครูบาอาจารย์ ทวยเทพทั้งหลายทั้ง 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน โปรดจงมาเป็นสักขีพยานให้ ข้าพเจ้า.....ชื่อ.......นามสกุล........ขอถอนคำอธิษฐาน ที่ผิดและคำสาปแช่งทุกชนิด ด้วยจิตริษยา อาฆาตพยาบาทด้วยความโลภ ความโกรธความหลง จองล้างจองผลาญเบียดเบียนผู้อื่นด้วยกาย วาจา ใจ มีอวิชชา ตัณหา อุปาทาน มานะทิฏฐิ กิเลส พันห้า ตัณหาร้อยแปด โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ชอบอธิษฐานในสิ่งผิดๆ และสาปแช่งด้วยความหลงผิด ข้าพเจ้าขอถอน ณ บัดนี้...

      อิมัง สัจจะวาจัง มิจฉาทิฏฐิ อะธิฏฐานัง ปัจจุทธะรามิ ทุติยัมปิ อิมัง สัจจะวาจัง มิจฉาทิฏฐิ อะธิฏฐานัง ปัจจุทธะรามิ ตะติยัมปิ อิมัง สัจจะวาจัง มิจฉาทิฏฐิ อะธิฏฐานัง ปัจจุทธะรามิ

      คำอธิษฐานใด ๆ คำสาปแช่งใด ๆ ที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ถึงแก่ความวิบัติ พลัดพรากหรือถึงแก่ความตาย ข้าพเจ้าขอถอน  ณ บัดนี้ นะถอน โมถอน พุทถอน ธาถอน ยะถอน ต้องคำสาป  ให้ม้วยมรณ์ ถอนด้วยนะโม พุทธายะ ยะธา พุทโมนะฯ คำสาปแช่งอันใด คำอธิษฐานอันใด ที่คนอื่น สาปแช่งเราไว้ เพราะต้องคำสาบ ให้ข้าพเจ้าถึงแก่ความวิบัติต่าง ๆ ทั้งในอดีตชาติ และในปัจจุบันชาติ ข้าพเจ้าขอถอน ณ บัดนี้

       "นะสูญ โมสูญ พุทสูญ ธาสูญ ยะสูญ ต้องคำสาปทั้งมูล สูญด้วย นะโมพุทธายะ ยะธาพุทโมนะฯ" ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เทอญฯ ข้าพเจ้าขออำนาจพลังทิพย์ พลังธรรม พลังจักรวาล พลังฟ้าดิน พลังสุริยันจันทราดารารัศมี พลังเทพ พลังบุญ อันศักดิ์สิทธิ์ พลังเทพผู้ทรงฤทธิ์ สถิตอยู่ในทิศทั้งหลาย พลังอริยสงฆ์เจ้า พลังพระธรรมเจ้า พลังพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ โปรดแผ่พลังรัศมีธรรม ให้ข้าพเจ้า หมดทุกข์ หมดโศก หมดโรค หมดภัย สัพพะเคราะห์วิบากกรรมอันใด จงพินาศสูญไป และพ้นจากคำสาปแช่งทั้งปวง นำตนให้พ้นทุกข์ ประสพสันติสุขอย่างแท้จริง และดับทุกข์ได้ ในที่ทุก ๆ สถานในกาลทุกเมื่อเทอญ

ฮีตสิบสอง เดือนสิบสอง บุญกฐิน



เดือนสิบสอง บุญกฐิน

บุญกฐินคือ บุญที่เรียกว่า "กาลทาน" นี้มีกําหนดให้ทําได้เฉพาะใน ช่วงวันแรม ค่ำ เดือน 11 ถึง 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุก ปี จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "บุญ เดือน 12" ชาวอีสานเชื่อว่าผู้ใดได้ ทําบุญกฐินจะไม่ตกนรกและจะได้รับผลบุญที่ทําในชาตินี้ไว้เก็บกินในชาติหน้า งานบุญกฐินจึงจัดเป็นงานสําคัญ ในส่วน พิธีกรรมนั้นคล้ายคลึงกับภาคกลางแต่ที่ชาวอีสานและเครื่องบริวารกฐิน ซึ่งส่วนมากจะเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนมาตั้งวางไว้ในที่เปิดเผยเพื่อให้ญาติพี่น้อง หรือชาวบ้าน ใกล้เคียงนําสิ่งของ เช่น เสื่อ หมอน อาสนสงฆ์ ฯลฯ มาร่วมสบทบ ตอนเย็นของวันรวมก็จะนิมนต์ พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ตอนกลางคืน อาจจัดให้มีมหรสพต่างๆ และที่ขาดไม่ได้ในงานบุญ กฐินก็คือ ต้องจุด "บั้งไฟพลุ" อย่างน้อยจํานวน บั้ง เอาไว้จุดเมื่อตอนหัวค่ำหนึ่งลูก ตอนดึกหนึ่งลูก ตอนใกล้สว่างหนึ่งลูก และตอนถวายกฐินอีกหนึ่งลูก นอกจากจุดบั้งไฟพลุแล้วก็จะจุดบั้งไฟตะไลเป็นระยะ ๆ ในขณะที่แห่กฐินรุ่งเช้าเป็นขบวนแห่กฐินจาก บ้านไปถวายพระสงฆ์ที่วัด เมื่อถึงวัดต้องแห่เครื่องกฐินเวียนขวาสามรอบ รอบศาลาโรงธรรม จากนั้นจึงนําเครื่องกฐินขึ้นตั้งบนศาลาโรงแรม นําข้าวปลา อาหารถวายพระ ถ้าถวายตอนเช้าก็เลี้ยงพระตอนฉันจังหัน แต่ถ้าถวายตอนบ่ายก็จะเลี้ยงพระตอนเพล เมื่อพระสงฆ์สามเณรฉันเสร็จแล้วผู้เป็นเจ้าภาพ องค์กฐินจะจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย นํารับศีลแล้วกล่าวคําถวายกฐินเป็นเสร็จพิธี ส่วนพระสงฆ์เมื่อมีกฐินมาทอดที่วัดก็จะประชุมสงฆ์แล้วให้ภิกษุรูป หนึ่งเสนอต่อที่ประชุมสงฆ์ว่าควรให้แก่ภิกษุ (เอ่ยนามภิกษุ) ที่สมควรจะได้รับกฐิน ส่วนมากก็เป็นเจ้าอาวาสวัดนั้นๆ เมื่อที่ประชุมสงฆ์เห็นชอบตามที่มีผู้เสนอ ก็จะเปล่งคําว่า "สาธุ" พร้อมกันจากนั้นญาติโยมก็จะพากันถวายเครื่องปัจจัยไทยทานแด่ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ทั้งวัด พระสงฆ์รับแล้วจะอนุโมทนาและให้พรเป็น เสร็จพิธีจะขาดไม่ได้ คือ การเฉลิมฉลองโดยการจุดพลุบั้งไฟอย่างเอิกเกริกในขณะที่แห่ขบวนกฐินมาที่วัด

มูลเหตุพิธีกรรม

เพื่อให้ภิกษุสงฆ์มีโอกาสได้ผลัดเปลี่ยนไตรจีวรใหม่ เนื่องจากของเก้าใช้นุ่งห่มมาตลอดระยะเวลาสามเดือนที่เข้าพรรษาย่อมเก่าคร่ำคร่ามีเรื่องเล่าว่าในสมัย พระพุทธองค์ยังทรงมีพระชนมชีพอยู่ ภิกษุชาวเมืองปาฐาจํานวน 30 รูปพากันเดินทางไปเฝ้าพระพุทธองค์ที่พระเชตุวันมหาวิหารไม่ทันวันเข้าพรรษา จึงต้องพากันพักจําพรรษาอยู่ที่เมืองสาเกตพอออกพรรษาแล้วก็รีบพากันเดินทางกรําแดดกรําฝนไปเฝ้าพระพุทธองค์ จีวรที่นุ่มห่มก็เปียกปอน เมื่อพระพุทธองค์ ทรงเห็นความยากลําบากของพระภิกษุเหล่านี้ก็ทรงอนุญาตให้รับผ้ากฐินได้ เพื่อจะได้มีจีวรเปลี่ยนใหม่ เมื่อผู้มีศรัทธาประสงค์จะนํากฐินไปทอดต้องไปขอ จองวัดโดยปกติมักจะติดต่อ


ฮีตสิบสอง เดือนเจ็ด บุญซําฮะ



เดือนเจ็ด บุญซําฮะ

บุญซําฮะหรือชําระ เกิดตามความเชื่อที่ว่าเมื่อถึงเดือนเจ็ดต้องทําบุญชําระจิตใจให้สะอาดและเพื่อ ปัดเป่ารังควาญสิ่งไม่เป็นมงคลออกจากหมู่บ้านบาง ท้องถิ่นเรียกประเพณีนี้ว่าบุญเบิกบ้านซึ่งมีพิธีกรรมทั้งทางศาสนาพุทธและไสยศาสตร์ ในวันงานชาวบ้านจะพากันนําภัตตาหารมาถวายแด่พระภิกษุ สงฆ์และร่วมกัน ฟังเทศน์ฟังธรรม รวมทั้งมีการเซ่นไหว้ศาลหลักบ้าน เพื่อขอความคุ้มครองให้พ้นจากภัยพิบัติและช่วยขับไล่สิ่งไม่ดีไม่งามออกไปจาก หมู่บ้าน ให้บ้านเกิดความเป็นสิริมงคล

มูลเหตุของพิธีกรรม

มีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์ธรรมบทว่าครั้งหนึ่งเมืองไพสาลีเกิด "ทุพภิกขภัย" ข้าวยากหมากแพงประชาชนขาดแคลนอาหารเพราะฝนแล้งสัตว์เลี้ยงต่างๆ ล้มตายเพราะความหิว ซ้ำร้ายอหิวาตกโรคหรือ "โรคห่า" ก็ระบาดทําให้ผู้คนล้มตายกันมากมาย ชาวเมืองกลุ่มหนึ่งจึงพากันเดินทางไปนิมนต์ พระพุทธเจ้าให้มาปัดเป่าภัยพิบัติครั้งนี้ ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จถึงเมืองไพสาลีก็เกิดฝน "ห่าแก้ว" ตกลงมาอย่างหนักจนน้ําฝนท่วมแผ่นดินสูงถึง หัวเข่าและน้ำฝนก็ได้พัดพาเอาซากศพของผู้คนและสัตว์ต่างๆ ไหลล่องลอยลงแม่น้ำไปจนหมดสิ้น พระพุทธเจ้าทรงทําน้ำพระพุทธมนต์ใส่บาตร แล้วมอบให้พระอานนท์นําไปประพรมทั่วเมือง โรคภัยไข้เจ็บก็สูญสิ้นไปด้วย เดชะพระพุทธานุภาพ ดังนั้นคนลาวโบราณรวมทั้งไทยอีสานจึงทํา บุญซําฮะขึ้นในเดือน ของทุกๆ ปี พิธีกรรม พอถึงวันทําบุญชาวบ้านทุกครัวเรือนจะนําดอกไม้ธูปเทียน ขันน้ำมนต์ ขันใสกรวด ทรายและเฝ้าผูกแขน มารวมกันที่ศาลากลางบ้าน ถ้าหมู่บ้านใดไม่มีศาลากลางบ้าน ถ้าหมู่บ้านใดไม่มีศาลากลางบ้าน ชาวบ้านจะช่วยกันปลูกปะรําพิธีขึ้นกลางหมู่บ้าน ตกตอนเย็นจะนิมนต์พระสงฆ์มาสวดชัยมงคลคาถา (ชาวอีสานเรียกว่า ตั้งมุงคุน) เช้าวันรุ้งขึ้นจะพากันทําบุญตักบาตรเลี้ยงพระถวายจังหันเมื่อ พระสงฆ์ ฉันเสร็จแล้วจะให้พรและประพรมน้ำพุทธมนต์ให้แก่ทุกคนที่มาร่วมทําบุญ จากนั้นชาวบ้านจะนําขันน้ำมนต์ด้ายผูกแขน ขันกรวดทรายกลับไปที่ บ้านเรือนของตนเองแล้วนําน้ำมนต์ไป ประพรมให้แก่ทุกคนในครอบครัว ตลอดจนบ้านเรือนและวัวควาย เอาด้ายผูกแขน ลูกหลานทุกคนเพราะเชื่อ ว่าจะนําความสุขและสิริมงคลมาสู่สมาชิกทุกคน ส่วนกรวดทรายก็จะเอามาหว่านรอบๆ บริเวณบ้านและที่สวนที่นา เพื่อขับไล่เสนียดจัญไร และสิ่ง อัปมงคล


ฮีตสิบสอง เดือนหก บุญบั้งไฟ



เดือนหก บุญบั้งไฟ

บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีที่เกิดจากความเชื่อเกี่ยวกับแถน เมื่อถึงเดือนหกเริ่มต้นการทํานาชาวบ้านจะจุดบั้งไฟเป็นการบูชาขอให้พญาแถนบันดาล ฝนให้ตกลงมา ประเพณีบุญบั้งไฟเป็นกิจกรรมร่วมกันของชุมชนอีสานหลาย ๆ หมู่บ้าน หมู่บ้านเจ้าภาพจะปลูกโรงเรือน เรียกว่า ผามบุญ ไว้ต้อนรับ ชาวบ้านจากหมู่บ้านอื่น และดูแลจัดหาอาหารสําหรับทุกๆ คน เช้าของวันงานชาวบ้านจะร่วมกันทําบุญ ประกวดประชัน แห่และจุดบั้งไฟที่ตกแต่ง อย่างงดงาม บั้งไฟของหมู่บ้านใดจุด ไม่ขึ้นชาวบ้านหมู่บ้านนั้นจะถูกโยนลงโคลนเป็นการทําโทษ และจะมีการเซิ้งฟ้อนกันอย่างสนุกสนาน และจะมี การเซิ้งปลัดขิกร่วมอยู่ในขบวนด้วยเสมอ โดยมีความเชื่อว่าเป็นการไล่ผีให้พ้นออก ไปจากหมู่บ้านและเร่งให้แถนส่งฝนลงมาเร็วๆ

มูลเหตุของพิธีกรรม

ตามตํานานพื้นบ้านอีสานเชื่อว่าเป็นการจุดบั้งไฟเป็นสัญญาณเตือนให้พญาแถนรู้ว่าถึงฤดูทํานาแล้วให้พญาแถนบันดาล ให้ฝนตกและมีปริมาณ เพียงพอแก่การปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารพิธีกรรม เมื่อได้ประชุมกําหนดวันจะทําบุญบั้งไฟแล้ว พวกช่างปืนไฟก็จะร่วมทําบั้งไฟ หาง บั้งไฟก่องข้าว ไว้ตามจํานวนและขนาดที่ชาวบ้านศรัทธาร่วมกันบริจาคเงินซื้อศรัทธา ซื้อ "ขี้เกีย หรือ ขี้เจี้ย" (ดินประสิว) มาทํา "หมื่อ" ปัจจุบันมักจะมีการแข่งขัน บั้งไฟระหว่างคุ้มบอกกล่าวไปยังหมู่บ้านอื่นๆ ให้ทําบั้งไฟมาแข่งขันกันตามขนาดที่กําหนดอาจเป็น "บั้งไฟหมื่น" (มีน้ำหนักไม่เกิน 120 กิโลกรัม) "บั้งไฟแสน" (มีน้ำหนักมากกวา 120 กิโลกรัม) ก็ได้พอถึง "มื้อโฮมบุญ" หรือวันรวม ชาวบ้านจะจัดทําบุญเลี้ยงพระเพล แล้วจะมี "พิธีฮดสง" พระภิกษุ ผู้มีศีลศึกษาธรรมวินัยมาตลอดพรรษาให้ได้เลื่อนเป็นตําแหน่งสูงขึ้น คือ "ฮด" จากพระภิกษุธรรมดาให้เป็นภิกษุขั้น "อาจารย์" แต่เรียกสั้นๆ ว่า "จารย์" ผู้มีอายุครบบวชถ้าอยากบวช พ่อแม่มักจะจัดให้บวชในเดือนนี้ไปพร้อมๆ กับพิธีนี้ ประมาณเวลา 15.00 น. ของมื้อโฮม นํา "กองฮด" และ "กองบวช" มาตั้งไว้กลางศาลาโรงธรรมทางวัดจะตีกลองเป็นสัญญาณ บอกให้ทุกคุ้มนําบั้งไฟมารวมกันที่วัดแต่ละคุ้มจะเอ้บั้งไฟ (ตกแต่งบั้งไฟ) ของตนให้สวยงาม เป็นการประกวดประชันกันเบื้องต้น มีการจัดขบวนการแห่บั้งไฟ และในขณะที่แห่บั้งไฟจะเซิ้งบั้งไฟไปพร้อม ๆ กันด้วย การเซิ้งบั้งไฟนี้จะมีหัวหน้า กล่าวนําคําเซิ้งเป็นวรรคๆ ไปแล้วให้ผู้เข้าร่วมขบวนแห่ทุกคนกล่าวตาม ขณะที่กล่าวก็รําให้เข้ากับจังหวะเซิ้งนั้นด้วยรุ่งเช้าของวันบุญบั้งไฟ ญาติโยม จะนําข่าวปลาอาหารทั้งขนมหวาน มาทําบุญตักบาตรร่วมกันที่วัด หลังจากพระฉันจังหันเสร็จแล้วก็จะนําบั้งไฟมารวมกันที่วัดแล้วนําไปจุดที่ "ค้างบั้งไฟ" (ร้านสําหรับจุดบั้งไฟ) ที่สําคัญเวลาจุดต้องหันหัว บั้งไฟไปทางทุ่งนาหรือหนองน้ำเพื่อป้องกันอันตราย


ฮีตสิบสอง เดือนห้า บุญสรงน้ำ หรือ บุญฮดสรง



เดือนห้า บุญสรงน้ำ หรือ บุญฮดสรง

บุญฮดสรง หรือ บุญสงกรานต์ จัดให้มีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนห้า ซึ่งถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาตั้งแต่โบราณ ในวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณ ในวันนี้พระสงฆ์ นําพระพุทธรูปออกจากโบสถืมาไว้ที่หอสรง ตอนบ่าย ชาวบ้านจะนําน้ำอบ น้ำหอม มาร่วมกันสรงน้ำพระพุทธรูปที่หอสรงนี้ จากนั้น ก็ออกไปเก็บดอกไม้มาจัดประกวดประชันในการบูชาพระ ระหว่างนี้ชาวบ้านจะพากันเล่นแคน ฉิ่งฉาบ เพื่อความสนุกสนานรดน้ำดําหัวญาติผู้ใหญ่ และเล่นสาดน้ำกัน โดยชาวบ้านอาจเล่นสนุกสนานถึง 15 วัน

มูลเหตุของพิธีกรรม

เนื่องจากเดือนนี้ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่มาแต่โบราณ โดยจะถือเอาวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน เป็นวันเริ่ม ต้นการทําบุญพิธีกรรม เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนห้าเวลา บ่ายสามโมง ถือว่า "เป็นมื้อเอาพระลง" หมายถึงการนําเอา พระพุทธรูปทั้งหมดในวัดมาทําความสะอาดแล้วนํามาตั้งรวมไว้ที่กลางศาลาโรงเรือน หรือ "หอแจก" พิธีเริ่มจากผู้เป็นประธานนําดอกไม้ธูปเทียนเครื่องสักการะพระพุทธรูป แล้วนํากล่าวบูชาพระรัตนตรัย อาราธนาศีล พระสงฆ์ให้ศีลญาติโยม รับศีลแล้วผู้เป็นประ ธานอาราธนาพระปริตรพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ จบแล้วญาติโยมก็เอาน้ำอบน้ำหอมสรงพระพุทธรูป จากนั้นหนุ่มสาวก็จะพากัน หาบน้ำจากบ่อหรือหนอง บึง ไปเทไว้ใน โอ่งของวัดให้พระภิกษุ สามเณรได้ใช้อาบขณะเดียวกันก็จะเริ่มเล่นสาดน้ำกันและกันเป็นที่สนุกสนานตอนค่ำ นิมนต์พระสงฆ์มาสวดไชยมงคล (มงคลสูตร) ที่ผามไชย์กลางหมู่บ้าน รุ่งเช้า (วันแรมหนึ่งค่ำ) เป็น "มื้อเนา" ถือเป้นวันขึ้นปีใหม่ มีการทําบุญให้ทาน โดยนําข้าวปลาอาหารมาถวายพระที่ผามไชย์การสวดไชยมงคล (มงคลสูตร) นี้ต้องสวดให้ครบ คืน โดยมีบาตรใส่น้ำมนต์ไว้ ใบพร้อมทั้งมีถังใส่ กรวดทรายไว้จํานวนหนึ่ง เมื่อครบ คืนแล้ว พระสงฆ์จะเดินสวด ไชยมงคลไปรอบหมู่บ้าน พร้อมกับสาดน้ำมนต์ ส่วนญาติโยมจะหว่านกรวดทรายไป พร้อมๆ กัน ถือว่าเป็นการขับไล่สิ่งอัปมงคล และเสนียดจัญไรออกไปจากหมู่บ้านทําให้คนทั้งหมู่บ้าน ประสบแต่ ความสุขความเจริญในปีใหม่ที่จะมาถึง คนอีสานเรียกวันสงกรานต์ ดังนี้ คือ วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันสังขารล่วง วันที่ 14 วันเนา และ วันที่ 15 เรียกว่า วันสังขารขึ้น


ฮีตสิบสอง เดือนยี่ บุญคูณลาน หรือบุญคูณข้าว



เดือนยี่ บุญคูนลานหรือบุญคูนข้าว

บุญคูนลานหรือบุญคูนข้าวเป็นพิธีกรรมฉลองภายหลังจากเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยว ชาวบ้านรู้สึกยินดีที่ได้ผลผลิตมาก  จึงต้องการทําบุญ โดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์ในลานข้าวและในบางแห่งจะมีการสู่ขวัญข้าวเพื่อฉลองความอุดมสมบูรณ์ กล่าวขอบคุณแม่โพสพและ ขอโทษที่ได้ เหยียบย่ำ พื้นแผ่นดินในระหว่างการทํานา เพื่อความเป็นสิริมงคลและให้ผลผลิตเป็นทวีคูณในปีต่อไป

มูลเหตุของพิธีกรรม

มูลเหตุของพิธีทําบุญคูนข้าวหรือบุญคูนลาน เนื่องมาจากเมื่อชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จจะหาบฟ่อน   ข้าวมารวมกันเป็น "ลอนข้าว" ไว้ที่นาของตน ถ้าลอมข้าวของใครสูงใหญ่ก็แสดงให้ผู้คนที่ผ่านไปมารู้ว่านาทุ่งนั้นเป็นนาดี ผู้เป็นเจ้าของก็ดีใจ หายเหน็ดเหนื่อยจิตใจเบิกบานอยากทําบุญทํานาน เพื่อเป็นกุศลส่งให้ในปีต่อไปจะได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นอีก เรียกว่า "คูนให้ใหญ่ให้สูงขึ้น" เพราะคําว่า "คูณ" นี้มาจาก "ค้ำคูณ" หมายถึงอุดหนุนให้ดีขึ้น ช่วยให้เจริญขึ้น

พิธีกรรม

ผู้ประสงค์จะทําบุญคูนข้าวหรือบุญคูนลาน ต้องจัดสถานที่ทําบุญ ที่ "ลานนวดข้าว" ของตนโดยนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาเจริญพุทธมนต์มีการวางด้าย สายสิญจน์และปักเฉลวรอบกองข้าว เมื่อพระสงฆ์เจริญพุทธมนต์เสร็จแล้วก็จะถวายภัตตาหารเลี้ยงเพลแก่พระภิกษุสงฆ์จากนั้นนําข้าวปลาอาหาร มาเลี้ยง ญาติพี่น้องผู้มาร่วมทําบุญ เมื่อพระภิกษุสงฆ์ฉันเสร็จก็จะประพรมน้ำพุทธมนต์ให้กองข้าว ให้เจ้าภาพและทุกคนที่มาร่วมทําบุญ จากนั้นท่านก็จะให้พร เจ้าภาพก็จะนําน้ำพระพุทธมนต์ที่เหลือไปประพรมให้แก่ วัว ควาย ตลอดจนไร่นาเพื่อความเป็นศิริมงคล และเชื่อว่าผลของการทําบุญจะช่วยอุดหนุน เพิ่มพูนให้ได้ข้าวมากขึ้นทุกๆ ปี


ฮีตสิบสอง เดือนอ้าย บุญเข้ากรรม

ฮีตสิบสอง

          ฮีตสิบสอง หมายถึงประเพณี 12 เดือนที่เกี่ยวเนื่องกับหลักทางพุทธศาสนา ความเชื่อและการดํารงชีวิตทางเกษตรกรรมซึ่งชาวอีสาน ยึดถือปฏิบัติกัน มาแต่โบราณ มีแนวปฏิบัติแตกต่างกันไปในแต่ละเดือนเพื่อให้เกิดสิริมงคลในการดําเนินชีวิต เรียกอย่างท้องถิ่น ว่างานบุญ ชาวอีสานให้ความสําคัญกับ ประเพณีฮีตสิบสองเป็นอย่างมากและยึดถือปฏิบัติมาอย่างสม่ำเสมอนับเป็นเอกลักษณ์ของ ชาวอีสาน อย่างแท้จริง คําว่า "ฮีตสิบสอง"มาจากคําว่า "ฮีต" อันหมายถึงจารีต การปฏิบัติที่สืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณี "สิบสอง" คือประเพณีที่ปฏิบัติตามเดือนทางจันทรคติทั้งสิบสองเดือน

************************



เดือนอ้าย บุญเข้ากรรม
          งานบุญเดือนอ้ายหรือเดือนเจียง พระสงฆ์จะทําพิธีเข้ากรรมหรือที่เรียกว่า "เข้าปริวาสกรรม" เพื่อทําการชําระมลทินที่ได้ล่วงละเมิด พระวินัยคือ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส การอยู่กรรมนั้นจะใช้เวลา 6-9 วัน ในระหว่างนี้เองชาวบ้านจะเตรียมอาหาร หวานคาวนํา ไปถวายพระภิกษุทั้งเช้าและเพล เพราะการอยู่กรรมจะต้องอยู่ในบริเวณสงบ เช่น ชายป่าหรือที่ห่างไกลชุมชน (หรืออาจเป็นที่สงบ ในบริเวณวัดก็ได้) ชาวบ้านที่นําอาหารไปถวาย พระภิกษุในระหว่างอยู่กรรมนี้เชื่อว่าจะทําให้ได้บุญกุศลมาก

มูลเหตุของพิธีกรรม
          เพื่อลงโทษภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส  ต้องเข้าปริวาสกรรม  จึงจะพ้นอาบัติหรือพ้นโทษกลับ เป็นภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์ อยู่ในพุทธศาสนาต่อไป คํา "เข้าปริวาสธรรม"  นี้ภาษาลาวและไทอีสานตัดคํา "ปริวาส" ออกเหลือเป็น "เข้ากรรม" ดังนั้นบุญเข้ากรรมก็คือ "บุญเข้าปริวาสกรรม" นั่นเอง 

พิธีกรรม

          ภิกษุผู้ต้องอาบัติหมวดสังฆาทิเลสที่จะเข้าอยู่ปริวาสกรรม เพื่อชําระล้างความมัวหมองของศีลให้แก่ตนเองต้องไปขอปริวาสจากสงฆ์ เมื่อสงฆ์อนุญาติ แล้วจึงมาจัดสถานที่ที่จะเข้าอยู่ปริวาสกรรม เมื่อจัดเตรียมสถานที่เรียบร้อยแล้ว ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสข้อใดข้อหนึ่งจะต้องอยู่ปริวาส (การอยู่ค้างคืน) และต้องประพฤติวัตร (การปฏิบัติการจําศีล) ต่างๆ เช่น งดใช้สิทธิ์ บางอย่างลดฐานะและประจานตนเอง เพื่อเป็น การลงโทษตนเอง โดยต้องประพฤติวัตร ให้ครบจํานวนวันที่ปกปัดอาบัตินั้นๆ เพื่อปลดเปลื้องตนจากอาบัติสังฆาทิเสส และต้องไปหา "สงฆ์จตุรวรรค" (คือภิกษุสี่รูปขึ้นไป) เพื่อจะขอ "มานัต" และมีภิกษุอีกรูปหนึ่งจะสวดประกาศให้มานัตแล้ว ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสต้องประพฤติมานัตอีก คืนแล้วสงฆ์ผู้บริสุทธิ์จึงจะเรียกเข้าหมู่กลาย เป็นผู้บริสุทธิ์ต่อไป


วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2565

สู่ขวัญพระสงฆ์


 

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ 3 จบ

 

       ศรีๆๆ สิทธิพระพรบวรแวนวิเศษ อะติเรกกะเตโช ชัยยะตุภะวังชัยยะมังคะละ ชัยยะมหามงคล อเนกสวัสดี อาทิตย์ถูกชัยศรี จันทร์กำจัดไพรีศัตรูพินาศ อังคารอาจมงคล พุธเป็นบุญแก้วเกิด พฤหัสล้ำเลิศมหาพลา ศุกร์อิทธิยาแวนวิเศษ เสาร์เป็นเกศแก้วกิ่ง อุตตะมังคะลา สุนักขัตตา สุมังคะลา อุตตะมะโชค อุตตะมะโยค อุตตะมะถิถี อุตตะมะ มะหานะที มหาสักขีพิลาส ด้วยอำนาจอันลือชา อันฝูงข้าทั้งหลายหมายมี นักปราชญ์และปุโรหิต ทั้งบัณฑิตและชาวเมืองมาพร่ำพร้อม เฒ่าแก่มานั่งล้อมสาธุการ บริวารหลายเหลือหลั่ง มาโฮมนั่งอยู่สอนลอน ตาสะออนบุญหลายหลาก บ่พัดพรากไปไกล มาโฮมใจชมชื่น ยอยกยื่นมงคล ให้เป็นผลแผ่สร้าง ทุรอ้างความดี รวมกันมา กะทำลาบาศรี เพื่อให้เป็นมังคะละดี อันวิเศษ ปรารภเหตุแห่งอายุวัฒนมงคล ท่านพระครูผู้งามค่อง ใสอ่องต่องบวร........ชื่อพระ.......ชื่อวัด........งามโสภิสผุดผ่องแผ้ว รัตนแก้วสังโฆ ผู้เมโธนักปราชญ์ ผู้ฉลาดในคัมภีร์ บุญคุณมีศรีวิเศษทั่วโขงเขตถวยส่งนำพร...ตำแหน่ง.....จังหวัด.....งามโอภาสขอประกาศแผ่ความดี.....อายุ....วัสสาปีศรีดิเรก บุญญาภิเษกงามผ่องสดใส ถือพระธรรมวินัยงามองอาจ พัฒนาอาวาสเฮืองฮุ่งไสงาม ขอบุญตามส่งผลให้ ลุลาภได้สมดังปณิธาน ฉลองงานอายุวัฒนมงคล งานโสภณบุญผายโผด สร้างประโยชน์เหลือคุณณา แก่พระศาสนาจนฮอดฮ้อย เป็นที่พึ่งพาของพวกข้าน้อยอยู่สวัสดี...อายุ...วัสสาปียืนยาวยิ่ง งามเพี้ยงพิ่งเทียรคา ทรงวัสสาอย่าถอยเฒ่าแผ่ผลหลาย สุตตะกานิกายสูตทั้งหลายล้ำยิ่ง งามเผี้ยงผิ่งโสภณ ขอกุศลอันล้ำเลิศ บารมีเกิดมีมา ให้ท่าน...ชื่อพระ......ผุดผ่องแผ้วกวีแก้วแห่งนรชน....อายุ.....วัสสาผลทนล้ำเลิศ มงคลเกิดมีมา ให้ท่านพระครูวรพรตสิทธิการ ประสบพบแต่ความเกษมวัฒนาจำเนียรวาร ตราบจีรัตติกาลเหิงยาวนานสืบต่อไปก็ปู่เทอญ มาบัดนี้ศิษยานุศิษย์ทุกทั่วถ้วน ได้แต่ล้วนชมชื่นยินดี ฉลองอายุวัฒนมงคลศรีสมโพชฌ์ มีปราโมทย์ชื่นปรีดา จึงได้พากันจัดหาพานบายศรี วิจิตรบรรจงดีสีสะพาส ตั้งเหนืออาสน์แท่นบูชา จึงได้ขนขวยหาสัปปาอาหาร มีทั้งหัวมันและหัวเผือก เลือกเอาได้แม่นมันโง จนโจ๋นั้นแม่นหมากพร้าวซ่อม แต่งไว้ล้อมเลียนพา มีทั้งกากุลาไก่ตัวผู้โอก แต่งใส่โตกสวยลวย งามอวยฮวยเลิศแล้ว เหล้าก่องแก้วใส่พาขวัญ สัปปาอาหารมีหลากหลาย หาได้มากประมวลมา แต่งใส่พาปะไว้เทิงเสื่อ ตั้งแม่นเมื่อยามดี มีสีใสบ่เศร้า มาบัดนี้ก็จึงได้ไปอาราธนาเอาอาจารย์เจ้าผู้ฉลาด มานั่งสาดเอิ้นเชิญขวัญว่า ศรีๆ มื้อนี้เป็นมื้อสันวันนี้เป็นวันดี วันเศรษฐีอะมุตตะโชค ประสิทธิโยคพร้อมลัคณา ข่อยผู้ตาก็จึงได้มาสู่ ข่อยผู้ปู่ก็จึงได้มาหา ตามพาสีพาสาข่อยนี้เป็นผู้เฒ่า สร้างเว้ากล่าวเชิญขวัญ ว่ามาพลันอย่าช้า เชิญเอาทั้งขวัญหน้าขวัญตาคิ้วก่องก่อง ขวัญเจ้าพัดกะละแม่นพรากบ้าน โอ้ยนานแล้วให้ต่าวมาเดอเด้อ ว่ามาเยอขวัญเอ้ย ขวัญเจ้ามาเถิงแล้ว แก้วแก่นให้สดสีแน่เด้อ....อายุ....ปีให้สดใสผ่องละมัยละมุนเนื้อ เจ้าผู้เฮือสำเภาแก้วสินำแนวได้เบิดส่วน ผลาบุญหนุนยิ่งล้วนเทียวซ้วนบ่หน่ายหนี....อายุ....ปีห่านี้ให้มีโชคมหาชัยผู้แหน่เด้อ นึกแนวใด๋ให้สมหวังดั่งมโนหมายแม้วน บุญนำแหนแนนนำห้อย อันนำฮอยสุบาดย่างปู่แน่เด้อ หวังสิคิดก่อสร้าง หลายท้างว่าป่องแปว ขอให้เป็นดั่งแก้วล้ำค่าผู้คูณเมืองผู้แหน่เด้อ ขอให้เฮืองโมลีส่องคดีใสแจ้ง ผลาแฮงบุญล้นงามวิมลก้องค่า สถิตอยู่ค้ำพระศาสนาให้ลือชาอยู่จ้นๆ คนง้อว่าทั่วแดน หมดทุกโขงเขตแคว้น แดนป่องธรณี ได้เพิ่งสีใบบุญหลวงพ่อพระครูผู้บุญล้ำ ขอคุณพระพุทธให้นำค้ำ คุณพระธรรมให้นำส่ง คุณพระสงฆ์องค์ยอดเยี่ยมให้เทียมข้างอย่าห่างคีง โอ้ยเทียมข้างอย่าห่างคีง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ฤทธิ์ยอดยิ่งสถิตอยู่น้อแดนใด๋ จงประสิทธิพรชัยกะดั่งใจหมายมุ่ง นำผดุงผลให้กะสดใสถ่วนทั่ว ฮ่มโพธิ์ชัยใบป่งพั้วโอยปลายดั้ว ให้ส่งสูง ผดุงค้ำแม่นสู่ทาง ผลาสร้างจงเจริญ ว่ามาเยื้อขวัญเอ้ย ขวัญตกบกก็ให้พากันออก ขวัญเจ้าตกหมอกก็ให้พากันลุก ขวัญเจ้าตกฮูก็ให้พากันพ้น ขวัญเจ้านี้อย่าได้ไปอยู่ซ้น ในห้วยแกมปูแกมปลา ว่ามาเย้อขวัญเอ้ย ขวัญผู้เป็นกากนั้นให้เจ้ามาอยู่แว้นไว ขวัญผู้เป็นหวัดและเป็นไอให้เจ้ามาอยู่ห้วนเห้า มีทั้งขวัญผู้เฒ่าๆ นั้นนะให้ค่อยชัก ไม้ค้อนเท้าตามหลังมาอยู่จุบๆๆๆ ว่าเดอเด้อขวัญเอ้ย มานำทางเป็นคนท่อง มานำท่องเป็นคนถาง มานำทางเส้นกว้างไม้ขวยข่วงหนามหนา บัดว่าน้ำล้นห้วยขอให้ขวัญเจ้านี้ค่อยลอยมา เย้อๆๆ บัดว่าน้ำท่วมภูท่วมดอยขวัญเจ้านี้ขี่เฮือไม้งิ้ว งมพัดสีกิ้วๆ โอ้ยขวัญท่าน ให้ต่าวมาๆๆ เด้อ ว่ามาเย้อขวัญเอ้ย ให้ขวัญท่านนี้นะมา กินชิ้นปลาตัวโตท่อคอนาค ให้ขวัญนี้นานี้น่าๆๆ มากินชิ้นปลาปากตัวท่อคอเฮือ ให้ขวัญนี้น่าๆๆ มากินชิ้นปลาเสือตัวท่อคอม้า ว่ามาเย้อขวัญเอ้ย ว่า บาดนี้ฮอดเดือนหกฝนตกลงมาอยู่จี้จ้น ขวัญเจ้านี้จักสิไปอยู่ซ้น สายคาเฮือนใต้ป่องล่อผู้ใด๋เด้ขวัญเอ้ย ขวัญเจ้านี้จักไปยืนยืดเยื้อกุฏิเย้าเพิ่นผู้ใด๋ นั้นล่ะนาขวัญเอ้ยนา ว่ามาเย้อๆ ว่าดั่งนั้นแล้วก็จึงบายเอาฝ้ายอ้อมแก้วมงคล บุญคุณดีความงามดูอาจ ผูกแขนลาดเอาขวัญว่ามาเย้อ คั้นแม่นผูกเบื้องซ้ายขอให้ขวัญท่าน ....ชื่อพระ....นี้มาเย้อ คันแม่นผูกเบื้องขวาขอให้ขวัญท่าน....ชื่อพระ....นี้อยู่ มาทุกหมู่ทุกองค์ มาทุกคนทุกคนก็ปู่เทอญ ว่าแล้วตั้งแฮกตั้งแต่ในกาลนี้ หนีเมือหน้าเจ้าอย่าถ่อยข้าเสียสี ให้ท่าน...ชื่อพระ... นี้มีอายุยืนยาวอย่าได้สั้น หมั่นให้ท่านหมั่นปานง่ามเขากวาง หมั่นให้ท่านหมั่นปานคางหมูถอกเถื่อน หมั่นให้ท่านหมั่นปานเถื่อนสร้างโฮง หมั่นให้ท่านหมั่นปานโปงสร้างหล่อ หมั่นให้ท่านหมั่นปานก้อนหินแดง แข็งให้ท่านแข็งปานก้อนหินลาด สูงเทียมอาสเขาสะเมน ใหญ่เพียงตอขวัญเจ้านี้อย่าหัก ใหญ่เพียงหลักขวัญเจ้าอย่าได้ก่น อย่าได้หม่นเหมือนตอง อย่าได้หมองเหมือนเถ่า อย่าได้เก่าเสียสี ให้ท่าน....ชื่อพระ...นี้ มีตั้งแต่อายุวัณณัง สุขัง พลัง ขอให้ตั้งเที่ยงหมั่นดอมท่านจงเจริญ เด้อ


สู่ขวัญนาค


       มื้อนี้เป็นมื้อสันวันชอบมื้อประกอบวันดีสิได้กะทำลาบาศรี ให้แก่นาค...........ที่สิได้ลาบิดามารดาไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ในทางพระพุทธศาสนา บ่ให้พบอันหาญบ่ให้พาลอันฮ้าย ตั้งแฮกแต่นี้เมือหน้าหายทุกข์ หายโศก หายโรค หายภัย หายพยาธิโรคา ให้มีแต่ความสุขความเจริญ เจริญด้วยอายุวรรณะ สุขะ พละ อโรคา อันถ้วนสี่ ปฏิภารอันถ้วนหก อธิปไตยะอันถ้วนเจ็ด จงเสด็จลงมาฮักษา ยังขันธะสันดาน พบดวงตาเห็นธรรม นำเข้าสู่นิรพาน ก็ข้าเทอญ

 

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ 3 จบ

 


       
ศรีๆๆ สิทธิพระพรบวรแวนวิเศษ อะติเรกกะเตโช ชัยยะตุภะวังชัยยะมังคะละ ชัยยะมหามงคล อเนกสวัสดีอาทิตย์ถูกชัยศรี จันทร์กำจัดไพรีศัตรูพินาศ อังคารอาจมงคล พุธเป็นบุญแก้วเกิด พฤหัสล้ำเลิศมหาพลา ศุกร์อิทธิยาแวนวิเศษ เสาร์เป็นเกสแก้วกิ่ง อุตตะมังคะลา สุนักขัตตา สุมังคะลา อุตตะมะโชค อุตตะมะโยค อุตตะมะดิถี อุตตะมะ มะหานะที มหาสักขีพิลาส ด้วยอำนาจอันลือชา อันฝูงข้าทั้งหลาย หมายมีนักปราชญ์และปุโรหิต ทั้งบัณฑิตและชาวเมืองมาพร่ำพร้อม เฒ่าแก่มานั่งล้อมสาธุการ บริวารหลายเหลือหลั่ง มาโฮมนั่งอยู่สอนลอน ตาสะออนบุญหลายหลาก บ่พัดพรากไปไกล มาโฮมใจชมชื่น ญาติบ้านอื่นมาหา จั่งได้ลาบิดามารดาออกบวช หวังไปสวดบำเพ็ญศีล ดั่งพระอินทร์ถวายบาตร พรหมราชยอพาน ถวายทานพระศรีธาตุ คราวพระบาทออกไปบรรพชา อยู่ฝั่งน้ำอโนมาพร้อม นายฉันท์และม้ามิ่ง ลายอดแก้มปิ่งสิ่งพิมพา ทั้งราหุลออกบวช ไปผนวชเป็นคนดี เจ้ามีใจในธรรม อันล้ำเลิศ ก่อนสิได้มาเกิดจากท้องมารดา ได้เลี้ยงมาเป็นอันยากเลี้ยงลำบากทุกวันคืน แม่ทนฝืน หนักหน่วงท้อง นอนเก้าเดือนเฮ็ดล่องง่องอยู่ในครรภ์ แสนรำพันฮักห่อ ลูกของพ่อดั่งดวงตา ออกจากท้องมารดาลูกเกิดมาเลิศแล้ว ได้ลูกแก้ว แม่นผู้ชาย ฝูงตายายก็ชมชื่น ยอยกยื่นเจ้าออกมา ญาติก็มาเอาผ้าห่อ ผู้เป็นพ่อฮักเหลือหลาย ตากับยายเอาอาบน้ำทุกค่ำเช้าให้กินนม แม่นอนซมพ่อนอนกอด หอมแก้มฟอดยามไปมา ฮักดั่งตา ลูกแก่นไท้ เลี้ยงเจ้าใหญ่เป็นหนุ่มมา อยู่ชายคาเพียรอ่อน สะส่อนหน้าใหญ่เป็นคน บ่ได้จนจักอย่าง บ่ได้ห่างไปไกล บ่ได้ไลหนีจาก แสนลกบากเหลือหลาย ลูกผู้ชายจั่งได้บวชในศาสนา เจ้าก็คิดถึง คุณบิดามารดาเป็นอันยิ่ง จัดทุกสิ่งหามา เจ้าก็ลาพ่อแม่ ฮอดเถ้าแก่วงศ์วาน ได้จัดการพวกพี่น้อง ทั้งพวกพ้องมิตรสหาย บางผ่องศรัทธาหลายได้เสื่อสาด มีทั้งบาตรแลจีวร ตาออนซอนทั้งผ้าพาด ได้ไตรอาจบริขาร มาในงานบริโภค ได้ทั้งโตกถ้วยและคันทีเหล็กจานดีอันคมกล้า อันล้ำค่าบริขารสละทานบ่อึดอยาก มีหลายหลากมารวมกัน เผื่ออยากเห็นพระจอมธรรมยอดแก้ว ยังบ่แล้วพระเมตไตย์ จอมพระทัยสุดยอด ทานตลอดกองบุญ เพื่อจักหนุนชูส่ง ญาติบ้านท่งบ้านไกลและบ้านใกล้แล้วก็จึงได้ไปอาราธนาอาจารย์เจ้าผู้ฉลาด มานั่งสาดเอิ้นเชิญขวัญว่า ศรีๆ มื้อนี้เป็นมื้อสันวันนี้เป็นวันดี วันเศรษฐีอะมุตตะโชค ประสิทธิโยคพร้อมลัคณา ข่อยผู้ตาก็จึงได้มาสู่ ข่อยผู้ปู่ก็จึงได้มาหา ตามพาสีพาสาข่อยนี้เป็นผู้เฒ่า สร้างเว้ากล่าวเชิญขวัญ ว่ามาพลันอย่าช้า เชิญเอาขวัญอ่อนหล่าทารกน้อยอ่อนๆ เชิญเย้อ เชิญเอาขวัญท่อนท้าว ให้ไวฟ้าวให้ต่าวมาเดอเด้อ ว่ามาเย้อขวัญเอ้ย ข่อยจักเชิญเอาขวัญอ่อนน้อย หล่าอ่อนตีนแดง เชิญเอาขวัญนางแพงให้ด่วนมาอย่าช้า เชิญเอาทั้งขวัญหน้าขวัญตาคิ้วก่องก่อง ขวัญเจ้าพัดกะละแม่นพรากบ้าน โอ้ยนานแล้วให้ต่าวมาเดอเด้อ ว่ามาเยอขวัญเอ้ย ขวัญเจ้ามาเถิงแล้ว แก้วแก่นให้สดสีแน่เด้อ วรรณะผิวให้สดใสผ่องละมัยละมุนเนื้อ เจ้าผู้เฮือสำเภาแก้วสินำแนวได้เบิดส่วน ผลาบุญหนุนยิ่งล้วนเทียวช้วนบ่หน่ายหนี นับตั้งแต่มื้อนี้ให้มีโชคมหาชัยผู้แหน่เด้อ นึกแนวใด๋ให้สมหวังดั่งมโนหมายแม้น บุญนำแหนแนนนำห้อย อันนำฮอยสุบาดย่างปู่แน่เด้อ หวังสิคิดก่อสร้าง หลายท้างว่าป่องแปว ขอให้เป็นดั่งแก้วล้ำค่าผู้คูณเมืองผู้แหน่เด้อ ขอให้เฮืองโมลีส่องคดีใสแจ้ง ผลาแฮงบุญล้นงามวิมลก้องค่า สถิตอยู่ค้ำพระศาสนาให้ลือชาอยู่จ้นๆ คนง้อว่าทั่วแดน หมดทุกโขงเขตแคว้น แดนป่องธรณี ใด้เพิ่งสีใบบุญพ่อพระคุณผู้บุญล้ำ ขอคุณพระพุทธให้นำค้ำ คุณพระธรรมให้นำส่ง คุณพระสงฆ์องค์ยอดเยี่ยมให้เทียมข้างอย่าห่างคีง โอ้ยเทียมข้างอย่าห่างคีง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ฤทธิ์ยอดยิ่งสถิตอยู่น้อแดนใด๋ จงประสิทธิพรชัยกะดั่งใจหมายมุ่ง นำผดุงผลให้กะสดใสถ่วนทั่ว ฮ่มโพธิ์ชัยใบป่งพั้วโอยปลายดั้ว ให้ส่งสูง ผดุงค้ำแม่นสู่ทาง ผลาสร้างจงเจริญ ว่ามาเย้อขวัญเอ้ย ขวัญตกบกก็ให้พากันอกอ ขวัญเจ้าตกหมอกก็ให้พากันลุก ขวัญเจ้าตกฮูก็ให้พากันพ้น ขวัญเจ้านี้อย่าได้ไปอยู่ซ้น ในห้วยแกมปูแกมปลา ว่ามาเย้อขวัญเอ้ย ขวัญผู้เป็นกากนั้นให้เจ้ามาอยู่แว้นไว ขวัญผู้เป็นหวัดและเป็นไอให้เจ้ามาอยู่ห้วนเห้า มีทั้งขวัญผู้เฒ่าๆ นั้นนะให้ค่อยชัก ไม้ค้อนเท้าตามหลังมาอยู่จุบๆๆๆ ว่าเดอเด้อขวัญเอ้ย มานำทางเป็นคนท่อง มานำท่องเป็นคนถาง มานำทางเส้นกว้างไม้ขวยข่วงหนามหนา บัดว่าน้ำล้นห้วยขอให้ขวัญเจ้านี้ค่อยลอยมา เย้อๆๆ บัดว่าน้ำท่วมภูท่วมดอย ขวัญเจ้านี้ขี่เฮือไม้งิ้ว ลมพัดสีกิ้วๆ โอ้ยขวัญหล่าให้ต่าวมาๆๆ เด้อ ว่ามาเยื้อขวัญเอ้ย ให้ขวัญท่านนี้นะมา กินชิ้นปลาตัวโตท่อคอนาค ให้ขวัญนี้นานี้น่าๆๆ มากินชิ้นปลาปากตัวท่อคอเฮือ ให้ขวัญนี้น่าๆๆ มากินชิ้นปลาเสือตัวท่อคอม้า ว่ามาเย้อขวัญเอ้ย บาดว่าฮอดเดือนหก ฝนตกลงมาอยู่จี้จ้น ขวัญเจ้านี้จักสิไปอยู่ซ้น สายคาเฮือนใต้ป่องล่อผู้ใด๋เด้ขวัญเอ้ย ขวัญเจ้านี้จักไปยืนยื้ดยื้อกุฏิเย้าเพิ่นผู้ใด๋ นั้นล่ะนาขวัญเอ้ยนา ว่ามาเย้อๆ ว่าดั่งนั้นแล้วก็จึงบายเอาฝ้ายอ้อมแก้วมงคล บุญคุณดีความงามดูอาจผูกขวัญลาดแขนหลานว่ามาเย้อ คั้นแม่นผูกเบื้องซ้ายขอให้ขวัญ...ชื่อนาค...นี้มาเย้อ คันแม่นผูกเบื้องขวาขอให้ขวัญ...ชื่อนาค...นี้อยู่ มาทุกหมู่ทุกองค์ มาทุกตนทุกคนก็ปู่เทอญ ว่าแล้วตั้งแฮกตั้งแต่ในกาลนี้ หนีเมือหน้าเจ้าอย่าถ่อยช้าเสียสี ให้ ...ชื่อนาค...มีอายุยืนยาวอย่าได้สั้น หมั่นให้เจ้าหมั่นปานง่ามเขากวาง หมั่นให้เจ้าหมั่นปานคางหมูถอกเถื่อน หมั่นให้เจ้าหมั่นปานเถื่อนสร้างโฮง หมั่นให้เจ้าหมั่นปานโปงสร้างหล่อ หมั่นให้เจ้าหมั่นปานก้อนหินแดง แข็งให้เจ้าแข็งปานก้อนหินลาด สูงเทียมอาสเขาสะเมนใหญ่ เพียงตอขวัญเจ้านี้อย่าหัก ใหญ่เพียงหลักขวัญเจ้าอย่าได้ก่น อย่าได้หม่นเหมือนตอง อย่าได้หมองเหมือนเถ่า อย่าได้เก่าเสียสี ให้...ชื่อนาค...มีตั้งแต่อายุวัณณัง สุขัง พลัง ขอให้ตั้งเที่ยงหมั่น ดอมท่าน จงเจริญเด้อ