วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

การตัดเย็บเบื้องต้น



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้






ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตัดเย็บเสื้อผ้า
อุปกรณ์ตัดเย็บเสื้อผ้า
1. สายวัด สายวัดที่ดีควรทำด้วยผ้าอาบน้ำยาเคมี เพื่อป้องกันการหดหรือยืด มีโลหะหุ้มที่ปลายทั้ง 2 ข้าง มีตัวเลขบอกความยาวเป็นเซนติเมตรและนิ้ว
2. กระดาษสร้างแบบ ใช้สร้างแบบก่อนตัดผ้า มีทั้งสีขาวและสีน้ำตาล
3. กรรไกรตัดผ้า มี 2 ชนิด คือ ชนิดด้ามโค้งและด้ามตรง ซึ่งกรรไกรด้ามโค้งจะตัดได้เที่ยงตรงกว่า เพราะใบกรรไกรอยู่ขนานกับผ้าขณะตัด ไม่ควรทำกรรไกรตกขณะใช้เพราะทำให้เสียคม หมั่นลับกรรไกรให้คมเสมอ และหยอดน้ำมันจักรเป็นครั้งคราวเพื่อป้องกันไม่ให้กรรไกรฝืด
4. ชอล์กเขียนผ้า ใช้ทำเครื่องหมายบนผ้ามีทั้งแบบแท่งเหมือนดินสอและแบบแผ่นรูสามเหลี่ยม
5. กระดาษกดรอย เป็นกระดาษสีมีหลายสี อาบด้วยเทียนไข ใช้กับลูกกลิ้งเพื่อกดรอย เผื่อเย็บเกล็ดหรือตะเข็บลงบนผ้า ควรเลือกให้เหมาะกับสีของผ้า
6. ลูกกลิ้ง ใช้คู่กับกระดาษกดรอย มี 2 ชนิด คือ ชนิดลูกล้อฟันเลื่อย และชนิดปลายแหลมเหมือนเข็ม โดยทั่วไปนิยมใช้ชนิดลูกล้อฟันเลื่อยมากกว่า เพราะลูกกลิ้งติดสีได้ดีและรอยมีความถี่มากกว่า
7. เข็มเย็บผ้า ควรเลือกให้เหมาะสมกับผ้า เช่น เข็มเบอร์ 10–11 มีขนาดเล็กใช้กับผ้าเนื้อบางเบา เข็มเบอร์ 9 มีขนาดกลางใช้กับผ้าเนื้อหนาปานกลาง และเข็มเบอร์ 8 มีขนาดใหญ่ใช้กับผ้าเนื้อหนา
8. เข็มจักร ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของด้ายและความหนาของเนื้อผ้า เช่น เข็มจักรเบอร์ 9 ใช้กับผ้าแพร ผ้าชีฟอง ผ้าไหม และผ้าป่าน เข็มจักรเบอร์ 11 ใช้กับผ้าสักหลาดและผ้าฝ้ายผสมไนลอน เข็มจักรเบอร์ 13 ใช้กับผ้าลินิน ผ้าเสิร์จ และผ้าฝ้าย เข็มจักรเบอร์ 14 ใช้กับผ้าขนสัตว์ ผ้าใยสังเคราะห์ และผ้าขนสัตว์ผสมสำลี เข็มจักรเบอร์ 16 ใช้กับผ้าใบ ผ้ายีน และหนัง
9. เข็มหมุด ใช้กลัดเพื่อป้องกันการเคลื่อนเวลากดรอยเผื่อเย็บ ใช้ทำเครื่องหมายลงบนผ้า หรือเนาผ้าให้ติดกัน เมื่อจะตัดผ้าตามแบบ
10. ด้าย ใช้เย็บเพื่อประกอบชิ้นส่วนของผ้าให้ติดกัน ควรเลือกให้เหมาะสมกับสีผ้า ความหนาของผ้า และขนาดของเข็ม ด้ายที่นิยมใช้กับผ้าทุกชนิด คือ เบอร์ 60
11. ที่เลาะด้าย ใช้เลาะด้ายส่วนที่ไม่ต้องการทิ้ง ส่วนปลายมีลักษณะแหลมคมและมีง่าม มีปลอกสวมเพื่อความปลอดภัย
12. หมอนเข็ม เป็นอุปกรณ์พักเข็มชนิดต่าง ๆ หลังใช้งานหรือรอการใช้งาน หมอนเข็มที่ดีควรทำจากผ้ากำมะหยี่หรือผ้าขนสัตว์ ไส้ในควรบรรจุด้วยเส้นผม ขนสัตว์ หรือขี้เลื่อย เพื่อป้องกันสนิม




การเลือกผ้าเพื่อใช้ในการตัดเย็บ
1. ควรเลือกผ้าที่ทอเนื้อละเอียด ไม่บาง มีน้ำหนักเพื่อให้จับได้เต็มที่ขณะเย็บ
2. ควรเป็นผ้าสีพื้น ไม่ควรใช้ผ้าที่ต้องต่อลายให้ตรงกัน
3. ควรเป็นผ้าที่ไม่ยับง่าย เพราะจำทำให้เสียเวลาในการรีด
4. ควรเป็นผ้าที่สีไม่ตก และหลีกเลี่ยงการใช้ผ้าสีเข้ม เช่น สีน้ำเงิน น้ำตาล
5. ควรเป็นผ้าที่มีความคงทน เส้นด้ายทอไม่แตกง่าย และไม่ยืดหรือหดเมื่อผ่านการซัก
6. ควรเป็นผ้าที่สวมใส่แล้วสบายตัว ไม่ระคายเคืองผิว
7. ควรเลือกผ้าตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ เช่น ผ้าที่ใช้ตัดชุดนอนควรเป็นผ้าเนื้อนิ่ม เป็นต้น
8. ไม่ควรเลือกใช้ผ้าราคาแพง เพราะหากตัดเย็บไม่สำเร็จจะสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์
9. พยายามเลี่ยงผ้าที่มีเชิงริมผ้าทั้ง 2 ด้าน เพราะจะทำให้ตัดและเย็บประกอบเป็นตัวเสื้อได้ยาก

สำหรับผ้าที่วางจำหน่ายตามท้องตลาดมีคุณสมบัติเฉพาะที่แตกต่างกันไป ดังนี้
1. ผ้าฝ้าย มีคุณสมบัติซึมซับน้ำและระบายความร้อนได้ดี ทนความร้อนสูง ทนต่อการซักรีด ราคาไม่แพงและตัดเย็บง่าย เหมาะจะนำมาตัดชุดนอน ชุดลำลอง กางเกง กระโปรง ชุดเด็ก และผ้าอ้อม
2. ผ้าลินิน มีคุณสมบัติซึมซับน้ำได้ดีและมีความเหนียวมาก สวมใส่สบาย เหมาะที่จะนำมาตัดเย็บเป็นของใช้ในครัว แต่ไม่ควรนำมาฝึกตัดเย็บเสื้อผ้า เพราะยับง่าย รีดยาก และราคาแพง
3. ผ้าไหม เนื้อนุ่ม เบา ขึ้นเงาสวยงาม นิยมนำมาตัดชุดสำหรับงานพิธี งานกลางคืน หรือโอกาสพิเศษ ไม่ควรนำมาฝึกตัดเย็บเสื้อผ้า เพราะซักรีดยาก ราคาแพง
4. ผ้าขนสัตว์ มีความยืดหยุ่นดีเยี่ยม ไม่ยับ และเก็บความร้อนได้ดี แต่มีราคาแพง นิยมนำมาตัดเป็นเสื้อผ้าและเครื่องกันหนาว
5. ผ้าเส้นใยสังเคราะห์ ถ้าร้อยเปอร์เซ็นต์จะร้อน ไม่ซับเหงื่อ และสวมใส่ไม่สบาย แต่ชนิดที่ผสมเส้นใยธรรมชาติจะไม่ยับ ซักรีดง่าย และสวมใส่สบายกว่า นอกจากนี้ยังมีความเหนียวและจับจีบได้สวยงาม ผ้าเส้นใยสังเคราะห์มีชื่อเรียกทางการค้าต่าง ๆ กัน เช่น วิสคอสเรยอน ไลครา เคดอน แอนทรอน เดครอน ไวครอน ออร์ลอน ไวคารา เป็นต้น

ขั้นตอนการตัดเย็บเสื้อผ้า



1. การวัดตัว ใช้เชือกผูกเอวเพื่อให้รู้ตำแหน่งของเอว ยืนตัวตรง จากนั้นผู้วัดจะวัดตามขั้นตอนต่อไปนี้
1) วัดรอบอก วัดให้ผ่านช่วงที่นูนที่สุดของอก โดยใช้สายวัดด้านหน้าและด้านหลังเป็นแนวเดียวกัน
2) วัดรอบเอว วงสายไปรอบเอวแล้ววัดส่วนที่คอดที่สุดตรงเอวให้พอดี
3) วัดรอบสะโพกล่าง ทาบสายวัดตรงส่วนที่นูนสุดของสะโพก ขณะวัดให้ใช้นิ้วสอดเข้าไปในสายวัด 2 นิ้ว จากนั้นลองเลื่อนสายวัดขึ้น-ลงพอให้สายวัดผ่านสะโพกได้สะดวก
4) วัดความยาวด้านหลัง ทาบสายวัดจากปุ่มกลางกระดูกคอด้านหลังให้แนบกับลำตัวด้านหน้าลงมาถึงเอว
5) วัดความยาวด้านหน้า ทาบสายวัดตรงรอยบุ๋มตรงกลางคอด้านหน้าให้แนบกับลำตัวด้านหลังลงมาถึงเอว
6) วัดรอบคอ วางสายวัดให้ชิดกับฐานคอตรงแนวต่อกับช่วงไหล่ แล้วใช้นิ้วสอดไปในสายวัด 1 นิ้ว วัดให้พอหมุนได้
7) วัดความกว้างของบ่าหน้า วัดจากช่วงรักแร้ด้านหน้าด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง
8) วัดความกว้างของบ่าหลัง วัดจากช่วงรักแร้ด้านหลังด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง
9) วัดความยาวไหล่ วัดจากข้างคอที่แนวตะเข็บไหล่มาที่ปุ่มปลายไหล่
10) วัดความแขน ให้ผู้ถูกวัดยืนเท้าเอว แล้วใช้สายวัดทาบหัวไหล่ผ่านข้อศอกไปจนถึงข้อมือ
11) วัดรอบข้อมือ วงสายวัดรอบตรงปุ่มข้อมือ แล้วลองเลื่อนขึ้น-ลงให้ผ่านมือได้สะดวก
12) วัดความยาวกระโปรงหรือกางเกง วางสายวัดทาบจากขอบเอวยาวลงมาทางด้านหน้าขาหรือด้านข้างลำตัว

การวัดตามขั้นตอนนี้เป็นแบบพื้นฐานทั่วไป ถ้าต้องการเสื้อผ้าที่มีรายละเอียดมากขึ้น เช่น เสื้อแขนยาว อาจจะต้องวัดรอบรักแร้เพิ่มเติม เพื่อจะได้เผื่อหลวมให้สามารถเคลื่อนไหวในอิริยาบถต่าง ๆ ได้โดยสะดวก
2. การเตรียมผ้าก่อนตัด บางครั้งผ้าที่ซื้อมาอาจถูกตัดหรือชายผ้าฉีก ทำให้เส้นด้ายของเนื้อผ้าเสียรูปทรง แก้ไขได้โดยดึงมุมทุกมุมของผ้าให้เป็นมุมฉาก และถ้าต้องการหดผ้าสำหรับผ้าที่ซักเปียกได้ ให้ทบผ้าตามยาวแล้วพับผ้าวางลงในภาชนะที่มีน้ำ แช่ทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมงหรือจนกระทั่งน้ำซึมทั่วผืนผ้า แล้วยกออกทั้งที่ยังพับอยู่ จากนั้นใช้ฝ่ามือกดน้ำออกโดยไม่ต้องบิด แล้วนำไปวางบนพื้นราบ ผึ่งแดดให้แห้ง
3. การสร้างแบบตัด จะต้องสร้างแบบตัดมาตรฐาน โดยใช้อุปกรณ์ได้แก่ กระดาษสร้างแบบ ดินสอดำ ยางลบ ไม้บรรทัด กรรไกร ดินสอสีน้ำเงินหรือแดง แบบตัดมาตรฐาน ได้แก่ แผ่นหน้า แผ่นหลัง และแขนเสื้อ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1) การสร้างแบบตัดแผ่นหน้า วัดขนาดริมกระดาษสร้างแบบด้านบนลงมา 10 เซนติเมตร เป็นจุดเริ่มต้น โดยให้เส้นขนานที่ขวามือด้านริมกระดาษเป็นจุดที่ 1 หาความกว้างและลึกของตัวเสื้อ เช่น


ส่วนที่กำหนด

รอบคอ=33

รอบคอ=34

รอบคอ=35


คอหน้ากว้าง

6

6

6.25


คอหน้าสูง

6.5

6.5

6.75


คอหลังกว้าง

6.5

6.5

6.75


คอหลังสูง

1.5

1.5

1.75


เอวรอบคอ ÷ 6
ถ้าหาคอหน้ากว้าง ให้เอารอบคอ ÷ 6 + 0.5 = ?
ถ้าหาคอหน้าสูง ให้เอารอบคอ ÷ 6 + 1 = ?
ถ้าหาคอหลังกว้าง ให้เอารอบคอ ÷ 6 + 1 = ?
ถ้าหาคอหลังสูง ให้เพิ่ม 1.5 ตามสัดส่วนของแต่ละคน



หมายเลขบอกตำแหน่งการสร้างแบบแผ่นหน้า
1–2 เท่ากับความยาวด้านหน้า
2–3 วัดต่ำลงมา 20 เซนติเมตร
1–4 เป็นจุดแบ่งครึ่งของจุด 1-2
1–5 เป็นจุดแบ่งครึ่งของจุด 1-4
1–6 เท่ากับ ของรอบอก + 4 เซนติเมตร
6–7 เท่ากับความยาวด้านหน้า หรือเท่ากับ 1–2
7–8 วัดต่ำลงมา 20 เซนติเมตร ลากเส้นจากจุด 3–8

แนวเส้นสะโพกล่าง
6–9 เป็นจุดแบ่งครึ่งของจุด 6–7 ลากเส้น 4–9 เป็นแนวเส้นอก
6–10 เป็นจุดแบ่งครึ่งของจุด 6–9 ลากเส้น 5–10 เป็นแนวเส้นบ่า
1–11 วัดเข้าไป = คอหน้ากว้าง (รอบคอ ÷ 6 = ? + 0.5)
11–12 ลากเส้นตั้งฉากขึ้นไปจากจุด 11 = คอหน้าสูง (รอบคอ ÷ 6 = ? + 1) โค้งคอจากจุด 1–12
12–13 วัดต่ำลงมา 5 เซนติเมตร ลากเส้นตั้งฉากไปทางซ้าย แล้วลากgส้นจากจุด 12–14 ให้ติดกัน ที่เส้นฉากที่ลากออกมาจากเส้นคอให้มีความยาว = ตะเข็บไหล่
9–4 แบ่งครึ่งเป็นจุด 15 จุด จากจุด 15 ลากเส้นตรงลงมาถึงชายเสื้อ และลากเส้นให้สูงขึ้นไปจา เส้นอก = 2 เซนติเมตร จากจุดนี้ลากเส้นตั้งฉากออกไปทั้งสองข้าง
5–16 = ของบ่าหน้า ลากเส้นตั้งฉากลงมาเป็นจุด 17 จากจุด 17 ลากเส้นเฉียงออกไป = 2 เซนติเมตร โค้งวงแขนจาก 14 ผ่าน 16 ถึง 15

2) การสร้างแบบตัดแผ่นหลัง
หมายเลขบอกตำแหน่งการสร้างแบบแผ่นหน้า
7–18 เท่ากับความยาวหลัง
18–19 ลากเส้นตั้งฉากเข้าไป = (รอบคอ ÷ 6 = ? + 1)
19–20 วัดลงมา = คอหลังสูง (วัดลงมา 1.5 เซนติเมตร)
19–21 วัดขึ้นไป = คอหลังสูง (ผลต่างของความยาวด้านหลัง-ด้านหน้า)
10–22 ของบ่าหลัง ลากเส้นตรงลงมาถึงจุด 23 แล้วลากเส้นเฉียงออกไป 2.5 เซนติเมตร แล้วลากเส้นตรงขึ้นไปแนวเดียวกับจุด 21 เป็นจุด 24 จากจุด 24 วัดออกมาทางขวามือ 1 เซนติเมตรเป็นจุด 25
20–25 ลากเส้นต่อกันเป็นแนวตะเข็บไหล่ โค้งวงแขนหลังจากจุด 25 ผ่านจุด 22 ถึงจุด 15
หมายเหตุ ถ้าสะโพกคับหรือเล็กไปจะต้องเพิ่มเนื้อที่เข้าไปในตะเข็บข้าง

3) การสร้างแบบแขนเสื้อ ต้องวัดความยาวแขน แล้ววางแขนแผ่นหน้าและแผ่นหลังที่ตัวเสื้อ





หมายเลขบอกตำแหน่งการสร้างแบบแขนเสื้อ
1–2 เท่ากับความยาวของแขนเสื้อ
2–3 ของรอบวงแขนที่สัดได้แผ่นหน้าและแผ่นหลังรวมกันลบออก 2.5 เซนติเมตร เช่น
22 + 23 = 45 ÷ 2 = 22.5 – 2.5 = 20 เซนติเมตร ฉะนั้น 2–3 ลากเส้นตั้งฉากลงมา 20 เซนติเมตร
3–4 ลากเส้นตั้งฉากจากจุด 3 = 8–10 เซนติเมตร
2–4 ลากเส้นต่อกัน แล้วแบ่งครึ่งเป็นจุด 5 จุด แล้วโค้งแนวโค้งของแขนให้แนวโค้งตัดกันที่จุด 5 หรือต่ำลงมานิดหน่อยก็ได้
1–6 ของรอบปลายแขนหรือให้น้อยกว่า 2–3 = 2 เซนติเมตร แล้วแต่งตะเข็บให้ใต้ท้องแขนจากจุด 4 ถึงจุด 6

4. การตัดผ้าตามแบบ วางแบบกระดาษลงบนผ้าที่วางบนโต๊ะเรียบ สำหรับผ้าลาย ก่อนตัดควรดูให้แน่ใจก่อนเพื่อเวลาที่ต่อลายจะได้เนียนสนิท จากนั้นใช้เข็มหมุดกลัดกระดาษให้ติดกับผ้าแล้วเผื่อเย็บโดยรอบด้วยการกดลูกกลิ้งลงบนกระดาษกดรอยไว้ทุกด้าน ประมาณด้านละ 2 เซนติเมตร หรือ 1 นิ้ว และตัดผ้าเป็นชิ้น ๆ ตามแบบที่กลัดไว้
5. การทำเครื่องหมายบนผ้า มีอุปกรณ์สำคัญ คือ ลูกกลิ้ง กระดาษกดรอย และชอล์กเขียนผ้า ทำเครื่องหมายที่ต้องการให้ปรากฏบนผ้าส่วนใหญ่ ได้แก่ กลางหน้าและกลางหลังของเสื้อ ตะเข็บต่าง ๆ เกล็ดกระโปรง กางเกง หรือเสื้อ รอยเผื่อเย็บ ตำแหน่งติดกระเป๋า เป็นต้น ถ้ามีจักรเย็บผ้าก็ให้เย็บกันลุ่ยผ้าแต่ละชิ้นก่อน
6. การเนาผ้า เป็นการทำแนวเย็บผ้าและยึดผ้าแต่ละชิ้นให้ติดกันเพื่อป้องกันการเลื่อนของตำแหน่งผ้าเวลาเย็บ ซึ่งเมื่อเย็บเสร็จก็จะเลาะด้ายที่เนาไว้แล้วออกไป
7. การเย็บประกอบรูปร่าง โดยใช้เข็มสอยกับด้าย หรือใช้จักรเย็บผ้า รวมถึงการติดกระดุม เย็บรังดุม ติดตะขอ ซิป และสอยเก็บริม

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานตัดเย็บเสื้อผ้า
1. ศึกษาวิธีการใช้ให้ละเอียดก่อนทุกครั้ง
2. ขณะใช้อุปกรณ์การตัดเย็บเสื้อผ้าควรแต่งกายให้รัดกุม
3. ถ้าง่วงนอนหรือร่างกายอ่อนเพลียให้หยุดทำงานทันที
4. ถ้าอุปกรณ์การตัดเย็บเสื้อผ้าผิดปกติหรือชำรุดให้รีบซ่อมทันทีก่อนนำมาใช้
5. เมื่อใช้งานเสร็จควรเก็บไว้ในที่มิดชิดและแยกประเภทให้เป็นระเบียบเพื่อความสะดวกใช้งาน
6. อุปกรณ์การตัดเย็บเสื้อผ้าที่มีความแหลมคม ควรใช้ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ
7. อุปกรณ์อื่น ๆ ที่ต้องใช้ไฟฟ้า เช่น เตารีด จักรเย็บผ้าไฟฟ้า ควรถอดปลั๊กและเก็บสายไฟฟ้าให้เรียบร้อยหลังใช้งาน

การตัดเย็บเสื้อผ้าอย่างง่ายด้วยตนเอง
ตัวอย่างการตัดเย็บเสื้อผ้า
การตัดเย็บเสื้อกั๊ก
1. การวิเคราะห์งาน
ลักษณะงาน ต้องศึกษาเกี่ยวกับวิธีการเลือกผ้า การวัดตัว การสร้างแบบ ขั้นตอนการตัดเย็บ จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือในการตัดเย็บ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง
คุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงาน ควรเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับการตัดเย็บผ้า การออกแบบ เสื้อผ้ามีความประณีต ละเอียด รอบคอบ สามารถตัดสินใจ และแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง
2. การวางแผนในการทำงาน โดยสร้างแผนที่ความคิดเพื่อให้เห็นภาพรวมของการทำงาน ดังนี้


3. การปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน
1. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือ 5. เย็บกันลุ่ยริมผ้า
2. วัดตัวและสร้างแบบตัด 6. เนาและลองสวมใส่
3. วางแบบตัดและทำรอยเผื่อเย็บ 7. เย็บเสื้อกั๊กตามลำดับขั้นตอน
4. ตัดผ้าและทำเครื่องหมายบนผ้า 8. ตรวจสอบความเรียบร้อยของผลงาน

วิธีการสร้างแบบเสื้อกั๊ก วัดตัวและสร้างแบบพอดีตัว ความยาวเท่าเส้นเอวตำแหน่งที่วัดตัว
1) วัดรอบคอ 5) วัดความกว้างของบ่าหน้า
2) วัดรอบอก 6) วัดความกว้างของบ่าหลัง
3) วัดความยาวของช่วงตัวด้านหน้า 7) วัดความยาวไหล่
4) วัดความยาวของช่วงตัวด้านหลัง 8) วัดรอบรักแร้

การสร้างแบบแผ่นหน้า ขยายข้างคอหน้ากว้าง 1 เซนติเมตร คอลึก 5 เซนติเมตร แล้ววาดคอหน้าใหม่ อกเพิ่มตลอดข้าง 2 เซนติเมตร วาดแขนต่ำลง 7 เซนติเมตร บ่าหน้าเพิ่ม 1 เซนติเมตร
การสร้างแบบแผ่นหลัง ขยายคอหลังกว้างออก 1 เซนติเมตร และลึกลง 1.5 เซนติเมตร อกเพิ่มตลอดข้าง 2 เซนติเมตร วาดลงแขนต่ำลง 7 เซนติเมตร





การสร้างแบบแขนเสื้อ 
กำหนดความยาวแขนตามต้องการ วัดจากปุ่มไหล่ลงมา 1 เซนติเมตร วัดรอบวงแขน ÷ 2 แล้วนำมาตีเฉียงแบ่งเป็น 3 ส่วน โดย 2 ส่วนแรกโค้งขึ้น 1.5 เซนติเมตร ส่วนที่เหลือโค้งลง 0.5 เซนติเมตร จากนั้นโค้งวงแขนมาหาวงแขนเดิม



ขั้นตอนการเย็บเสื้อกั๊ก
1) เย็บเข้าไหล่และเย็บพับสาบหน้า
2) กุ๊นรอบวงแขนแล้วเย็บเข้าข้าง
3) กุ๊นรอบคอ สาบหน้า และชายเสื้อ
4) รีดให้เรียบแล้วตรวจดูความเรียบร้อย

4. การประเมินผลการทำงาน ถ้าพบว่าตะเข็บไม่เรียบร้อย ควรเลาะออกแล้วเย็บใหม่ หรืออาจตกแต่งเสื้อกั๊กด้วยกระดุมโลหะ ควรประเมินผลการปฏิบัติงานโดยภาพรวม หากพบรายการที่ไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอน ก็บันทึกไว้เพื่อนำไปแก้ไขในการทำงานครั้งต่อไป

การตัดเย็บกางเกงนอน
1. การวิเคราะห์งาน
ลักษณะงาน ต้องศึกษาเกี่ยวกับวิธีการเลือกผ้า การวัดตัว การสร้างแบบ ขั้นตอนการตัดเย็บ จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือในการตัดเย็บ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3–4 ชั่วโมง
คุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงาน ควรเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับการตัดเย็บผ้า การออกแบบ เสื้อผ้ามีความประณีต ละเอียด รอบคอบ สามารถตัดสินใจ และแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง
2. การวางแผนในการทำงาน โดยสร้างแผนที่ความคิดเพื่อให้เห็นภาพรวมของการทำงาน ดังนี้



3. การปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน
1. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือ 5. เย็บกันลุ่ยริมผ้า
2. วัดตัวและสร้างแบบตัด 6. เนาและลองสวมใส่
3. วางแบบตัดและทำรอยเผื่อเย็บ 7. เย็บกางเกงนอนตามลำดับขั้นตอน
4. ตัดผ้าและทำเครื่องหมายบนผ้า 8. ตรวจสอบความเรียบร้อยของผลงาน

วิธีการสร้างแบบกางเกงนอน
ตำแหน่งที่วัดตัว
1) วัดรอบเอวให้พอดีแล้วลบ 10 เซนติเมตร สำหรับคำนวณหายางยืด
2) วัดรอบสะโพก วัดสะโพกล่างเผื่อหลวมได้
3) วัดความยาวของกางเกง จากเอวถึงขา
4) วัดรอบปลายขา

การสร้างแบบแผ่นหน้า
1–2 เท่ากับความยาวกางเกง
1–3 เท่ากับ ของรอบสะโพก + 3 เซนติเมตร
1–6 เท่ากับรอบสะโพก + 3 เซนติเมตร
3–5 เท่ากับ 1-6
3–4 เท่ากับรอบสะโพก + 6 เซนติเมตร
5–0 เท่ากับวัดขึ้น 7–8 เซนติเมตร
2–7 เท่ากับ 1–6 (หรือน้อยกว่าได้เล็กน้อยในกรณีที่ต้องการปลายแคบ)

การสร้างแผ่นหลัง โดยสร้างต่อจากแผ่นหน้า (ดูตามเส้นประ)
6–8 เท่ากับ 3 เซนติเมตร
8–9 เท่ากับ 3 เซนติเมตร
4–10 เท่ากับ 3.5 เซนติเมตร
7–11 เท่ากับ 3.5 เซนติเมตร
โค้งตามเส้นประจากจุด 1–9 และ 10–11

*หมายเหตุ เส้นดำ คือ แผ่นหน้า เส้นประ คือ แผ่นหลัง

การเผื่อตะเข็บเย็บ
เอวเผื่อ 1.5 เซนติเมตร
เป้าและใต้ท้องขาเผื่อ 1.5 เซนติเมตร
ตะเข็บข้าง 2 เซนติเมตร
ชายกางเกงเผื่อ 3.5 เซนติเมตร
หมายเหตุ แผ่นหลังเผื่อตะเข็บเย็บเช่นเดียวกับแผ่นหน้า

การคำนวณผ้า
ความยาวกางเกง + เผื่อตะเข็บเย็บ x 2 (ใช้ผ้าหน้า 36-46 นิ้ว)
ความยาวกางเกง + เผื่อตะเข็บเย็บ x 2 (ใช้ผ้าหน้า 60 นิ้ว)

การวางผ้า

ขั้นตอนการเย็บกางเกงนอน
1) เย็บกันยืดที่เส้นเอวทั้งแผ่นหน้าและแผ่นหลัง
2) นำแผ่นหน้าและแผ่นหลังชิ้นที่ 1 มาประกบกันแล้วเย็บตะเข็บข้าง เย็บตะเข็บใต้ท้องขา จะได้ขากางเกง 1 ข้าง
3) นำแผ่นหน้าและแผ่นหลังชิ้นที่ 2 มาเย็บเช่นเดียวกับข้อ 2) จะได้ขากางเกงข้างที่ 2 และให้โพล้งกันลุ่ยตะเข็บคู่ทั้งตะเข็บข้างและตะเข็บใต้ท้องขา
4) นำขากางเกงที่ได้ทั้ง 2 ข้างมาเย็บตรงเป้ากางเกงเข้าด้วยกัน โดยเดินจักร 2 เส้น จะได้ทนทาน
5) โพล้งเป้ากางเกงเป็นตะเข็บคู่เพื่อกันลุ่ย
6) กลับขากางเกงออกด้านนอก พับขอบลงมา 2 เซนติเมตร เว้นไว้ 1.5 เซนติเมตร เพื่อใส่ยางยืด
7) ใส่ยางยืด โดยใช้ยางยืดที่ยางน้อยกว่ารอบเอว 10 เซนติเมตร
8) รีดให้เรียบแล้วตรวจดูความเรียบร้อย

4. การประเมินผลการทำงาน ถ้าพบว่ายางยืดที่ขอบกางเกงแน่นหรือหลวมไป ควรเลาะออก วัดขนาดให้พอดีแล้วเย็บใหม่ ควรประเมินผลการปฏิบัติงานโดยภาพรวม หากพบรายการที่ไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอน ก็บันทึกไว้เพื่อนำไปแก้ไขในการทำงานครั้งต่อไป

การดัดแปลงเสื้อผ้า
วิธีการดัดแปลงเสื้อผ้า
แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. เสื้อผ้าที่ยังมีสภาพดี ต้องการดัดแปลงเพื่อหนีความจำเจ หรือเพื่อให้ทันสมัย
2. เสื้อผ้าที่มีรอยชำรุด จำเป็นต้องนำมาดัดแปลงเพื่อแก้ไขหรือหลีกเลี่ยงสภาพที่ชำรุด

ขั้นตอนการดัดแปลงเสื้อผ้า
1. ออกแบบเสื้อ กางเกง หรือกระโปรงตัวใหม่ก่อนโดยยึดหลักความคงทน และประโยน์ใช้สอย
2. เลือกวิธีการดัดแปลงแก้ไขบางส่วนที่เหมาะสมกับเสื้อผ้า
3. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่จะใช้ในการตัดเย็บและดัดแปลงเสื้อผ้าให้พร้อม
4. ลงมือดัดแปลงตามแบบ
5. ตกแต่งเสื้อผ้าที่ดัดแปลงให้เรียบร้อยสวยงาม

วิธีดัดแปลงเสื้อผ้า
1. การตัดให้สั้น
1) เสื้อแขนยาวทำเป็นเสื้อแขนสั้น โดยการตัดแขนทั้งสองข้างให้เท่ากัน แล้วเย็บตะเข็บด้วยจักรเย็บผ้าหรือเย็บมือให้มั่นคงแข็งแรงสวยงาม





2) กระโปรงยาวตัดชายให้สั้น โดยตัดชายให้สั้นตามต้องการ แล้วสอยชายให้เรียบร้อย



3) กางเกงขายาวทำเป็นกางเกงขาสั้น นำมาตัดขาแล้วเย็บปลายขาให้เป็นกางเกงขาสั้น



2. การต่อให้ยาว ใช้ดัดแปลงกระโปรง โดยนำมาตกแต่งด้วยลูกไม้ หรือจีบระบายที่ชายกระโปรง



3. การเปลี่ยนสัดส่วน เสื้อผู้ใหญ่นำมาเปลี่ยนสัดส่วนดัดแปลงเป็นเสื้อเด็ก โดยออกแบบตัดเย็บหลบเลี่ยงรอยขาด หรือรอยต่อตะเข็บของเสื้อตัวเดิม



4. การแก้ไขบางส่วน เช่น เสื้อปกขาดแก้เป็นเสื้อคอกลม แขนเสื้อขาดแก้เป็นไม่มีแขน มีวิธีดังนี้
1) เลาะปกเก่าออก แล้วรีดตะเข็บตัวเสื้อตรงรอยเลาะให้เรียบ
2) เย็บโดยพับสอย หรืออาจใช้ผ้ากุ๊นรอบคอเสื้อเพื่อให้สวยงามยิ่งขึ้น



5. การตกแต่งเพิ่มเติม โดยนำมาติดโบ ติดลูกไม้ หรือปักลวดลายต่าง ๆ



6. การเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอย เสื้อผ้าที่ใส่มานานแล้ว แต่เนื้อผ้ายังดี สามารถนำมาดัดแปลงได้
1) เสื้อชุดเก่าเปลี่ยนเป็นผ้ากันเปื้อน โดยตัดแบบผ้ากันเปื้อนวางบนตัวเสื้อด้านหน้า แล้วตัดตามแบบ นำมาเย็บริม ผ้าคล้องคอ ผ้าผูกเอวตัดจากเสื้อด้านหลัง นำมาเย็บติดกัน และกุ๊นด้วยผ้าสีสวย ๆ



2) ผ้าเช็ดตัวเปลี่ยนเป็นผ้าจับหูกระทะ ผ้าเช็ดตัวที่มีรอยขาดนำมาตัดตามแบบ 4 ชิ้น นำ 2 ชิ้นประกบกันเย็บริมโดยรอบแล้วกุ๊นด้วยผ้าสีสวย ๆ อาจตกแต่งเพิ่มเติมหรือเย็บหูสำหรับแขวนด้วยก็ได้




แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th/

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

COVID-19 โควิด19


ที่มา : https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/question-and-answers-hub/q-a-detail/coronavirus-disease-covid-19#:~:text=symptoms (องค์การอนามัยโลก)

ที่มา : https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php (กรมควบคุมโรค) 

 

COVID-19 คืออะไร?

          COVID-19 เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่เรียกว่า SARS-CoV-2 WHO ทราบครั้งแรกเกี่ยวกับไวรัสชนิดใหม่นี้เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2019 หลังจากรายงานกลุ่มผู้ป่วย 'โรคปอดบวมจากไวรัส' ในหวู่ฮั่นสาธารณรัฐประชาชนจีน

 

อาการของ COVID-19 เป็นอย่างไร

          อาการที่พบบ่อยที่สุดของ COVID-19 คือ

ไข้

ไอแห้ง

ความเหนื่อยล้า

อาการอื่น ๆ ที่พบได้น้อยและอาจส่งผลต่อผู้ป่วยบางราย ได้แก่ :

การสูญเสียรสชาติหรือกลิ่น

คัดจมูก,

เยื่อบุตาอักเสบ (หรือที่เรียกว่าตาแดง)

เจ็บคอ,

ปวดหัว

ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ

ผื่นผิวหนังประเภทต่างๆ

คลื่นไส้หรืออาเจียน

ท้องร่วง

หนาวสั่นหรือเวียนศีรษะ

 

อาการของโรคโควิด -19 ขั้นรุนแรง ได้แก่ :

หายใจถี่,

เบื่ออาหาร

ความสับสน

อาการปวดหรือแรงกดที่หน้าอกอย่างต่อเนื่อง

อุณหภูมิสูง (สูงกว่า 38 ° C)

อาการอื่น ๆ ที่พบได้น้อย ได้แก่ :

ความหงุดหงิด

ความสับสน

ความรู้สึกตัวลดลง (บางครั้งเกี่ยวข้องกับอาการชัก)

ความวิตกกังวล

อาการซึมเศร้า

ความผิดปกติของการนอนหลับ

          ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทที่รุนแรงและหายากมากขึ้นเช่นโรคหลอดเลือดสมองการอักเสบของสมองอาการเพ้อและความเสียหายของเส้นประสาท

          คนทุกวัยที่มีไข้และ / หรือไอที่เกี่ยวข้องกับการหายใจลำบากหรือหายใจถี่เจ็บหน้าอกหรือความดันหรือสูญเสียการพูดหรือการเคลื่อนไหวควรรีบไปพบแพทย์ทันที ถ้าเป็นไปได้ให้โทรติดต่อผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพสายด่วนหรือสถานพยาบาลของคุณก่อนเพื่อให้คุณไปยังคลินิกที่ถูกต้องได้

 

จะเกิดอะไรขึ้นกับผู้ที่ได้รับ COVID-19?

ในบรรดาผู้ที่มีอาการส่วนใหญ่ (ประมาณ 80%) หายจากโรคโดยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ประมาณ 15% ป่วยหนักและต้องการออกซิเจนและ 5% ป่วยหนักและต้องการการดูแลอย่างเข้มข้น

ภาวะแทรกซ้อนที่นำไปสู่การเสียชีวิตอาจรวมถึงการหายใจล้มเหลวโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน (ARDS) ภาวะติดเชื้อและภาวะช็อกจากการติดเชื้อภาวะลิ่มเลือดอุดตันและ / หรือความล้มเหลวของหลายคนรวมถึงการบาดเจ็บที่หัวใจตับหรือไต

          ในสถานการณ์ที่หายากเด็ก ๆ อาจเกิดอาการอักเสบอย่างรุนแรงได้ภายในไม่กี่สัปดาห์หลังการติดเชื้อ 

 

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยรุนแรงจาก COVID-19?

          ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและผู้ที่มีปัญหาทางการแพทย์เช่นความดันโลหิตสูงปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและปอดโรคเบาหวานโรคอ้วนหรือมะเร็งมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคร้ายแรง 

อย่างไรก็ตามทุกคนสามารถป่วยด้วย COVID-19 และป่วยหนักหรือเสียชีวิตได้ทุกอายุ 

 

COVID-19 มีผลระยะยาวหรือไม่?

          บางคนที่เคยติดเชื้อ COVID-19 ไม่ว่าจะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือไม่ก็ยังคงมีอาการเช่นอ่อนเพลียระบบทางเดินหายใจและระบบประสาท

          WHO กำลังทำงานร่วมกับ Global Technical Network for Clinical Management of COVID-19 นักวิจัยและกลุ่มผู้ป่วยทั่วโลกเพื่อออกแบบและดำเนินการศึกษาผู้ป่วยที่อยู่นอกเหนือระยะการเจ็บป่วยเฉียบพลันเบื้องต้นเพื่อทำความเข้าใจสัดส่วนของผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบระยะยาว พวกเขายังคงมีอยู่นานแค่ไหนและทำไมจึงเกิดขึ้น การศึกษาเหล่านี้จะถูกนำไปใช้เพื่อพัฒนาคำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการดูแลผู้ป่วย  

 

เราจะป้องกันผู้อื่นและตัวเราได้อย่างไรหากไม่รู้ว่าใครติดเชื้อ?

          รักษาความปลอดภัยโดยปฏิบัติตามข้อควรระวังง่ายๆเช่นการห่างเหินร่างกายการสวมหน้ากากอนามัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไม่สามารถรักษาระยะห่างได้ควรทำให้ห้องมีอากาศถ่ายเทได้สะดวกหลีกเลี่ยงฝูงชนและการสัมผัสใกล้ชิดทำความสะอาดมือเป็นประจำและไอเป็นข้อศอกหรือเนื้อเยื่อ ตรวจสอบคำแนะนำในท้องถิ่นที่คุณอาศัยและทำงาน ทำเต็มที่!

 

ควรเข้ารับการตรวจ COVID-19 เมื่อใด

          ทุกคนที่มีอาการควรได้รับการทดสอบทุกที่ที่เป็นไปได้ ผู้ที่ไม่มีอาการ แต่เคยสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นหรืออาจติดเชื้ออาจพิจารณาการทดสอบ - ติดต่อหลักเกณฑ์ด้านสุขภาพในพื้นที่ของคุณและปฏิบัติตามคำแนะนำของพวกเขา  

          ในขณะที่บุคคลกำลังรอผลการทดสอบพวกเขาควรแยกตัวจากผู้อื่น ในกรณีที่ความสามารถในการทดสอบมี จำกัด ควรทำการทดสอบก่อนสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเช่นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเจ็บป่วยรุนแรงเช่นผู้สูงอายุโดยเฉพาะ ผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านพักคนชราหรือสถานดูแลระยะยาว .

 

ฉันควรได้รับการทดสอบอะไรบ้างเพื่อดูว่าฉันมี COVID-19 หรือไม่?

          ในสถานการณ์ส่วนใหญ่การทดสอบระดับโมเลกุลจะใช้เพื่อตรวจหา SARS-CoV-2 และยืนยันการติดเชื้อ ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส (PCR) เป็นการทดสอบระดับโมเลกุลที่ใช้กันมากที่สุด เก็บตัวอย่างจากจมูกและ / หรือลำคอด้วยไม้กวาด การทดสอบระดับโมเลกุลจะตรวจจับไวรัสในตัวอย่างโดยการขยายสารพันธุกรรมของไวรัสให้อยู่ในระดับที่ตรวจพบได้ ด้วยเหตุนี้การทดสอบระดับโมเลกุลจึงใช้เพื่อยืนยันการติดเชื้อที่ใช้งานอยู่โดยปกติจะใช้เวลาไม่กี่วันหลังจากได้รับสารและในช่วงเวลาที่อาจเริ่มมีอาการ 

 

แล้วการทดสอบอย่างรวดเร็วล่ะ?

          การทดสอบแอนติเจนอย่างรวดเร็ว (บางครั้งเรียกว่าการทดสอบวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว - RDT) ตรวจพบโปรตีนของไวรัส (เรียกว่าแอนติเจน) เก็บตัวอย่างจากจมูกและ / หรือลำคอด้วยไม้กวาด การทดสอบเหล่านี้มีราคาถูกกว่า PCR และจะให้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วกว่าแม้ว่าโดยทั่วไปจะมีความแม่นยำน้อยกว่าก็ตาม การทดสอบเหล่านี้จะทำงานได้ดีที่สุดเมื่อมีไวรัสแพร่กระจายในชุมชนมากขึ้นและเมื่อสุ่มตัวอย่างจากบุคคลในช่วงเวลาที่มีการแพร่เชื้อมากที่สุด 

          ฉันต้องการทราบว่าในอดีตเคยเป็น COVID-19 หรือไม่ฉันสามารถทำการทดสอบอะไร        ได้บ้าง

          การทดสอบแอนติบอดีสามารถบอกเราได้ว่ามีใครเคยติดเชื้อมาก่อนหรือไม่แม้ว่าจะไม่มีอาการก็ตาม หรือที่เรียกว่าการทดสอบทางเซรุ่มวิทยาและมักจะทำกับตัวอย่างเลือดการทดสอบเหล่านี้จะตรวจหาแอนติบอดีที่ผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการติดเชื้อ ในคนส่วนใหญ่แอนติบอดีจะเริ่มพัฒนาหลังจากผ่านไปหลายวันเป็นสัปดาห์และสามารถบ่งชี้ได้ว่าบุคคลนั้นเคยติดเชื้อมาแล้วหรือไม่ การทดสอบแอนติบอดีไม่สามารถใช้เพื่อวินิจฉัย COVID-19 ในระยะแรกของการติดเชื้อหรือโรคได้ แต่สามารถบ่งชี้ได้ว่ามีใครเคยเป็นโรคนี้มาก่อนหรือไม่

 

อะไรคือความแตกต่างระหว่างการแยกและการกักกัน?

          ทั้งการแยกและการกักกันเป็นวิธีการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด -19

          การกักกันใช้สำหรับทุกคนที่สัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสซาร์ส - โควี -2 ซึ่งเป็นสาเหตุของโควิด -19 ไม่ว่าผู้ติดเชื้อจะมีอาการหรือไม่ก็ตาม การกักกันหมายความว่าคุณยังคงแยกตัวออกจากผู้อื่นเนื่องจากคุณได้สัมผัสกับไวรัสและคุณอาจติดเชื้อและสามารถเกิดขึ้นในสถานที่ที่กำหนดหรือที่บ้าน สำหรับ COVID-19 หมายถึงการอยู่ในสถานบริการหรือที่บ้านเป็นเวลา 14 วัน

          การแยกเชื้อใช้สำหรับผู้ที่มีอาการ COVID-19 หรือผู้ที่ตรวจพบไวรัสในเชิงบวก การอยู่อย่างโดดเดี่ยวหมายถึงการถูกแยกออกจากคนอื่นควรอยู่ในสถานพยาบาลที่คุณสามารถรับการดูแลทางคลินิก หากไม่สามารถแยกตัวในสถานพยาบาลได้และคุณไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรครุนแรงคุณสามารถแยกตัวที่บ้านได้ หากคุณมีอาการคุณควรแยกตัวเป็นเวลาอย่างน้อย 10 วันบวกอีก 3 วันโดยไม่มีอาการ หากคุณติดเชื้อและไม่มีอาการคุณควรอยู่แยกกันเป็นเวลา 10 วันนับจากเวลาที่คุณทดสอบในเชิงบวก 

 

ฉันควรทำอย่างไรหากได้สัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อ COVID-19

          หากคุณเคยสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อ COVID-19 คุณอาจติดเชื้อได้แม้ว่าคุณจะรู้สึกสบายดีก็ตาม

หลังจากสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อ COVID-19 ให้ปฏิบัติดังนี้:

โทรหาผู้ให้บริการดูแลสุขภาพของคุณหรือสายด่วน COVID-19 เพื่อดูว่าจะเข้ารับ

การตรวจได้ที่ไหนและเมื่อใด

ร่วมมือกับขั้นตอนการติดตามการติดต่อเพื่อหยุดการแพร่กระจายของไวรัส

หากไม่มีการทดสอบให้อยู่บ้านและห่างจากผู้อื่นเป็นเวลา 14 วัน

ในขณะที่คุณอยู่ในเขตกักบริเวณอย่าไปทำงานไปโรงเรียนหรือที่สาธารณะ 

ขอให้ใครนำเสบียงมาให้คุณ

เว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตรแม้กระทั่งจากสมาชิกในครอบครัวของคุณ

สวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันผู้อื่นรวมทั้งหาก / เมื่อคุณต้องการไปพบแพทย์

ทำความสะอาดมือบ่อยๆ

อยู่ในห้องแยกต่างหากจากสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวและหากเป็นไปไม่ได้ให้สวมหน้ากากอนามัย

จัดห้องให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก

หากคุณใช้ห้องร่วมกันให้วางเตียงห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร

ติดตามอาการของตัวเองเป็นเวลา 14 วัน 

อยู่ในเชิงบวกโดยการรักษาในการติดต่อกับคนที่คุณรักผ่านทางโทรศัพท์หรือทางออนไลน์และการออกกำลังกายที่บ้าน

หากคุณอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีไข้มาลาเรียหรือไข้เลือดออกให้ขอความช่วยเหลือจากแพทย์หากคุณมีไข้ ขณะเดินทางไปและกลับจากสถานพยาบาลและในระหว่างการดูแลทางการแพทย์ให้สวมหน้ากากอนามัยรักษาระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตรและหลีกเลี่ยงการสัมผัสพื้นผิวด้วยมือของคุณ สิ่งนี้ใช้ได้กับผู้ใหญ่และเด็ก อ่านคำถามและคำตอบเกี่ยวกับโรคมาลาเรียและโควิด -19ของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม 

 

ใช้เวลานานแค่ไหนในการเกิดอาการ?

ระยะเวลาจากการสัมผัสเชื้อ COVID-19 ถึงช่วงที่เริ่มมีอาการโดยเฉลี่ย 5-6 วันและอาจอยู่ในช่วง 1-14 วัน นี่คือเหตุผลที่แนะนำให้ผู้ที่สัมผัสกับไวรัสอยู่บ้านและอยู่ห่างจากผู้อื่นเป็นเวลา 14 วันเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ไม่สามารถทำการทดสอบได้

 

มีวัคซีนป้องกัน COVID-19 หรือไม่?

ใช่. มีวัคซีนป้องกัน COVID-19 3 ชนิดที่หน่วยงานกำกับดูแลของประเทศบางแห่งอนุญาตให้ใช้ ยังไม่ได้รับการอนุญาตจาก WHO EUL / PQ แต่เราคาดว่าจะมีการประเมินวัคซีนไฟเซอร์ภายในสิ้นเดือนธันวาคมและสำหรับผู้สมัครรายอื่น ๆ หลังจากนั้นไม่นาน 

การศึกษาจำนวนมากเกี่ยวกับประสิทธิภาพและผลลัพธ์ด้านความปลอดภัยของผู้ได้รับวัคซีน 5 รายซึ่งรวมถึงทั้งสามคนนี้ (และสำหรับ Moderna และ AstraZeneca) ได้รับการรายงานต่อสาธารณะผ่านข่าวประชาสัมพันธ์ แต่มีเพียงรายเดียว (AstraZeneca) ที่เผยแพร่ผลการวิจัยในวรรณกรรมที่ได้รับการทบทวนโดยเพื่อน เราคาดว่าจะมีรายงานดังกล่าวเพิ่มเติมในอนาคตอันใกล้นี้ มีแนวโน้มว่าผู้สมัครเพิ่มเติมจะถูกส่งไปยังหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อขออนุมัติมีจำนวนมากที่มีศักยภาพ COVID-19 วัคซีนผู้สมัครในปัจจุบันการพัฒนา

          เมื่อวัคซีนได้รับการพิสูจน์แล้วว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพแล้วจะต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานกำกับดูแลแห่งชาติผลิตตามมาตรฐานที่กำหนดและจัดจำหน่าย WHO กำลังทำงานร่วมกับพันธมิตรทั่วโลกเพื่อช่วยประสานงานขั้นตอนสำคัญในกระบวนการนี้รวมถึงเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงวัคซีน COVID-19 ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสำหรับผู้คนหลายพันล้านที่ต้องการ 

 

หากมีอาการ COVID-19 ควรทำอย่างไร?

          หากคุณมีอาการที่บ่งบอกถึง COVID-19 โปรดติดต่อผู้ให้บริการดูแลสุขภาพของคุณหรือสายด่วน COVID-19 เพื่อขอคำแนะนำและดูว่าจะได้รับการทดสอบเมื่อใดและที่ไหนโปรดอยู่บ้านให้ห่างจากผู้อื่น 14 วันและติดตามสุขภาพของคุณ

          หากคุณมีอาการหายใจถี่หรือเจ็บหรือกดหน้าอกให้รีบไปพบแพทย์ที่สถานพยาบาลทันที โทรติดต่อผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพหรือสายด่วนของคุณล่วงหน้าเพื่อขอเส้นทางไปยังสถานพยาบาลที่เหมาะสม

          หากคุณอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีไข้มาลาเรียหรือไข้เลือดออกให้รีบไปพบแพทย์หากคุณมีไข้

หากคำแนะนำในพื้นที่แนะนำให้ไปที่ศูนย์การแพทย์เพื่อทำการทดสอบประเมินหรือแยกโรคให้สวมหน้ากากอนามัยขณะเดินทางไปและกลับจากสถานพยาบาลและในระหว่างการดูแลทางการแพทย์ นอกจากนี้ควรเว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตรและหลีกเลี่ยงการสัมผัสพื้นผิวด้วยมือของคุณ สิ่งนี้ใช้ได้กับผู้ใหญ่และเด็ก

 

มีการรักษา COVID-19 หรือไม่?

          นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังค้นหาและพัฒนาการรักษาสำหรับ COVID-19

การดูแลแบบประคับประคองที่เหมาะสม ได้แก่ ออกซิเจนสำหรับผู้ป่วยหนักและผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรครุนแรงและการช่วยหายใจขั้นสูงเช่นการช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก

Dexamethasone เป็น corticosteroid ที่สามารถช่วยลดระยะเวลาในการใช้เครื่องช่วยหายใจและช่วยชีวิตผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและวิกฤต อ่านคำถามและคำตอบ dexamethasone ของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม  

          ผลจากการทดลองความเป็นปึกแผ่นขององค์การอนามัยโลกชี้ให้เห็นว่ายา remdesivir, hydroxychloroquine, lopinavir / ritonavir และ interferon มีผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยต่ออัตราการเสียชีวิต 28 วันหรือการติดเชื้อ COVID-19 ในโรงพยาบาลในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

          ไม่พบว่า Hydroxychloroquine มีประโยชน์ในการรักษา COVID-19 อ่านคำถามและคำตอบเกี่ยวกับhydroxychloroquineของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

WHO ไม่แนะนำให้ใช้ยาตัวเองร่วมกับยาใด ๆ รวมทั้งยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันหรือรักษา COVID-19 WHO กำลังประสานงานความพยายามในการพัฒนาการรักษาสำหรับ COVID-19 และจะให้ข้อมูลใหม่ต่อไปเมื่อพร้อมใช้งาน

 

ยาปฏิชีวนะมีประสิทธิภาพในการป้องกันหรือรักษา COVID-19 หรือไม่?

          ยาปฏิชีวนะไม่ได้ผลกับไวรัส ใช้เฉพาะกับการติดเชื้อแบคทีเรีย COVID-19 เกิดจากเชื้อไวรัสยาปฏิชีวนะจึงไม่ได้ผล ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันหรือรักษา COVID-19

ในโรงพยาบาลแพทย์บางครั้งจะใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันหรือรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียทุติยภูมิซึ่งอาจเป็นภาวะแทรกซ้อนของโควิด -19 ในผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น

 


วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ฮีต12คอง14 : บุญผะเหวด (บุญเดือน 4)

 เดือนสี่ บุญผะเหวด

"บุญผะเหวด" 
     เป็นสําเนียงชาวอีสานที่มาจากคําว่า "บุญพระเวส" หรือพระเวสสันดร เป็นประเพณีตามคติความเชื่อของชาวอีสานที่ว่า หากผู้ใดได้ฟังเทศน์เรื่องพระเวสสันดรทั้ง 13 กัณฑ์จบภายในวันเดียว จะได้เกิดร่วมชาติภพกับพระศรีอริยเมตไตย บุญผะเหวดนี้จะทําติดต่อกันสามวัน 

วันแรก จัดเตรียมสถานที่ตกแต่งศาลาการเปรียญ 


วันที่สอง เป็นวันเฉลิมฉลองพระเวสสันดร ชาวบ้านรวมทั้งพระภิกษุสงฆ์จากหมู่บ้านใกล้เคียงจะมาร่วมพิธี มีทั้งการจัดขบวนแห่เครื่องไทยทานฟังเทศน์และแห่พระเวสโดยการแห่ผ้าผะเหวด (ผ้าผืนยาวเขียนภาพเล่าเรื่องพระเวสสันดร) ซึ่งสมมติเป็นการแห่พระเวสสันดรเข้าสู่เมือง เมื่อถึงเวลาค่ำจะมีเทศน์เรื่องพระมาลัย 


ส่วนวันที่สามเป็นงานบุญพิธี ชาวบ้านจะร่วมกันตักบาตรข้าวพันก้อน พิธีจะมีไปจนค่ำ ชาวบ้านจะแห่แหน ฟ้อนรําตั้งขบวนเรียงรายตั้งกัณฑ์มาถวายอานิสงฆ์อีกกัณฑ์หนึ่ง จึงเสร็จพิธี

มูลเหตุของพิธีกรรม
     พระสงฆ์จะเทศน์เรื่อง เวสสันดรชาดกจนจบและเทศน์ จากเรื่องในหนังสือมาไลยหมื่นมาไลยแสน กล่าวว่า 
     ครั้งหนึ่งพระมาลัยเถระได้ขึ้นไปไหว้พระธาตุเกษแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และได้พบปะสนทนากับพระศรีอริยเมตไตย ผู้ที่จะมาเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตและ พระศรีอริยเมตไตยได้สั่งความมากับ พระมาลัยว่า "ถ้ามนุษย์อยากจะพบและร่วมเกิดในศาสนาของพระองค์แล้วจะต้องปฏิบัติตนดังต่อไปนี้คือ"

     1. จงอย่าฆ่าพ่อตีแม่ สมณพราหมณ์

     2. จงอย่าทําร้ายพระพุทธเจ้า และยุยงให้สงฆ์แตกแยกกัน

     3. ให้ตั้งใจฟังเทศน์เรื่อง พระเวสสันดรให้จบในวันเดียวด้วยเหตุ ที่ชาวอีสานต้องการจะได้พบพระศรีอริยเมตไตยและเกิดร่วมศาสนาของพระองค์จึง มีการทําบุญผะเหวด ซึ่งเป็นประจําทุกปี

พิธีกรรม - การเตรียมงาน

     1. แบ่งหนังสือ นําหนังสือลําผะเหวดหรือลํามหาชาติ (หนังสือเรื่องพระเวสสันดรชาดก) ซึ่งมีจํานวน 13 กัณฑ์ (หรือ 13 ผูกใหญ่) แบ่ง เป็นผูกเล็กๆ เท่ากับจํานวนพระเณรที่จะนิมนต์มาเทศน์ในคราวนั้นๆ

     2. การใส่หนังสือ นําหนังสือผูกเล็กที่แบ่งออก จากกัณฑ์ต่างๆ 13 กัณฑ์ไปนิมนต์พระเณรทั้งวัดในหมู่บ้านตนเองและจากวัด ในหมู่บ้าน อื่นที่อยู่ใกล้เคียงให้มาเทศน์ โดยจะมีใบฎีกาบอกรายละเอียดวันเวลาเทศน์ ตลอดจนบอกเจ้าศรัทธา ผู้ที่จะเป็นเจ้าของกัณฑ์นั้นๆ ไว้ด้วย

     3. การจัดแบ่งเจ้าศรัทธา เพื่อพระเณรท่านเทศน์จบในแต่ละกัณฑ์ผู้เป็นเจ้าศรัทธาก็จะนําเครื่อง ปัจจัยไทยทานไปถวายตาม กัณฑ์ที่ตนเองรับผิดชอบ ชาวบ้านจะจัดแบ่งกันออกเป็นหมู่ๆ เพื่อรับเป็นเจ้าศรัทธากัณฑ์เทศร่วมกัน โดยจะต้องจัดหาที่พักข้าวปลา อาหารไว้คอยเลี้ยงต้อนรับญาติโยมที่ติดตามพระเณร จากหมู่บ้านอื่นเพื่อมาเทศน์ผะเหวดครั้งนี้ด้วย

     4. การเตรียมสถานที่พัก พวกชาวบ้านจะพากันทําความสะอาดบริเวณวัดแล้วช่วยกัน "ปลูกผาม" หรือปะรําไว้รอบๆ บริเวณวัด เพื่อใช้ เป็นที่ต้องรับพระเณรและญาติโยมผู้ติดตามพระเณรจากหมู่บ้านอื่น ให้เป็นที่พักแรมและที่เลี้ยงข้าวปลาอาหาร

     5. การจัดเครื่องกิริยาบูชาหรือเครื่องครุพัน ในการทําบุญผะเหวดนั้นชาวบ้านต้องเตรียม "เครื่องฮ้อยเครื่องพัน" หรือ "เครื่องบูชา คาถาพัน" ประกอบด้วยธูปหนึ่งพันดอก เทียนหนึ่งพันเล่มดอกบัวโป่ง (บัวหลวง) ดอกบัวแป้ (บัวผัน) ดอกบัวทอง (บัวสาย) ดอกผัก ตบและดอกก้างของ (ดอกปีบ) อย่างละหนึ่งพันดอก เมี่ยง หมากอย่างละหนึ่งพันคํา มวนยาดูดหนึ่งพันมวน ข้าวตอกใสกระทงหนึ่ง พันกระทง ธุงกระดาษ (ธงกระดาษ) หนึ่งพันธง



     6. การจัดเตรียม สถานที่ที่จะเอาบุญผะเหวด
          6.1 บนศาลาโรงธรรม ตั้งธรรมมาสน์ไว้กลางศาลาโดยรอบนั้นจัดตั้ง "ธุงไซ" (ธงชัย) ไว้ ทั้งแปดทิศ และจุดที่ตั้ง "ธุงไซ" แต่ละต้นจะต้อง มี "เสดถะสัต" (เศวตฉัตร) "ผ่านตาเว็น" (บังสูรย์) และตะกร้าหนึ่งใบสําหรับใส่ข้าวพันก้อนพร้อมทั้ง "บั้งดอกไม้" สําหรับใส่ดอกไม้แห่ง ซึ่งส่วนมากทําจาก ต้นโสนและใส้ "ธุงหัวคีบ" นอกจากนี้ที่บั้งดอกไม้ยังปีกนกปีกปลาซึ่งสานจากใบมะพร้าวหรือใบตาลไว้อีกจํานวน หนึ่งและตั้งโอ่งน้ำไว้ โอ่ง รอบธรรมาสน์ซึ่งสมมติเป็นสระ สระ ในหม้อน้ำใส่จอกแหน (แหนคือสาหร่าย) กุ้ง เหนี่ยว ปลา ปู หอย ปลูกต้นบัวในบ่อให้ใบบัวและดอกบัวลอยยิ่งดีรวมทั้งจะต้องจัดให้มีเครื่องสักการะบูชาคาถาพันและขันหมากเบ็งวางไว้ตามมุมธรรมาสน์ ณ จุดที่วางหม้อน้ำ ที่สําคัญบนศาลาโรงธรรมต้องตกแต่งให้มีสภาพคล้ายป่า โดยนําเอาต้นอ้อย ต้นกล้วย มามัดตามเสาทุกต้น และขึงด้าย สายสิญจน์รอบศาลา ทําราวไม้ไผ่สูงเหนือศรีษะประมาณหนึ่งศอกเพื่อเอาไว้เสียบดอกไม้แห่งต่าง ๆ นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่ห้อยนก ปลาตะเพียน และใช้เมล็ดแห่งของฝากลิ้นฟ้า (เพกา) ร้อยด้วยเส้นด้ายยาวเป็นสายนําไปแขวนเป็นระยะ ๆ และถ้าหากดอกไม้แห่งอื่นไม้ได้ ก็จะใช้เส้นด้ายชุบแป้งเป็ยกแล้วนําไปคลุกกับเมล็ดข้าวสาร ทําให้เมล็ดข้าวสารติดเส้นด้ายแล้วนําเส้นด้ายเหล่านั้นไปแขวนไว้แทน ด้านทิศตะวันออกของศาลาโรงธรรมต้องปลูก "หออุปคุต" โดยใช้ไม้ไผ่ทําเป็นเสาสี่ ต้นสูงเพียงตา หออุปคุตนี้เป็นสมมติว่าจะเชิญ พระอุปคุตมาประทับ เพื่อปราบมารที่จะมาขัดขวางการทําบุญ ต้องจัดเครื่องใช้ของพระอุปคุตไว้ที่นี้ด้วย

          6.2 บริเวณรอบศาลาโรงธรรมก็ปัก "ธุงไซ" ขนาดใหญ่ ซุง ปักไว้ตามทิศทั้งแปดซึ่งแต่ละ หลักธุงจะปัก "กรวยไม้ไผ่สําหรับใส่ข้าว พันก้อน" "เสดถะสัด" (เศวตฉัตร) "ผ่านตาเว็น" (บังสูรย์) และ "ขันดอกไม้" เช่นเดียวกับบนศาลาโรงธรรม นอกจากนี้ก็ปักธุงช่อไว้ ณ จุดเเดียวกับที่ปัก "ธุงไซ" อีก ด้วยครั้งถึงเวลาประมาณ 14-15 นาฬิกาของมื้อโฮมหรือวันรวม ผู้เฒ่าผู้แก่จะพากันนําเครื่องสักการะ บูชาประกอบด้วยขันห้าขน แปดบาตรจีวร ร่ม กระโถนกาน้ำ และไม้เท้าเหล็กไปเชิญพระอุปคุตซึ่งสมมติว่าท่านอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำอาจ เป็นบึง หนอง แม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ (ที่อยู่ใกล้วัด) เมื่อไปถึงผู้เป็นประธานจะตั้งนะโมขึ้น จบ กล่าว "สัคเค" เชิญเทวดามาเป็นพยาน แล้วจึงกล่าว

     หลังจากเชิญพระอุปคุตเสร็จแล้วก็ถึงพิธีแห่ผะเหวดเข้าเมืองซึ่งจะเป็นเวลาประมาณ 16.00-17.00 น. ของมื้อโฮมพิธีกรรมก่อนแห่เมื่อถึง เวลาแห่ผู้เป็น ประธานจะนําญาติโยม (ที่มาพร้อมกันในบริเวณชายปาที่ถูกสมมติให้เป็นป่าหิมพานต์) ไหว้พระรับศีลและฟังเท

     การเทศน์ ณ จุดนี้เป็นการเทศน์จบแล้วก็จะลั่นฆ้อง จัดขบวนแห่ผะเหวดเข้าเมือง เดินผ่านหมู่บ้านเข้าสู่วัด แล้วแห่เวียนขวา รอบศาลา โรงธรรมสามรอบ จากนั้นจึงนําพระพุทธรูปขึ้นตั้งไว้ในศาลาโรงธรรม ญาติโยมที่เก็บดอกไม้มาจากป่า เช่น ดอกพะยอม ดอกจิก (ดอกเต็ง)ดอกฮัง (ดอกรัง) ดอกจาน ฯลฯ ก็จะนําดอกไม้ไปวางไว้ข้างๆ ธรรมาสน์ แล้วขึงผ้าผะเหวดรอบศาลาโรงธรรม หลังจาก แห่ผะเหวดเข้าเมืองแล้วญาติโยมจะพากันกลับบ้านเรือนของตน รับประทานอาหารเย็น พร้อมทั้งเลี้ยงดูญาติพี่น้องที่เดินทางมาร่วมทํา บุญเวลาประมาณหนึ่งทุ่มเศษ ๆ ทางวัดจะตี "กลองโฮม" เป็นสัญญาณบอกให้ ชาวบ้านรู้ว่าถึงเวลา "ลงวัด" ญาติโยมจะพากันมารวมกัน ที่ศาลาโรงธรรมพระภิกษุสงฆ์สวด พระปริตมงคลหลังจากสวดมนต์จบก็จะ "เทศน์มาไลย หมื่นมาไลยแสน" หลังจากฟังเทศน์จบก็จัดให้ มีมหรสพ เช่น หมอลํา ภาพยนต์ให้ชมจนถึงสว่างเวลาประมาณ 04.00 น. ของวันบุญผะเหวด ญาติโยมจะ นําข้าวเหนียวก้อนเล็ก ๆ ขนาด เท่าหัวแม่มือจํานวนหนึ่งพันก้อนซึ่งเท่ากับหนึ่งพระคาถา ในเรื่องราวของพระเวสสันดรชาดก ใส่ถาดออกจากบ้านเรือน แห่จากหมู่บ้าน มาที่ศาลาโรงธรรมเวียน รอบศาลาโรงธรรมสามรอบ แล้วจึงนําข้าวพันก้อนไปใส่ไว้ในกรวยไม้ไผ่ที่หลักธุงไซทั้งแปดทิศและใส่ในตะกร้า ที่วางอยู่บนศาลาตามจุดที่มีธุงไซและเสดถะสัด เมื่อแห่ข้าวพันก้อนเสร็จแล้วก็จะมีเทศน์สังกาศ คือ การเทศน์บอกปีศักราชเมื่อ จบสังกาศจะหยุดพัก ให้ญาติโยมกลับไปบ้านเรือน นําอาหารมาใส่บาตรจังหันหลังจากพระฉันจังหันแล้วก็จะเริ่มเทศน์ผะเหวด โดยเริ่ม จากกัณฑ์ทศพรไปจนถึงนครกัณฑ์รวม สิบสามกัณฑ์ ใช้เวลาตลอดทั้งวันจนถึงค่ํามีความเชื่อกันว่าหากใครฟังเทศน์เรื่องพระเวสสันดร จบผู้นั้นจะได้รับอานิสงส์มากพิธีกรรมขณะฟังเทศน์ ในการ ฟังเทศน์ "บุญผะเหวด" นั้นต้องมีทายกหรือทายิกา คอยปฏิบัติพิธีกรรม ขณะ ฟังเทศน์แต่ละกัณฑ์ โดยจุดธูปเทียน เพื่อบูชากัณฑ์นั้น ๆ ตามจํานวนคาถา ในแต่ละกัณฑ์ นอกจากนั้นต้องหว่านข้าวตอก ดอกไม้ ข้าวสาร และลั่นฆ้องชัย เมื่อเทศน์จบในแต่ละกัณฑ์ โดยผู้ทําหน้าที่ดังกล่าวนี้ต้องนั่งอยู่ประจํา ที่ตลอดเวลาที่เทศน์ ส่วนเครื่องฮ้อยเครื่องพัน หรือเครื่องครุพันนั้นต้องตั้งบูชาไว้ตลอดงาน เมื่อเทศน์จบแล้วบางวัดก็นําเครื่องฮ้อย เครื่องพันใส่ไว้ใน ภาชนะที่สานด้วยดอกไม้ไผ่ มีลักษณะเหมือนกะออม