วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2563

ประวัติเมืองหนองคาย

ประวัติเมืองหนองคาย



ที่ตั้งของจังหวัดหนองคาย 
     คือบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางซึ่งเรียกรวมกับที่ตั้งของนครเวียงจันทน์ เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี มีความสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งด้านทรัพยากรทางน้ำและทางบก มีเขตที่ราบกว้างใหญ่สามารถทำการเพาะปลูกได้ดี มีต้นน้ำลำธารหลายสายและไหลลงเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำโขง เช่น แม่น้ำเหือง แม่โมง น้ำสวย ห้วยหลวง เป็นต้น

      การสำรวจตามโครงการสำรวจแหล่งถลุงแร่ทองแดง ดีบุกสมัยโบราณ บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง (เขตจังหวัดหนองคาย เลย หนองบัวลำภู อุดรธานีครั้งล่าสุดพบว่ามีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะพื้นที่แถบหนองคาย รวมทั้งจังหวัดเลย เป็นพื้นที่ที่อุดมไปด้วยแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ และมีเส้นทางคมนาคมอันเป็นเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงชุมชนแห่งนี้ คือแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมสำคัญของโลกแห่งหนึ่ง

      รศ.ดรศรีศักร วัลลิโภดม อดีตอาจารย์แห่งภาควิชามานุษวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้กล่าวไว้ในหนังสือแอ่งอารยธรรมอีสาน ซึ่งเป็นผลงานการสำรวจวิจัยที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่า พื้นที่ภาคอีสานนั้นมีแอ่งอารยธรรมสำคัญดึกดำบรรพ์ คือแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร ซึ่งมีหนองหารเป็นศูนย์กลาง พัฒนาขึ้นจากยุคหินใหม่เป็นเขตที่สั่งสมวัฒนธรรมจนเป็นบ้านเมืองเวียง (นครจนเป็นอาณาจักรใหญ่โต บ้านเชียงซึ่งมีการขุดค้นโบราณวัตถุอย่างสมบูรณ์ จึงทำให้สรุปว่า หนองคาย-เวียงจันทน์ พัฒนาจากแอ่งสกลนคร แล้วเจริญเติบโตกลืนทั้งสองฝั่งโขง แต่อย่างไรก็ดี สำหรับพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงบริเวณหนองคาย-เวียงจันทน์นั้นน่าจะสำรวจวิจัยได้อีกต่างหากห่างจากแอ่งสกลนคร และน่าจะเรียกได้ว่าเป็น “แอ่งอารยธรรมที่ 3” โดยมีเหตุผลและหลักฐานที่สนับสนุนกันดังต่อไปนี้ คือ


บุ่งทาม ซึ่งมีความหมายว่า “แอ่ง” ในภาคกลาง คล้ายบางมาบที่ทางภาคกลางเรียกเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์แก่การเกษตรกรรม ประมง ดำรงชีพ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์หากจะถือแม่น้ำโขงเป็นศูนย์กลาง โดยมีเทือกเขาภูพานและภูพระบาทเป็นขอบแอ่งลาดลงมาถึงที่ราบลุ่มเป็นแม่น้ำโขง และภูเขาควายฝั่งลาวก็เช่นกัน มีห้วยที่มีกำเนิดจากเทือกเขาเหล่านี้แล้วไหลลงแม่น้ำโขงมากหลายสาย เช่น ห้วยโมง ห้วยชม ห้วยสาย (ซวยห้วยหลวง หัวยงึม เป็นต้น บริเวณนี้จึงเป็นบุ่งทาม หรือ “แอ่ง” ที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งน่าจะเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ยุคแรก ๆ ของโลก เช่นเดียวกันกับเอ่งสกลนคร และแอ่งโคราช

มุกขปาฐะ ที่เกี่ยวกับบ้านเมืองในบริเวณหนองคาย-เวียงจันทน์ เช่น ตำนานอุรังคธาตุ เรียกดินแดนแถบหนองคาย-เวียงจันทน์ว่า "แคว้นสุวรรณภูมิแยกออกมาจากดินแดนในเขตสกลนคร นครพนม และแขวง คำม่วน ซึ่งเรียกว่า "แคว้นศรีโคตรบูรณ์การวิเคราะห์เรื่องราวและความรู้ที่แทรกอยู่ในมุขปาฐะ น่าจะทำให้สามารถสืบค้นไปได้ถึงความจริงที่ว่า "แคว้นสุวรรณภูมิเป็นเขตสะสมที่เหนือกว่าแคว้นศรีโคตรบูรณ์ เพราะมีแร่มากทั้งทองแดง ทองคำ ตามเทือกเขา จนสามารถขุดแร่หลอมถลุงแร่ใช้และกลืนแคว้นศรีโคตรบูรณ์ได้ ตามประวัติศาสตร์ถึงแคว้นทางด้านใต้พยายามจะบุกเข้าชิงอำนาจเหนือแคว้นเหนือหลายครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จมีแต่แคว้นเหนือพิชิตใต้ได้ตลอด ยกเว้นรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มมหาราชที่นำทหารเขมรบุกอ้อมเข้าน้ำซันขึ้นไปเมืองเชียงขวางก่อน แล้วจึงล่องแม่น้ำงึมเข้าเวียงจันทน์ได้สำเร็จ

      สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการผู้เชี่ยวชาญด้านนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ก็ได้สรุปไว้เมื่อเขียนคำนำเสนอในหนังสือประวัติศาสตร์ลาว ของท่านมหาสิลา วีระวงส์ ดังนี้ "เมืองเวียงจันทน์มีกำเนิดและพัฒนาการขึ้นมาพร้อม ๆ กับบ้านเมืองบริเวณ "แอ่งสกลนครในยุคก่อนที่พวกล้านช้างจะเคลื่อนย้ายลงมา "โดยไม่กล่าวถึงแคว้นสุวรรณภูมิที่น่าจะหมายถึงที่ตั้งของบ้านเมืองเหนือแคว้นศรีโคตรบูรณ์ เพราะเจาะจงให้เวียงจันทน์เป็นศูนย์กลางแคว้นศรีโคตรบูรณ์นั่นเอง ขณะที่ตำนานอุรังคธาตุ กล่าวถึง "เมืองสุวรรภูมิแต่ก่อนช่วงที่มีการอพยพของเจ้านายราชวงศ์พร้อมพลเมืองจำนวนหนึ่งมาจากเมืองร้อยเอ็จประตูเพื่อตั้งหลักแหล่งสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นในบริเวณนี้ โดยยึดพื้นที่ด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำโขง ซึ่งเคยเป็นเมืองสุวรรณภูมิมาแต่ก่อนหน้านั้น "…หมื่นกลางโรงหมื่นนันทอาราม พาครัว ๒๐,๐๐๐ ครัว รักษาเจ้าสังขวิชกุมารมาถึงในเขตเมืองสุวรรณภูมิแต่ก่อน นางน้าเลี้ยงพ่อนมจึงพาเจ้าสังขวิชกุมารออกมาตั้งเมืองอยู่หนอง (คาย)นั้นให้ชื่อว่า "เมืองลาหนอง (คาย)" ตลอดไปถึงปากห้วยบางพวน หมื่นกลางโรงมีครัว ๕๐,๐๐๐ ครัว อพยพออกมาตั้งเป็นเมืองที่ปากห้วยคุกคำมาทางใต้ หมั่นนันทารามมีครัว ๕๐,๐๐๐ ครัว อพยพมาที่ปากห้วยนกยูง หรือปากโมงค์ก็เรียก…" มุกขปาฐะเหล่านี้ชี้จุดภูมิศาสตร์ได้ค่อนข้างชัดเจนอย่างยิ่งโดยเฉพาะยุคประวัติศาสตร์ ในขณะที่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ยังมีการค้นพบวิเคราะห์วิจัยหาหลักฐานกันน้อยกว่าที่ควรจะเป็น

เวียงเกิดขึ้นทุกปากลุ่มน้ำ ที่เป็นทางออกสู่แม่น้ำโขง ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของบุ่งทามแห่งนี้ และมีแหล่งเกลือหิน (เกลือสินเธาว์มีแหล่งแร่และความเชี่ยวชาญในการหลอมถลุงแร่ จนเป็นที่มาของคำว่า "สุวรรณภูมิซึ่งหมายถึงดินแดนที่มีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ มากกว่าแอ่งสกลนคร เกิดเวียง (นครเวียงใหม่หลายเวียง คือ เวียงจันทน์ เวียงคำ (เวียงคุกเวียงงัว เวียงนกยูง ยังปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีค่อนข้างสมบูรณ์ หากมีการสำรวจขุดค้นกันอย่างจริงจัง อาจจะได้เห็นถึงรากฐานของการตั้งถิ่นฐานของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ย้อนไปได้ถึงยุคหินใหม่ อายุกว่าหมื่นปีจนถึงยุคประวัติศาสตร์ก็ได้

บริเวณบุ่งทามแถบหนองคาย ยังมีร่องรอยและหลักฐานอยู่อย่างหนาแน่น ทั้งในรูปวัตถุและตำนานวรรณกรรมจำนวนมาก ล้วนเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเล่าสืบทอดกันมาจนกระทั่งเริ่มมีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรบริเวณแคว้นสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะที่ตั้งของจังหวัดหนองคายในปัจจุบัน ก็ยังปรากฎสถานที่ที่มีกล่าวไว้ในตำนานแทบทั้งสิ้น เช่นตำนานพระอุรังคธาตุ กล่าวถึงปฐมกัลป์พญานาคผู้ขุด แม่น้ำโขง ชี มูล ทั้งสร้างนครเวียงจันทน์ด้วย ตำนานรักอมตะ ท้าวผาแดง-นางไอ่ ท้าวขูลู-นางอั้ว ท้าวบารส-นางอุสา ท้าวสินไซ ท้าวสีทน-มโนราห์ ฯลฯ ยังรอการชำระตีความเชิงวิชาการจากท่าผู้รู้อยู่ ความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นในเชิงตำนานและวรรณกรรมเหล่านี้ไม่อาจมองข้ามไปได้ เพราะการยอมรับคติความเชื่อของคนในท้องถิ่นย่อมต้องได้รับการสืบต่อกันมา ถ้าไม่มีตำนานและวรรณกรรมเหล่านี้ไม่แน่นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่น หรือแม้กระทั่งหลักฐานจารึกต่าง ๆ ก็แทบจะไม่มีความหมายเลยก็ว่าได้ อย่าลืมว่าจารึกศิลาหลักต่าง ๆ สามารถเคลื่อนย้ายกันได้แต่ถ้าคนในท้องถิ่นยังคงจดจำและสืบต่อกันอยู่ ก็หมายถึงท้องนั้นถิ่นยังมีบันทึกประวัติศาสตร์ของตนอยู่ด้วยเช่นกันถึงแม้นักวิชาการจะมองข้ามสิ่งเหล่านี้ก็ตาม

การตั้งถิ่นฐาน

 มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ก่อนจะมีพัฒนาการทางชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการเมือง การปกครอง ของราชอาณาจักรในแต่ละยุคแต่ละสมัย ในขณะเดียวกันประวัติความเป็นมารวมทั้งพัฒนาการการตั้งถิ่นฐานของคนในจังหวัดหนองคาย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันสามารถโยงใยไปถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ด้านอื่น ๆ อีกหลายด้าน เช่น การเมืองการปกครองในสมัยล้านช้าง เวียงจันทน์ สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีเหตุการณ์สำคัญ ๆ เกิดขึ้นมากในสมัยนี้ทั้งไทยเอง และลาวเองด้วย จนถึงยุคสงครามเย็น หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ดังจะเรียงไล่ไปตามลำดับ ดังนี้

 

.๑ การตั้งถิ่นฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์

 .. บริเวณลุ่มน้ำโมง (ห้วยโมง) สายน้ำสำคัญสายหนึ่งไหลลงแม่น้ำโขงปากน้ำออกทางบ้านน้ำโมง อ.ท่าบ่อ พบว่ามีแหล่งโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคนี้ มีชื่อเรียกว่า "แหล่งโบราณคดีบ้านโคกคอนอยู่ที่ตำบลโคกคอน อำเภอท่าบ่อ เมื่อ พ.๒๕๓๖ ชาวบ้านแตกตื่นกันไปขุดหาของเก่าขาย เมื่อมีผู้พบหม้อดินเผาลายสีแบบบ้านเชียง อยู่กลางหมู่บ้าน โชคดีที่ผู้รับซื้อไม่สนใจรับซื้อเท่าไหร่ หม้อดินโบราณจำนวนมากที่สุดขุดค้นกันขึ้นมาได้โดยชาวบ้าน จึงยังคงเหลือให้ผู้สนใจศึกษาถามหาดูได้จากชาวบ้าน

 หม้อดินโบราณที่ได้จากแหล่งโบราณคดีบ้านโคกคอน เป็นชนิดที่ไม่มีสี แต่มีลายเล็บขูด ลายเชือกทาบ นอกจากนี้ยังพบเครื่องประดับหินแก้วทั้งลูกปัด กำไล เศษสำริด จำนวนมาก ชาวบ้านบางคนมีเครื่องมือหินพวก ขวานหินขัด หัวธนูหิน เครื่องมือหินเหล่านี้น่าจะมีมาก่อนยุคบ้านเชียง

 รอบโบสถ์วัดศรีสะอาดกลางหมู่บ้าน มีเสมาหินสมัยทวาราวดีและครกหินใหญ่ที่น่าจะเป็นเบ้าหลอมโลหะ เชื่อว่าคนโบราณบ้านโคกคอนแห่งนี้ จะต้องสัมพันธ์กับภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ภูพระบาท อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานีแน่นอน ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นยังพบ "เหรียญเงินฟูนันอายุประมาณ ๒ พันปีด้วย ซึ่งเหรียญเงินชนิดนี้เคยมีการพบที่เมืองออกแก้ว ทางเวียตนามใต้ ปากแม่น้ำโขงก่อนออกทะเล และที่เมืองอู่ทองโบราณ จังหวัดสุพรรณบุรี และเมืองนครชัยศรีโบราณ จังหวัดนครปฐมก็พบ การพบเหรียญเงินสมัยฟูนันเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า แหล่งโบราณคดีมีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนต่อเนื่องมาถึงยุคตอนต้นประวัติศาสตร์ด้วย ทั้งยังมีการติดต่อเชื่อมโยงทางสังคมกับดินแดนอื่นด้วย

 นอกจากนี้ยังพบกระดูกมนุษย์กระจายอยู่ทั่วไปตามแหล่งโบราณคดีนี้ ส่วนเศษเครื่องปั้นดินเผาที่ถือว่าเป็นยุคแรก ๆ นี้ พบมากในเขตตอนเหนือของจังหวัดหนองคาย อย่างไรก็ดี ในส่วนการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดีเพื่อทำการศึกษาอย่างจริงจังยังไม่มีสำหรับแหล่งโบราณคดีบ้านโคกคอน นอกจากการสำรวจตรวจชมจากนักวิชาการบ้างเท่านั้น เช่นเดียวกับแหล่งโบราณคดีอีกหลายแห่งในจังหวัดหนองคาย

 นอกจากนี้ก็มีโครงการสำรวจแหล่งถลุงแร่ทองแดง ดีบุกสมัยโบราณ บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง (เขตจังหวัดหนองคาย เลย หนองบัวลำภู อุดรธานีโดยผู้ดำเนินการวิจัย คือปลัดสิทธิพร ณ นครพนม ปลัดอาวุโสอำเภอศรีเชียงใหม่ อาจารย์เย็นจิต สุขวาสนะ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ได้รับการสนับสนุนโครงการฯ จากสำนักงานส่งเสริมการวิจัยแห่งชาติ (สกว.) และ ผศ.จารุวรรณ ธรรมวัตร แห่งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ๒๕๔๑ ได้ข้อสรุปว่า ทางตอนเหนือของจังหวัดหนองคายเป็นแหล่งถลุงโลหะสมัยโบราณ มีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโลหะ หนองคายพบที่ ภูโล้น อ.สังคม ซึ่งเป็นแหล่งทำเหมืองแร่ทองแดงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อีกแห่งหนึ่งคือบ้านหนองบัว ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ พบว่าเป็นแหล่งถลุงแร่โลหะขนาดใหญ่พอสมควร

 ฉะนั้นจากการสำรวจพบแหล่งถลุงโลหะ และแหล่งชุมชนโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ในทางตอนเหนือของจังหวัดหนองคาย ย่อมแสดงให้เห็นว่า "บุ่งทามที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนนี้อาจเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และมีพัฒนาการเป็นแบบเฉพาะถิ่นนี้ ความสำคัญอาจมากถึงขนาดที่ว่า น่าจะเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาก่อนมนุษย์บ้านเชียงเสียด้วยซ้ำ อายุอาจย้อนกลับไปได้ไกลถึง ๗,๐๐๐ปี หรือมากกว่านั้นเพียงแต่หลักฐานที่มีอยู่รวมทั้งพื้นที่แหล่งโบราณคดีแห่งนี้ยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างละเอียดจากนักวิชาการ ซึ่งนักวิชาการท้องถิ่นรวมทั้งผู้สำรวจวิจัยขั้นแรกหลาย ๆ ท่านเชื่อว่าหากมีการลงลึกในรายละเอียด ศึกษาอย่างต่อเนื่องแล้ว บริเวณตอนเหนือของจังหวัดหนองคาย รวมทั้งเขตใกล้เคียงอาจเป็นถึง "แอ่งอารยธรรมที่ ๓" ถ้านับจากแอ่งโคราช และแอ่งสกลนคร

 การตั้งถิ่นฐานในสมัยตอนต้นประวัติศาสตร์

เมื่อชุมชนแถบลุ่มแม่น้ำโขงได้มีพัฒนาการทั้งทางสังคม การเมือง การปกครอง มาจนถึงยุคประวัติศาสตร์ ก็ปรากฎว่ามีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของคนในหนองคายหนาแน่นมากที่สุดแห่งหนึ่ง มีลายลักษณ์อักษรกล่าวถึงบ้านเมืองในแถบจังหวัดหนองคาย-เวียงจันทน์ มาตั้งแต่ยุคเจนละหรือฟูนัน และมีการปกครองที่เป็นอิสระจากอาณาจักรอื่น แต่มีการติดต่อกับอาณาจักรใกล้เคียงมาโดยตลอด ดังแสดงให้เห็นในโบราณสถานและโบราณวัตถุที่พบมากอยู่ในเขตจังหวัดหนองคายรวมทั้งฝั่งนครเวียงจันทน์ ทั้งยังมีหลักฐานจากลายลักษณ์อักษรที่อาณาจักรใกล้เคียงและประเทศโพ้นทะเลติดต่อด้วยได้บันทึกไว้ถึงบ้านเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณหนองคาย-เวียงจันทน์ ดังที่ รศ.ดร.ธิดา สาระยา ได้วิเคราะห์ถึงประวัติศาสตร์อีสานไว้ในเรื่องอาณาจักรเจนละว่า "ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓๑๔ ชี้ว่าบ้านเมืองบริเวณทางตอนเหนือซึ่งเป็นดินแดนแห่งขุนเขาและลุ่มน้ำ เป็นต้นกำเนิดของอาณาจักรเจนละ ซึ่งเรียกว่าพวกเจนละบก (เซเดส์กำหนดให้เจนละบกอยู่แดนลุ่มน้ำโขงตอนกลางมีเศรษฐปุระเป็นเมืองหลวง แต่นักวิชาการบางท่านว่า คือเหวินถาน หรือเวินตาน หรือเวินตา ที่นักวิชาการจีนศึกษาเรื่องนี้และยืนยันว่าคือเมือเวียงจันทน์"

 

การตั้งถิ่นฐานในสมัยตอนต้นประวัติศาสตร์

 ก่อนช่วงที่จะมีการเรียกชุมชนโบราณแถบนี้ว่าเจนละบก อาจจะมีการตั้งถิ่นฐานของชนเผ่าพื้นเมืองโบราณกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกลุ่มคนพวกนี้มีการอพยพโยกย้ายเคลื่อนที่ไปมาในพื้นที่ใกล้เคียง ดังหลักฐานที่ปรากฎอยู่ที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ซึ่งตามสภาพภูมิศาสตร์ถือว่าเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ภายหลังเมื่อมีการติดต่อกับกลุ่มคนทางชายฝั่งทะเลก็รับเอาอิทธิพลทางศาสนาเข้ามาในวิถีชีวิตของชุมชนเดิม โดยเฉพาะกลุ่มชนชาติจามที่เป็นกลุ่มที่นำเอาความเชื่อในลัทธิพราหมณ์-ฮินดู มาเผยแพร่ในดินแดนอุษาคเนย์ บริเวณที่อยู่ของพวกจามในอดีต คือแถบฝั่งทะเลประเทศเวียดนามปัจจุบัน โดยอิทธิพลลัทธิพราหมณ์-ฮินดู ที่คนพื้นเมืองโบราณแถบลุ่มแม่น้ำโขงรับมาจากจามปรากฏเป็นศิลปกรรมที่ผสมผสานกันอยู่ในโบราณสถานและโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับโบราณสถานทางศาสนาพุทธในช่วงต้นประวัติศาสตร์ด้วย ดังที่ รศ.ดร.ศรีศักร วัลลิโภดม ได้วิเคราะห์ไว้อย่างน่าสนใจ เช่น พระธาตุพนมที่ จ.นครพนม และปราสาทวัดภู ที่ฝั่งจำปาศักดิ์ของลาว ที่พบหลักฐานทางศิลปกรรมของชนชาวจามปรากฏเป็นโครงสร้างพื้นฐานของโบราณสถานในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงแถบนี้ "โบราณสถานและโบราณวัตถุแบบพวกทวาราวดี แสดงให้เห็นถึงการแพร่กระจายของศิลปวัฒนธรรมแก่บ้านเมืองในแถบลุ่มแม่น้ำชีผ่านบริเวณหนองหาน กุมภวาปี ขึ้นมาในอีสานเหนือในช่วงเวลาแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา ที่พระธาตุพนมก่อนที่จะล้มพังลงนั้นมีภาพสลักรูปคนขี่ม้าในท่าผาดโผนและเคลื่อนไหว เป็นลักษณะที่ไม่เคยพบในศิลปกรรมแบบทวาราวดีและลพบุรีในประเทศไทยมาก่อน ในทำนองตรงข้ามเป็นของที่มักพบในศิลปะของจีน ญวน และจามปา"

 ในขณะเดียวกันข้อความในตำนานพระอุรังคธาตุของชาวอีสานก็ได้แสดงให้เห็นว่า พระพุทธศาสนาได้เผยแพร่เข้ามาในดินแดนนี้ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๓ ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณสถานประเภทพระธาตุองค์ต่าง ๆ ที่หลงเหลืออยู่ในดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง รวมทั้งจังหวัดหนองคาย ปรากฏชื่อเวียงหลายแห่ง ซึ่งได้ฐาปนาพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าในช่วงที่พุทธศาสนาในแถบอินเดียได้ส่งสมณฑูตเจ้ามาพร้อมกับนำพระบรมสารีริกธาตุมาแจกจ่ายแก่บ้านเมืองแถบนี้

 แสดงว่าชุมชนที่ตั้งมั่นคงอยู่ช่วงลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางที่หมายถึงจังหวัดหนองคายนี้มีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์อย่างแน่นอน โดยมีพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมต่อเนื่องมาโดยตลอด จนถึงยุคที่มีหลักฐานชัดเจนทางโบราณคดี เช่น ศิลาจารึก ศิลปกรรมในโบราณสถาน โบราณวัตถุยุคต่าง ๆ ปรากฏหลงเหลือเป็นร่องรอยของยุคสมัยแต่ละยุคสมัย โดยที่ผู้คนหรือชุมชนมีการเคลื่อนย้ายเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยไปตามภาวะเหตุการณ์ทางการเมืองการปกครอง มาตามลำดับ

 โดยเฉพาะเป็นช่วงประวัติศาสตร์อีสานโบราณที่ตรงกับยุคเจนละของโบราณ (ตามคำเรียกในเอกสารจีนประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔๑๕ ช่วงลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางแถบจังหวัดหนองคาย-เวียงจันทน์ ที่มีเอกสารจีน เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่า "เจนละบกอย่างชัดเจนนี้ รศ.ดร.ธิดา สาระยา ได้ประมาณกลุ่มประชากรในเจนละบกได้บ้าง โดยประกอบด้วย

 พวกข่า ซึ่งพูดภาษามอญ-คะแมร์

 พวกไท และชนเผ่าอื่น ๆ ในหนานเจา เพราะสองแคว้นนี้ติดต่อกัน

 ชาวกัมพู หรือกัมพุช ในเจนละน้ำ

 พวกจาม ตามเรื่องราวที่ปรากฎในตำนานอุรังคธาตุ

 พวกเวียต จากแง่อานห์แลตอนกิน(ตังเกี๋ยซึ่งมีเส้นทางคมนาคมถึงกันตามเส้นทางเกียตัน เป็นต้น

 พวกลาว เชื่อกันว่าเข้ามาทีหลังสุด

 เจนละ ในความหมายของนักวิชาการเน้นไปถึงช่วงที่แสดงถึงการอพยพเคลื่อนไหวโยกย้ายของกลุ่มประชากรชนเผ่าชนชาติที่มีความถึ่สูง โดยเฉพาะพวกเจนละบก จนทำให้มองไม่เห็นแม้แต่ร่องรอยของพวกนักปกครองที่จะรวมกันเป็นกลุ่มเมือง แคว้นเล็ก แคว้นน้อย ถึงตอนนี้คงมีสาเหตุสำคัญที่ว่า ที่ตั้งของนครที่แสดงถึงอำนาจการปกครองสูงสุดในยุคนั้นน่าจะให้ความสำคัญกับเมืองท่าชายฝั่งทะเล หรือมีทางออกสู่ทะเลเป็นสำคัญ ดังนั้นการที่เรื่องราวของพวกเจนละบกจึงไม่เข้มข้นเท่ากับพวกเจนละน้ำ ซึ่งอยู่ทางใต้แถบประเทศกัมพูชา รวมถึงฝั่งทะเลจังหวัดจันทบุรีของไทยปัจจุบัน

 แต่พัฒนาการของบ้านเมืองแถบนี้รวมทั้งหนองคาย (ตั้งแต่ยังไม่ปรากฏชื่อหนองคายในแถบนี้มีมานานแล้วเพียงแต่ค่อยเป็นค่อยไป โดยเข้มข้นมาตามลำดับการเคลื่อนย้ายของกลุ่มประชาการชาติพันธุ์ที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเองมาผสมปนเปกับกลุ่มชน หรือเคลื่อนย้ายมาทับพื้นที่ของกลุ่มชนดั้งเดิม แล้วกลืนวัฒนธรรมของกลุ่มชนพื้นที่เดิมไปในช่วงเวลาต่อมา

 ช่วงการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มประชากรในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒๑๖ ต่อเนื่องและซ้อนทับกันในเรื่องของการรับอิทธิพลความเชื่อ ศาสนา จึงเรียกช่วงเวลานี้ว่าสมัยทวาราวดี โดยมีหลักฐานทางศิลปกรรมของเจนละปะปนอยู่ในช่วงกลางสมัยทวาราวดี แล้วจึงปรากฏอิทธิพลศิลปขอมและลพบุรี ในช่วงทวาราวดีตอนปลาย (พุทธศตวรรษที่ ๑๖๑๙ชนพื้นเมืองแถบหนองคาย - เวียงจันทน์ อุดรธานี ได้รับเอาอิทธพลความเชื่อของขอมอย่างเต็มที่ ทั้งนี้หมายถึงการยอมรับอำนาจการปกครองของชนชาติขอมทางด้านลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างด้วย จนกระทั่งในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙๒๐ อำนาจขอมเสื่อมลง จึงปรากฏกลุ่มประชากรล้านช้างอพยพมาตั้งมั่นอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนนี้ตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน

 พัฒนาการในประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองกับชื่อบ้านนามเวียง ในสมัยประวัติศาสตร์ปรากฏอยู่บนพื้นที่จังหวัดหนองคาย มีลำดับความเป็นมาและอายุต่าง ๆ กัน ดังนี้

 เวียงคำ-เวียงคุกคู่แฝดเวียงจันทน์ ปรากฏชื่อเรียกทางฝั่งหนองคายปัจจุบันว่า "เวียงคุกที่อำเภอเมืองติดเขตอำเภอท่าบ่อ อยู่ตรงข้ามกับเมืองเวียงคำ (เมืองซายฟองทางฝั่งลาว ทั้งเวียงคำ-เวียงคุก น่าจะเป็นเมืองเดียวกัน พบหลักฐานโบราณสถานและโบราณวัตถุร่วมสมัยกันทั้งสองฝั่ง มีทั้งเสมาหินทวาราวดี ลพบุรี ต่อเนื่องถึงล้านช้าง ชื่อเวียงคำปรากฏอยู่ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ว่า "เบื้องตะวันออกเท้าฝั่งของเวียงจัน-เวียงคำเป็นที่แล้วในขณะเดียวกันการกล่าวถึงเมืองเวียงจันทน์-เวียงคำ ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงแสดงให้เห็นขอบเขตราชอาณาจักรสุโขทัย โดยเวียงจันทน์-เวียงคำเป็นรัฐอิสะอยู่พ้นอำนาจของสุโขทัยซึ่งแผ่อำนาจไปทั่วอาณาบริเวณอุษาคเนย์ช่วงนั้น ดังนั้นจึงแสดงว่าการเป็นพันธมิตร หรือรัฐเครือข่ายที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันระหว่างราชอาณาจักรสุโขทัยกับเวียงจันทน์ - เวียงคำ เป็นไปในทางที่ดี ถึงขั้นตีความได้ว่า สุโขทัยเกิดจากการขยายขอบเขตราชอาณาจักรทางลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางนี้ แล้วขยายไปทางใต้เรื่อย ๆ และมีลำดับพัฒนาการจนเป็นราชอาณาจักรอยุธยา ขับไล่อำนาจขอมออกจากพื้นดินของชาวสยามได้อย่างสิ้นเชิง

 ความสำคัญของเวียงคำ - เวียงคุก นี้นับเป็นแหล่งศึกษาพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของคนหนองคายโบราณในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔๒๐ โดยเฉพาะช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ พบหลักฐานที่เกี่ยวกับอำนาจการปกครองเหนือดินแดนนี้ของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทั้งฝั่งเวียงคำ - เวียงคุก ทั้งนี้ตามหลักฐานปรากฏว่าฝั่งเวียงคุกของไทย (ชื่อเต็มคือเวียงคุคำ ที่หมายถึง ครุตักน้ำ ต่อมา "คุคำกร่อนเสียงเป็น "คุคและ "คุกดังในปัจจุบัน เข้าใจว่าเวียงคุกคำในปัจจุบันก็คือเวียงคำในอดีตนั่นเองรวมทั้งที่ตั้งของวัดพระธาตุบังพวนซึ่งอยู่ถัดจากฝั่งแม่น้ำโขงเข้ามา ๕ กิโลเมตร มีซากวัดและพระสถูปเจดีย์รูปแบบต่าง ๆ รวม ๑๐๐ กว่าแห่ง ที่จะทำให้การศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของศิลปะล้านช้างได้ดีกว่าที่อื่น

 เวียงงัว ปรากฏชื่อในตำนานพระอุรังคธาตุว่าพระรัตนเถระและจุลรัตนเถระได้นำพระบรมธาตุเขี้ยวฝาง ๓ องค์มาประดิษฐานไว้ที่โพนจิกเวียงหัว "งัวคือวัวในสำเนียงภาคกลาง และเชื่อว่าเป็นพื้นที่ในตำบลบ้านฝาง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เล่าสืบต่อกันมาถึงตำนานสำคัญของชุมชนโบราณแถบลุ่มแม่น้ำโขงตอนหนองคาย รวมทั้งภูพระบาทในจังหวัดอุดรธานีด้วย ก็มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของชุมชนแถบนี้เช่นกัน แม้กระทั่งเค้าเงื่อนจากนิทานเรื่องท้าวบารส - นางอุษา ก็มีว่า เมืองของท้าวบารสอยู่ "เมืองปะโค เวียงคุกโค เป็นภาษาแขกที่เขมรรับมาใช้ แปลว่า "งัวของชาวอีสานและ "วัวของภาคกลาง วิเคราะห์จากวรรณกรรมฮินดูเรื่อง "พระอุณรุทธ" (อนุรุทธซึ่งเป็นหลานพระกฤษณะ (พระนารายณ์ปางหนึ่งซึ่งสำเนียงในตำนานชาวอีสาน คือ "พระกึดนารายณ์"

 พระธาตุเวียงงัว เป็นรูแบบศิลปแบบปะโค(สำเนียงเขมรว่าเปรียะโค)ของเขมรโบราณ พ.๑๔๒๐ – ๑๔๔๐ (พุทธศตวรรษที่ ๑๕มีทั้งเทวาลัย ภาพสลักหิน และประติมากรรมหินในกัมพูชา ต่อเนื่องจากศิลปะแบบกุเลน (จามกับชวามีประสาทปะโค โลเลย บากอง เป็นต้น และคงส่งอิทธิพลขึ้นมาถึงโพนจิกเวียงงัวด้วย เสียดายที่เทวรูปหิน ประติมากรรมสำคัญ บางวัดนำปูนพอกแปลงเป็นพระพุทธรูปแล้ว แต่จากรูปถ่ายเก่าที่ผู้สนใจเคยถ่ายไว้ ผู้เชี่ยวชาญเขมรดูแล้วปรากฏว่าเป็นศิลปะแบบปะโค

 เวียงนกยูง อยู่ติดห้วยโมง เขตกิ่งอำเภอโพธิ์ตาก มีเสมาหินยุคทวาราวถึง ๕๒ ชิ้น ซึ่งได้ขนย้ายไปไว้ที่วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ ปรากฏชื่อปากโมงหรือห้วยโมงนี้ในตำนานพระอุรังคธาตุว่า “หมื่นนันทอาราม มีครัว ๕๐,๐๐๐ ครัว อพยพมาตั้งอยู่ปากห้วยนกยูง หรือปากโมงก็เรียก” ห้วยโมงมีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาภูพานแดนที่ตั้งของอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ซึ่ง รศ.ดร.ศรีศักร วัลลิโภดม เคยโยงเส้นทางการแผ่อิทธิพลของขอมโบราณสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ น่าจะเกี่ยวข้องกับเส้นทางนี้เป็นสำคัญ ทั้งยังเป็นเส้นทางที่ชาวเวียงจันทน์ - เวียงคำ ใช้อพยพไปสร้างศรีสัชนาลัย - สุโขทัย ผ่านเข้าไปยังนครไทยก่อนจะพัฒนาไปยังซีกตะวันตกของนครไทยหลังจากพ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แล้ว จนท่านกล้าที่จะชี้ชัดลงไปว่าชาวสยามในเขตที่ราบลุ่มภาคกลางของแม่น้ำเจ้าพระยาก็คือชาวเวียงจันทน์ - เวียงคำ ซึ่งเคยรุ่งเรืองมาก่อนในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางนี่เอง โดยที่ลักษณะการขยายอาณาจักรของชาวเวียงจันทน์ - เวียงคำ เป็นไปเพื่อหาเส้นทางออกสู่เมืองท่าชายฝั่งทะเล คือ จากเวียงจันทน์ - เวียงคำ ผ่านเข้ามาทางห้วยโมง ซึ่งเป็นที่ตั้งของเวียงนกยูงเข้าไปถึงเขตอำเภอบ้านผือ ผ่านเข้าในเขตอำเภอนากลาง อำเภอวังสะพุง อำเภอด่านซ้าย จากนั้นข้ามเทือกเขาเข้ามาในเขตอำเภอนครไทย แล้วจึงลงไปตามลำน้ำแควน้อยก็จะสามารถไปถึงยังกลุ่มบ้านเมืองในลุ่มน้ำน่านที่เมืองพิษณุโลกได้ และเมื่อผ่านไปยังสุโขทัยได้ ก็หมายถึงสามารถออกทะเลได้ทางฝั่งทะเลอินเดีย (อ่าวเบงกอล ที่เมืองเมาะตะบันในพม่าปัจจุบันจากหลักฐานโบราณสถานโบราณวัตถุต่าง ๆ ตามเส้นทางนี้พบว่ามีความเชื่อมโยงกันอยู่มาก และน่าจะเป็นถึงเส้นทางการค้าในสมัย สามเหลี่ยมทองคำโบราณ ด้วย “โมงไม่มีในภาษาถิ่นอีสาน แต่ในภาษาของชาวโส้(กะโซ่ ข่าโซ่ซึ่งพูดภาษาตระกูลมอญ - เขมร (ยังมีคนชาวโส้อาศัยอยู่ที่อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดหนองคายมีคำว่า โหม่ง” แปลว่า “นกยูง และที่โบสถ์พระเจ้าองค์ตื้อ อำเภอท่าบ่อ ซึ่งเดิมห้วยโมงมาออกแม่น้ำโขงตรงนี้มีเจดีย์สำคัญเป็นที่หมายเรียกว่า “ธาตุนกยูง

 จากการสำรวจเบื้องต้นของ ผศจารุวรรณ ธรรมวัตร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมด้วยอาจารย์เย็นจิต สุขวาสนะ จาก มศวประสานมิตร กรุงเทพฯ และปลัดสิทธิพร ณ นครพนม ในเดือนมีนาคม พ.๒๕๔๑ พบว่ามีแนวกำแพงดินและคูน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณโนนสูงบริเวณที่ห้วยถ่อนสบห้วยโมง มีอายุในยุคทวาราวดีเช่นเดียวกับเมืองฟ้าแดดสงยาง ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ทั้งพบว่า เศษดินเผาก็มีมาก ทั้งนี้เสมาหิน ๕๒ ชิ้น ซึ่งได้ย้ายจากบริเวณนี้ไปตั้งรักษาไว้ที่วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ ก็มีความสำคัญและน่าศึกษาลึกลงในรายละเอียด เช่น ลายสลักเสมาหินบางชิ้นเชื่อว่าเป็นเรื่อง “พระวิฑูรชาดก” ในทศชาติชาดก มีอายุตรงกับยุคทวาราวดีต่อลพบุรี ชิ้นที่สมบูรณ์ที่สุดชิ้นหนึ่งมีภาพซุ้มปราสาทแบบจามปาภาพด้านล่างมีภาพสลักม้าหมอบอยู่ด้วย ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาศาสตร์ท่านหนึ่ง (เจอร์ราด ดิฟโฟรธท์พบว่าน่าจะมีจารึกบนเสมาหินชิ้นดังกล่าวนี้ด้วย แต่คงถูกทำลายในภายหลังด้วยเหตุผลใดก็ไม่ทราบ แต่ถ้าพยายามก็สามารถอ่านจารึกโบราณนั้นได้เหมือนกัน ขณะนี้ยังรอดำเนินการอยู่

 ปลัดสิทธิพร ณ นครพนม ได้ติดตามหลักฐานและตำนานวรรณกรรมในแถบภิ่นลุ่มแม่นน้ำโมงมาโดยละเอียด พบว่ามีทั้งแหล่งการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์อยู่ที่บริเวณโคกคอน อ.ท่าบ่อ ใกล้เคียงกับบริเวณเวียงนกยูงนี้ด้วย จึงวิเคราะห์ลงไปว่า ศิลปะลายกลองมโหระทึกที่เป็นรูปคนใส่ขนนกรำอยู่พร้อมกับคนเป่าแคนลายกลองมโหระทึกนี้พบบริเวณชุมชนชาวจ้วงซึ่งเป็นกลุ่มชนที่ใช้กลองมโหระทึกในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนามาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน และรวมทั้งกลุ่มชนอื่น ๆ ในอุษาคเนย์นี้ก็ใช้ด้วยเหมือนกัน จึงได้ตั้งคำถามเชิงสมมุติฐานว่า เป็นไปได้ไหมที่ชุมชนยุคโลหะในแถบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง หรือบริเวณชุมชนชาวเวียงนกยูง จะเป็นผู้ผลิตและเป็นผู้เผยแพร่วัฒนธรรมการใช้กลองมโหระทึกเป็นยุคแรก ๆ ในกลุ่มวัฒนธรรมนี้ด้วย

 ในตำนานพระอุรังคธาตุ ได้กล่าวไว้ตอนที่มีการฐาปนาพระอุรังคธาตุ ที่ภูกำพร้าตอนหนึ่งดังนี้ “...วัสสวลาหกเทวบุตร พาบริวารนำเอาหางนกยูงเข้าไปฟ้อนถวายบูชาเทวดาทั้งหลาย ลางหมู่ขับ ลางหมู่ดีดสีตีเป่าถวายบูชา นางเทวดาทั้งหลายถือหางนกยูงฟ้อนและขับร้องถวายบูชา...” ภาพของนางเทวดาถือหางนกยูงรำน่าจะเป็นร่องรอยวรรณกรรมที่เกี่ยวเนื่องไปถึงคติความเชื่อที่แฝงอยู่ในภาพสลักบนกลองมะโหระทึกของชาวอุษาคเนย์ โดยที่ภาพสำคัญดังกล่าวได้ตกทอดเผยแผ่ไปยังดินแดนตอนเหนือของแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมสำริดประเภทนี้ และนั่นก็แสดงว่าถ้าร่องรอยวรรณกรรมมีอยู่จริง เวียงนกยูง กิ่ง อ.โพธิ์ตากก็น่าจะเป็นชุมชนโบราณยุคแรก ๆ ของอุษาคเนย์ที่มีพัฒนาการทางสังคม การเมือง การปกครอง การค้า รวมทั้งเป็นผู้นำทางวัฒนธรรมมาตั้งแต่ยุคเริ่มต้นประวัติศาสตร์เลยทีเดียว

 นอกจากนี้ยังมีนิทานชาดกเรื่อง ท้าวสีทน - มโนราห์ เล่ากันต่อมาถึงร่องรอยบ้านเมืองแถบนี้ว่า ท้าวสีทน เจ้าเมืองเปงจาน พบรักกับนางมโนราห์ (น่าจะหมายถึงกินรี หรือหญิงที่มีขนนกเป็นอาภรณ์ธิดาแห่งเมืองภูเงิน ซึ่งท่านปลัดสิทธิพร ณ นครพนม ได้วิเคราะห์ย้ำลงไปในร่องรอยวรรณกรรมเรื่องนี้ว่า ไม่แน่นัก เวียงนกยูง หรือเวียงโหม่ง หรือเวียงที่ห้วยโมง อาจจะเป็นเมืองของนางมโนราห์นี้เอง

 เปงจานนครราช กิ่งอำเภอรัตนวาปีปัจจุบัน บริเวณที่ทำการนิคมสร้างตนเอง ยังมีเสมาหินขนาดใหญ่เหลืออยู่ชิ้นหนึ่งที่เหลือรอดจากการกวาดทิ้งลงแม่น้ำโขงเมื่อ ๕๐ ปีที่แล้ว ชาวบ้านเรียกว่า “เจ้าพ่อเปงจาน” มีอายุอยู่ในยุคทวาราวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๒ ที่ฐานมีอักษรปัลลวะอินเดียจารึกไว้ แต่เลอะเลือนจนอ่านไม่ได้ ยังมีร่องรอยของเมืองโบราณอยู่ทั่วบริเวณริมแม่น้ำโขงเป็นแนวยาวถึง 10 กิโลเมตร ตั้งแต่นิคมสร้างตนเอง หน่วยซ่อมและบำรุง สะพาน โรงเรียนประชาบดี โรงเรียนนิคมบ้านเปงจาน จนถึงวัดเปงจานใต้ เมื่อลองขุดลึกลงไปใต้บริเวณนี้เพียงไม่กี่นิ้วก็พบซากกองอิฐกองอยู่มาก สันนิษฐานได้เลยว่าน่าจะเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่ และมีความสำคัญมากแห่งหนึ่งในดินแดนแถบนี้ ทั้งนี้ยังมีวรรณกรรมประเภท ชาดกนอกนิบาต” เล่าสืบต่อกันมาว่า เป็นเมืองของท้าวสีทนและท้าวสินไซ

 ส่วนหลักฐานของอาณาจักรใกล้เคียง เช่นปราสาทนครวัด กัมพูชา นักวิชาการวิเคราะห์ว่ามีชื่อของนครเปงจานปรากฎอยู่ในจารึกที่ภาพสลักหินนูนต่ำ ด้านระเบียงทิศใต้ แสดงภาพพันธมิตรไปช่วยเขมรรบจามปา ภาพแรกเป็นกองทัพพลธนู จารึกว่า นักราชการ ยภาค ปมัญเชงฌาล ดนำ สยามกุก .ยอร์ช เซเดส์ แปลว่า “นี่คือกองทัพเชงฌาลอยู่หน้ากองทัพสยาม” ปรากฏว่าเมื่อวิเคราะห์กันตามการอักษรและการออกเสียงแล้ว คำว่าเชงฌาล ไม่มีในภาษาเขมร เซเดส์ไม่สามารถบอกได้ว่า เชงฌาลอยู่ที่ไหน แต่ในภาพสลักหินที่ ๒ เป็นภาพจอมทัพขี่ช้าง มีทหารเดินตาม จารึกว่า “เนียะ สยาม กุก” แปลว่า “นี่คือ กองทัพสยาม” เดิมเคยเข้าใจกันว่า สยามในภาพนั้นคือ กองทัพสุโขทัย แต่นักวิชาการปัจจุบันวิเคราะห์แล้วว่า ปราสาทนครวัดสร้างก่อนสุโขทัยร่วม ๒๐๐ ปี และดูจากเครื่องแต่งกายของทหารสยามที่นุ่งโสร่งแล้ว (นายสิทธิพร ณ นครพนมเชื่อว่าเป็นกองทัพชาวสยามจากเวียงจันทน์

 ส่วนภาพแรกที่หลายคนยังกังขาอยู่ว่า “เชงฌาล” นี้อยู่ที่ไหน แต่เมื่อมองความสัมพันธ์ของภาพที่สองร่วมด้วยแล้ว กองทัพ “เชงฌาล” ก็น่าจะมาจากลุ่มแม่น้ำโขงด้วย ลองออกเสียงดูใหม่ปรากฎว่า “เชงฌาล” ใกล้กับคำว่า “เปงจาน” มากที่สุด (คำว่า ‘เปง’ เป็นภาษาถิ่น หมายถึงกอง ‘จาน’ คือต้นจานหรือดอกจานหรือทองกวาวหลักฐานดังกล่าวแสดงว่า การตั้งถิ่นฐานของประชากรกลุ่มต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กันมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖ ในลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง โดยมีอำนาจการเมืองการปกครองในอาณาจักรใกล้เคียง เช่นลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง คือบ้านเมืองสมัยขอมเรืองอำนาจอิทธิพลเกี่ยวเนื่องกัน จนกระทั่งขอมเสื่อมอำนาจลง เมืองเปงจานซึ่งเป็นเมืองที่ได้รับอิทธิพลการปกครอง หรืออาจจะเป็นรัฐอิสระอยู่ภายใต้การคุ้มครองของขอมโบราณจึงเสื่อมลงตามไปด้วย

 เมืองหล้าหนอง -หนองคาย หลักฐานเก่าแก่ที่สุดของเมืองหล้าหนองคือ พระธาตุหนองคาย เชื่อว่าเป็นพระธาตุฝ่าตีนขวา อายุราว ๆ เดียวกับพระธาตุบังพวน ในตำนานพระอุรังคธาตุก็มีกล่าวไว้ตอนเดียวกับการอพยพของเจ้านายราชวงศ์เมืองร้อยเอ็จมาตั้งบ้านเมืองอยู่เมืองสุวรรณภูมิแต่ก่อน “...นางน้าเลี้ยงพ่อนมจึงพาเจ้าสังขวิชกุมารออกมาตั้งเมืองอยู่หนอง...ให้ชื่อว่า “เมืองลาหนอง ตลอดไปถึงปากห้วยบางพวน” เมืองลาหนองหรือเมืองหล้าหนอง ในตำนานอุรังคธาตุ คือเมืองเดียวกัน สมัยนั้นเชื่อว่ายังไม่มีคำว่า “คาย” ปรากฏ (“คาย” มาจากคำว่า “ค่าย” ซึ่งมาจากคำว่า “ค่ายบกหวาน” สมัยที่กองทัพไทยมาตั้งค่ายตีเมืองเวียงจันทน์อยู่บริเวณริมหนอง มีต้นบกหวาน จึงเรียกว่า หนองค่ายบกหวาน ซึ่งกลายมาเป็นนิมิตชื่อเมืองหนองคายปัจจุบันต่อมาพระอรหันต์ 8 รูป ได้นำพระบรมธาตุมาบรรจุที่นี่ สมัยต่อมาสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงสรางพระเจดีย์ครอบพระธาตุฝ่าตีนขวานั้นไว้ จนกระทั่งแม่น้ำโขงไหลกัดเซาะตลิ่งพัง เป็นผลให้พระธาตุล้มจมลงอยู่ในแม่น้ำโขงมาจนถึงปัจจุบัน (.๒๔๓๘ เอเจียน แอมอนิเย เดินทางผ่านมาหนองคายก็พบว่าพระธาตุจมอยู่แต่ก่อนแล้วเห็นแต่เพียงยอดฐานกลางแม่น้ำโขงเวลาหน้าน้ำต้องทำเครื่องหมายไว้ พอหน้าแล้งก็จะเห็นส่วนยอดฐานพระธาตุโผล่อยู่กลางแม่น้ำโขง ชาวบ้านยังให้ความเคารพกราบไหว้ เชื่อกันว่าเวลาเข้าพรรษาจะมีพญานาคมาถือศีลภาวนาอยู่บริเวณพระธาตุหนองคายนี้เป็นประจำ

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองต่างๆ ในสมัยราชอาณาจักรล้านช้าง เชียงทอง หลวงพระบาง-เวียงจันทน์

 เมืองปากห้วยหลวง มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงมาตั้งแต่สมัยราชอาณาจักรล้านช้างเชียงทอง (หลวงพระบางโดยเจ้าเมืองปากห้วยหลวง มีราชทินนามว่า “พระยาปากห้วยหลวง” เมืองปากห้วยหลวงน่าจะเป็นบ้านเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยปลายทวาราวดี ปรากฏชื่อเมืองปากห้วยหลวงในพงศาวดารลาวมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าฟ้างุ้มแห่งอาณาจักรล้านช้าง ประวัติศาสตร์ลาว ที่มหาสิลา วีระวงศ์ เรียบเรียงไว้ถึงตอนที่พระเจ้าฟ้างุ่มยกทัพมาตีเอาเวียงจันทน์ เวียงคำ และบ้านเมืองแถบทางใต้อาณาจักรล้านช้างเชียงทอง เมื่อปี พ.๑๘๙๘ ครั้งนั้นได้เมืองปากห้วยหลวงรวมไว้ในราชอาณาจักรของพระองค์ด้วย จึงน่าจะแสดงได้ว่า เมืองปากห้วยหลวงมีความสำคัญมาในยุคเดียวกันกับเวียงจันทน์ เวียงคำ จากนั้นพระเจ้าฟ้างุ้มได้จัดระเบียบการปกครองราชอาณาจักรล้านช้างใหม่ ให้ “เวียงปากห้วยหลวง” จัดอยู่ในเมือง เช่นเดียวกับเวียงจันทน์ เวียงคำ และให้พระยาปากห้วยหลวงเป็นเจ้าเมือง

 เมื่อสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงย้ายเมืองหลวงมาตั้งที่นครเวียงจันทน์ เมื่อปี พ.๒๐๙๓ แล้ว เมืองปากห้วยหลวงก็ยังมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงดังที่เคยเป็นมาตั้งแต่เมืองหลวงตั้งอยู่ที่เชียงทอง (หลวงพระบางเจ้าเมืองปากห้วยหลวงทุกพระองค์ที่มาเป็นพระยาปากห้วยหลวง นับว่าเป็นบุคคลสำคัญในราชวงศ์ของอาณาจักรล้านช้าง เพราะถือว่าเมืองปากห้วยหลวงเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งรองมาจากเวียงจันทน์ ตามลำดับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนในแถบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง ที่ต่อมาหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ สันนิษฐานว่าเวียงนกยูง เวียงงัว เวียงจันทน์ เวียงคำ และเปงจาน อาจลดความสำคัญลงในสมัยที่ราชอาณาจักรล้านช้าง เชียงทองเข้มแข็งจนกลายเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจในแถบลุ่มแม่น้ำโขงแทนพวกขอมซึ่งเคยแผ่อำนาจการปกครองมาถึงบริเวณนี้ ต่อมาเมืองปากห้วยหลวงในฐานะเขื่อนเมืองของราชอาณาจักรล้านช้างเชียงทอง จึงทวีความสำคัญมากขึ้นเมื่อเวียงจันทน์เป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองในสมัยต่อมา

 หลักฐานที่พบในเมืองโบราณปากห้วยหลวง ซึ่งตั้งอยู่ ณ ปากน้ำห้วยหลวง หรือที่ตั้งของอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคายปัจจุบัน พบว่ามีซากวัดร้างจำนวนมาและวัดที่ยังใช้การอีกจำนวนหนึ่ง และพบว่ามีศิลาจารึกมากที่สุดแห่งหนึ่งในการสำรวจเมืองโบราณภาคอีสานและลาว เป็นศิลาจารึกด้วยอักษรไทยน้อย (คล้ายอักษรลาวแต่การกล่าวถึงเมืองปากห้วยหลวงในพงศาวดารลาวมีอยู่บ้างและไม่ต่อเนื่อง การศึกษาพัฒนาการของเมืองปากห้วยหลวงจึงเทียบเคียงจากพงศาวดารลาว ที่เคยกล่าวถึงเจ้าเมืองปากห้วยหลวงในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักรล้านช้าง และศิลาจารึกที่พบอยู่ในบริเวณเมืองปากห้วยหลวง ปรากฏนามพระยาปากห้วยหลวง องค์สำคัญ ดังต่อไปนี้

 เจ้าชายมุย

 เจ้าชายมุย เป็นโอรสของท้าวคำเต็มซ้า เจ้าเมืองปากห้วยหลวง (ท้าวคำเต็มซ้า เป็นพระราชโอรสของพระยาสามแสนไทไตรภูวนาถ กษัตริย์เมืองเชียงทองต่อจากพระเจ้าฟ้างุ้มภายหลังเมื่อเจ้าเมืองปากห้วยหลวงพระบิดาสวรรคต จึงได้เป็นพระยาปากห้วยหลวงต่อจากพระบิดา เมื่อท้าววังบุรี เจ้าเมืองเวียงจันทน์ขึ้นไปเสวยราชย์ที่เมืองหลวงพระบาง เมื่อ พ.๑๙๙๙ (พระนามใหม่ว่า “สมเด็จพระไชยจักรพรรดิ์แผ่นแผ้ว”) เจ้าชายมุยจึงได้ขึ้นไปครองเมืองเวียงจันทน์แทนตั้งแต่นั้น ภายหลังเจ้าชายมุยและเสนาบดีแมืองเวียงจันทน์คิดแยกตัวเป็นเอกราช จากราชอาณาจักรล้านช้างเชียงทอง ในพงศาวดารลาว ฉบับกะซวงสึกสาทิกาน (ลาวบันทึกตอนนี้ว่า เจ้าชายมุยเป็นกบฏและถูกปลงพระชนม์ในรัชกาลพระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วนั่นเอง

 พระยาจันทร์

 พระยาจันทร์ เป็นเจ้าเมืองปากห้วยหลวงสืบต่อจากเจ้าชายมุย ปรากฏชื่อพระยาจันทร์ในศิลาจารึกวัดแดนเมือง ๒ (พระเจ้าโพธิสาลราช สร้างเมื่อ พ.๒๐๗๘ พระองค์ครองเมืองเชียงทอง พ.๒๐๖๓ - ๒๐๙๓ว่า

 “...ข้อยกับวัดกับพระ แต่ชายมุย แลลุงพระยาจันทร์ ได้หยาดน้ำไว้ ว่าไผยังถอนออกไปหาชุน ให้เอาไว้ดังเก่า...”

 พระเจ้าโพธิสาลราช ทรงเรียกพระยาจันทร์เจ้าเมืองปากห้วยหลวงว่า “ลุงพระยาจันทร์” แสดงว่าพระยาจันทร์ คงเป็นเจ้าเมืองปากห้วยหลวงในช่วงเดียวกับที่พระเจ้าวิชุลราช พระราชบิดาของพระองค์ ครองเมืองเชียงทอง (หลวงพระบางช่วง พ.๒๐๔๓ - ๒๐๖๓ และคงจะเป็นเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์ล้านช้างเชียงทองด้วยเช่นเดียวกับเจ้าชายมุย

 จารึกวัดแดนเมือง ๒ ที่พระเจ้าโพธิสาลราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อคราวเสด็จมาอุทิศที่ดินและสิ่งของให้กับวัดแดนเมือง โดยจารึกดังกล่าวยังมีข้อความถึงเจ้าเมืองปากห้วยหลวงคนก่อนที่เคยอุทิศที่ดินและข้าวัดแก่วัดแดนเมืองก่อนพระองค์จะเสด็จมาบูรณะวัดแดนเมืองและสร้างสิลาจารึกหลักนี้ไว้ด้วย

 พระยาแสนสุรินทร์ลือชัย

 พระยาแสนสุรินทร์ลือชัย เป็นเจ้าเมืองปากห้วยหลวงสืบต่อจากพระยาจันทร์ สมัยนี้เมืองปากห้วยหลวงมีบทบาททางการเมืองในราชอาณาจักรล้านช้างมากกว่าสมัยใด ตรงกับสมัยสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ซึ่งทรงให้พระยาแสนสุรินทร์ลือชัยดำรงตำแหน่งเสนาบดีกลาโหมด้วย (เพี้ยเมืองแสนเคยเป็นกำลังสำคัญของสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชในคราวไปตีเมืองเชียงแสน เมื่อปี พ.๒๐๙๘ เมื่อทรงย้ายราชธานีลงมาตั้งอยู่ที่เวียงจันทน์ก็ได้เป็นกำลังหลักช่วยเหลือการสร้างพระนครเวียงจันทน์ ธาตุหลวง งานพระราชสงครามทุกแห่ง และเป็นผู้สำเร็จราชการปกครองราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ หลังจากสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเสด็จสวรรคตเมื่อคราวทำสงครามกับพม่าเมื่อ พ.๒๑๑๔

 เมืองปากห้วยหลวงในสมัยพระยาแสนสุรินทร์ลือชัย ถือว่าเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนครหลวงเวียงจันทร์มาก เนื่องจากพระมเหสี “เจ้าจอมมณี” ของสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ก็คือบุตรีของพระยาแสนสุรินทร์ลือชัย ที่ทรงเป็นพระราชมารดาของพระหน่อแก้ว (มุกปาฐะชาวหนองคายว่า ทรงมีพระราชธิดาอีก ๓ พระองค์ คือ เจ้าหญิงสุก เจ้าหญิงเสริม เจ้าหญิงใส ซึ่งได้สร้างพระพุทธรูปฉลองพระองค์ขึ้น ๓ องค์ คือ พระสุก พระเสริม พระใส)

 ที่เมืองปากห้วยหลวง สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงเสด็จมาสร้างวัดถิ่นดุ่ง (ปัจจุบันชื่อวัดผดุงสุข) เมื่อปี พ.๒๐๙๔ ซึ่งเป็นปีที่สองหลังจากที่ทรงย้ายราชธานีจากเชียงทอง (หลวงพระบางมานครเวียงจันทร์แล้ว และยังปรากฏหลักฐานเป็นศิลาจารึกวัดผดุงสุข ที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของเมืองปากห้วยหลวง และคาดว่าน่าจะมีการบูรณะวัดวาอารามจำนวนมากด้วยเช่นกัน

 หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชสวรรคต (หายสาบสูญในสงครามล้านช้างกับพม่า เมื่อปี พ.๒๑๑๔พระหน่อแก้ว พระราชโอรสองค์สุดท้องยังทรงเยาว์วัยอยู่มาก และน่าจะประทับอยู่กับพระยาแสนสุรินทร์ลือชัย ผู้เป็นพระอัยกา (ตาอยู่ที่เมืองปากห้วยหลวง นครเวียงจันทน์ขาดกษัตริย์ พระยาแสนสุรินทร์ลือชัย จึงสถาปนาตนเองเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ทรงพระนามว่า “พระเจ้าสุมังคลาไอยโกโพธิสัตว์” จากพระนามนี้แสดงให้เห็นว่าพระองค์ยกตนเป็นกษัตริย์แทนเพื่อรักษาตำแหน่งกษัตริย์ที่แท้จริงไว้ให้กับหลานคือพระหน่อแก้วนั่นเอง ดังปรากฏในศิลาจารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา ๒ ที่สร้างเมื่อ พ.๒๑๑๕ ว่า

 “สมเด็จบพิตรพระเจ้าชื่อสุมังคลโพธิสัตว์ไอยกัศรราชสิทธิเดชลือชัยไกรภูวนาธิบดีศรีสุริวงศา แลบพิตรรัตน-

ประโชติเสตตคัชอัศจรรย์ทสุวรรณขัคสาลราชกุมาร..”

 หมายความว่าแผ่นดินราชอาณาจักรล้างช้างเวียงจันทน์มีพระเจ้าแผ่นดินปกครองถึง ๒ พระองค์ คือ พระองค์และหลานนั่นเอง ต่อมาเวียงจันทน์ตกเป็นของพม่าต้องส่งส่วยให้พม่า พระหน่อเมืองและพระเจ้าสุมังคลาไอยโกโพธิสัตว์ถูกจับไปอยู่เมืองพม่า แล้วให้พระมหาอุปราชาวรวังโส (พระอนุชาของสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชมาครองเมืองเวียงจันทน์แทน ภายหลังมีเหตุกบฏในเวียงจันทน์ พม่าจึงส่งพระสุมังคลาไอยโกโพธิสัตว์กลับมาครองเมืองเวียงจันทน์ ในปี 2123 ครองราชย์อยู่ได้อีก ๒ ปี ก็เสด็จสวรรคต ในปี ๒๑๒๕ รวมพระชนมายุ ได้ ๗๕ พรรษา

 ต่อมาพระยานครน้อย บุตรพระสุมังคลาไอยโกโพธิสัตว์ จึงได้เป็นเจ้าแผ่นดินครองเวียงจันทน์ต่อ (ก่อนหน้านั้นน่าจะเป็นเจ้าเมืองปากห้วยหลวงอยู่) แต่ไม่ถึงปีก็ถูกจับส่งไปกรุงหงสาวดี เพราะชาวเมืองไม่นิยมเห็นว่าไม่ใช่เชื้อชาติกษัตริย์แท้ ราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์จึงว่างจากกษัตริย์อยู่ถึง ๗ ปี

 พระเจ้าวรรัตนธรรมประโชติเสตตคัชฯ และเมืองปากห้วยหลวง

 พระหน่อแก้ว ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์เวียงจันทน์เมื่อเสนาอำมาตย์และคณะสังฆราชเวียงจันทน์ได้พร้อมกันไปขอเอาพระหน่อแก้วจากกรุงหงสาวดีคืนมาเป็นพระเจ้าแผ่นดินในปี พ.๒๑๓๔ ขณะนั้นพระชนมายุได้ ๒๐ พรรษา ทรงมีพระนามว่า "พระวรรัตนธรรมประโชติเสตตคชอัศจรรย์สุวรรณสมมุติอัครรัตนสาลราชบพิตร"

 เมื่อครองราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองและพระศาสานาให้เจริญรุ่งเรือง บ้านเมืองที่เคยแข็งข้อก็ยอมอ่อนน้อมถวายเครื่องราชบรรณาการตามเดิม ทรงเสด็จมาเมืองปากห้วยหลวงอยู่เนือง ๆ เนื่องจากยังมีพระญาติวงศ์ฝ่ายพระราชมารดาอยู่ในเมืองนี้ ทรงสร้างวัดมุจลินทอาราม เมื่อปี พ.๒๑๓๗ ให้พระมหาสังฆราชามุจลินทมุนีจุฬาโลกประทับอยู่ ดังปรากฏในศิลาจารึกวัดมุจลินทอาราม (ขก.ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๔-๖ ว่า

 "…ตนประกอบด้วยประสาทศรัทธาในพุทธศาสนาเถราภิเษกมหาสังฆนายกเจ้าให้เป็นมหาสังฆราชามุจลินทมุนีจุฬาโลก ในมุจลินทอารามเมืองห้วยหลวง…"

 นอกจากนี้ ยังมีพระบรมราชโองการประกาศในศิลาจารึกหลักนี้ด้วยว่า ให้วัดดมุจลินทอาราม เป็นสถานที่ปลอดอาญาแผ่นดิน คือผู้ใดทำผิดพระราชอาญาถ้าหนีเข้ามาอยู่ในบริเวณวัด (แม้เท้าหนึ่งยังอยู่ข้างนอก เท้าหนึ่งเข้าในเขตวัดแล้ว ก็ถือว่าอยู่ในเขตปลอดอาญาแผ่นดินถือว่าโทษอาญาแผ่นดินที่กระทำไว้ให้ยกเลิกแม้แต่โทษประหารชีวิตก็ให้อภัยแก่ชีวิต เพียงแต่นำดอกไม้ธูปเทียนมาบูชาพระรัตนตรัยและทำการสอบสวน ถ้าผิดจริงก็ให้ปรับไหมแก่ผู้เสียหาย แล้วให้ใช้ชีวิตอยู่ในบริเวณวัด "…เพือให้เป็นนรหิตถาวรกับพระศาสนา…" ทำงานในวัดตั้งแต่นั้นเป็นต้นไป

 จากข้อความในศิลาจารึกวัดมุจลินทอาราม แสดงว่าพระเจ้าวรรัตนธรรมประโชติฯ ให้ความสำคัญกับเมืองปากห้วยหลวงเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับยกฐานะของเมืองเป็นถึงเมืองแห่งพุทธศาสนา โปรดเกล้าฯ ให้พระสังฆราชประทับอยู่ และทำนุบำรุงเมืองให้เป็นเมืองปลอดอาญาแผ่นดิน พระองค์ครองราชย์อยู่จนถึงปี พ.๒๑๔๑ ก็เสด็จสวรรคต

 เมืองปากห้วยหลวงในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ มีฐานะเป็นเมืองสำคัญต่อการเมืองการปกครองของราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์มาก เพราะพระเจ้าแผ่นดินราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ๒ พระองค์ คือเชื้อราชวงศ์ที่มาจากเมืองปากห้วยหลวง ดังนั้นเมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าวรรัตนธรรมประโชติฯ แล้ว เชื้อพระวงศ์ที่ครองเมืองเวียงจันทน์สืบต่อมานั้นก็ให้ความสำคัญกับเมืองปากห้วยหลวงไม่น้อยเช่นกัน ดูจากหลักฐานศิลาจารึกที่มีผู้มาสร้างไว้อย่างต่อเนื่องมาจนถึงสมัยพระสุริยวงศา (ศิลาจารึก ใช้พระนามว่า "พระมหาพรหมเทโวโพธิสัตว์") แต่หลังจากนั้น (พุทธศตวรรษที่ ๒๓ไม่ปรากฏศิลาจารึก หรือพงศวดารลาวกล่าวถึงเมืองปากห้วยหลวงอีกเลย ทั้งนี้นักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่าเมืองปากห้วยหลวงน่าจะยังมีความสำคัญอยู่ เพราะเคยเป็นเมืองใหญ่มาแต่โบราณ

 เมืองปากห้วยหลวงสมัยขึ้นกับราชธานีไทย

 ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๔ กล่าวถึงเมืองโพนพิสัย หรือเมืองปากห้วยหลวงไว้น้อยมาก จนไม่สามารถสืบค้นได้ว่าผู้ใดเป็นเจ้าเมืองในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ หลักฐานการเปลี่ยนชื่อเมืองจากเมืองปากห้วยหลวงมาเป็นเมืองโพนแพน (ปัจจุบันออกเสียงว่าโพนแพงจนกระทั่งเป็นเมืองโพนพิสัย ก็ไม่ปรากฏ แต่ด้วยลักษณะที่ตั้งของเมืองปากห้วยหลวง หรือเมืองโพนพิสัยที่เรียกกันมาถึงทุกวันนี้ อยู่บนพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การตั้งบ้านแปงเมืองมีชุมชนขนาดใหญ่อาศัยตั้งหลักปักฐานกันที่นี่มาตั้งแต่โบราณกาล ขณะที่เวียงจันทน์เป็นศูนย์กลางการปกครอง เมืองปากห้วยหลวงหรือเมืองโพนพิสัยก็มีฐานะประหนึ่งหัวเมืองรอง เพราะมีเชื้อพระวงศ์ที่ใกล้ชิดกับเจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์มาปกครอง และความสัมพันธ์เช่นนี้ ก็น่าจะต่อเนื่องมาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ด้วย จนกระทั่งศูนย์กลางอำนาจการปกครองได้ย้ายมาอยู่ที่กรุงเทพฯ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองโพนพิสัยก็น่าจะเป็นหัวเมืองฝั่งลุ่มแม่น้ำโขงของกรุงเทพฯ ด้วยเช่นกัน

 ช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เรียกปากห้วยหลวงว่าเมืองโพนแพนหลังปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์ เมื่อ พ.๒๓๖๙๒๓๗๐ โปรดเกล้าฯ ให้ท้าวสุวอ บุตรหลานเจ้าเมืองยโสธร ซึ่งได้รับความดีความชอบในการช่วยทัพหลวงจากกรุงเทพฯ ปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ ให้เป็พระปทุมเทวาภิบาล เจ้าเมืองหนองคาย เมื่อ พ.๒๓๗๐ และในครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯให้ท้าวตาดี บุตรพระขัตติยวงศา (สีลัง)เจ้าเมืองร้อยเอ็ด เป็นพระพิชัยสุริ-ยวงศ์ เจ้าเมืองโพนแพนด้วย (โพนพิสัย น่าจะมาจากพระราชทินนามของเจ้าเมือง คำถิ่นลาวอีสานออกเสียง "พิชัยเป็น "พิซัยแต่ก่อนอาจจะเรียกเมืองโพนแพนเป็นเมืองโพนพระพิชัย ภายหลังจึงเปลี่ยนมาเป็นเมือง โพนพิสัย ; ผู้เรียบเรียง อมรรัตน์ ปานกล้า)

 พระพิชัยสุริยวงศ์ ครองเมืองโพนแพนอยู่ระยะหนึ่ง จึงกลับมาเมืองร้อยเอ็ด เมื่อพระขัตติยวงศา (สีลังผู้เป็นบิดาถึงแก่อนิจกรรม พ.๒๓๘๙ เพื่อจัดงานศพ ครั้งนั้นได้ลงมากรุงเทพฯ พร้อมกับอุปราช (สิงห์ราชวงศ์ (อินทร์เมืองร้อยเอ็ด เพื่อเข้าเฝ้ารัชกาลที่ ๓ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าเมืองโพนแพนกลับไปรักษาเมืองร้อยเอ็ด ครั้นกลับมาถึงเมืองร้อยเอ็ดแล้ว กรมการเมืองร้อยเอ็ดที่ติดตามไปด้วยไม่พอใจที่พระพิชัยสุริยวงศ์ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นเจ้าเมืองร้อยเอ็ด (พระพิชัยสุริยวงศ์เป็นพี่ต่างมารดากับอุปราช(สิงห์จึงให้คนเข้าลอบทำร้ายพระพิชัยสุริยวงศ์(ท้าวตาดีจนถึงแก่อนิจกรรม รัชกาล

ที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้พระรัตนวงศา (ภูเจ้าเมืองสุวรรณภูมิจับตัวอุปราช (สิงห์และบุตรหลานของพระขัตติยวงศา (สีลังไปชำระคดีความที่กรุงเทพฯ อุปราช (สิงห์ถูกตัดสินจองจำอยู่ที่กรุงเทพฯ จนถึงสิ้นชีวิต

 จากนั้นไม่พบหลักฐานว่าได้โปรดเกล้าฯ ให้ผู้ใดเป็นเจ้าเมืองโพนแพนต่อจากพระพิชัยสุรยวงศ์ (ตาดีกระทั่งรัชกาลที่ ๕ เรียกเมืองปากห้วยหลวงโบราณ หรือเมืองโพนแพนเป็นเมืองโพนพิสัย (เอเจียน แอมอนิเย บันทึกการเดินทางในลาว พ.๒๔๓๘ เรียกว่า เมืองโพนพิสัยเกิดเหตุโจรฮ่อยกพวกมาปล้นสดมภ์ตามชายพระราชอาณาเขตจนถึงเวียงจันทน์และหนองคาย เมื่อ พ.๒๔๑๘ และตั้งมั่นอยู่ที่เวียงจันทน์ ครั้งนั้นพระปทุมเทวาภิบาล (เคนเจ้าเมืองหนองคาย มาช่วยราชการพระยามหาอำมาตยาธิบดี (ชื่น กัลยาณมิตรที่เมืองอุบลราชธานี สั่งให้กรมการเมืองหนองคายอยู่ดูแลเมือง เมื่อโจรฮ่อบุกปล้นสดมภ์ ก็เกิดความกลัวพากันหลบหนีไม่อยู่ป้องกันเมือง ฝ่ายเจ้าเมืองโพนพิสัย คือพระพิสัยสรเดช (หนูได้รับคำสั่งจากเมืองอุบลฯ ให้เกณฑ์คนไปช่วยเวียงจันทน์ พอไปถึงหนองคาย เจ้าเมืองโพนพิสัยเกิดกลัวโจรฮ่อขึ้นมา จึงหวนกลับไม่คิดสู้ป้องกันเมือง เมื่อพระยามหาอำมาตยาธิบดี (ชื่น กัลยาณมิตรเกณฑ์ทัพจากหัวเมืองลาว เขมรฝ่ายตะวันออกมาถึงหนองคายและปราบฮ่อจนแตกหนีไปทางทุ่งเชียงคำแล้ว จึงรับสั่งให้หาตัวกรมการเมืองหนองคายและเจ้าเมืองโพนพิสัย มาตัดหัวประหารชีวิต เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างอีกต่อไป

 เมืองโพนพิสัย หลังการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองอีสาน

 เมื่อ พ.๒๔๓๖ (รศ.๑๑๒สยามถูกกดดันจากฝรั่งเศส ห้ามไม่ให้มีกองทหารติดอาวุธอยู่ในบริเวณ ๒๕ กิโลเมตรจากชายแดน จึงโปรดเกล้าฯให้ย้ายที่ทำการมณฑลลาวพวนจากเมืองหนองคายมาตั้งอยู่ที่บ้านเดื่อหมากแข้ง เมืองโพนพิสัยมีฐานะเป็นหัวเมืองจัตวา ภายหลังเปลี่ยนมาเป็นอำเภอโพนพิสัย ขึ้นกับเมืองอุดรธานี เมื่อ พ.๒๔๕๐ ต่อมา พ.๒๔๕๘ อำเภอเมืองหนองคาย ซึ่งเคยเป็นอำเภอหนึ่งของเมืองอุดรธานี ได้รับการยกฐานะให้เป็นจังหวัดหนองคาย อำเภอโพนพิสัยจึงได้ขึ้นกับจังหวัดหนองคายตั้งแต่นั้นมา

 เมืองเวียงคุก (เวียงคำ) – ซายฟอง

 เมืองเวียงคุก ตั้งอยู่ที่บ้านเวียงคุก ต.เวียงคุก อ.เมือง จ.หนองคาย ส่วนเมืองซายฟองนั้นอยู่ตรงกันข้ามกับเวียงคุก ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง ในอดีต คือเมืองเดียวกัน คล้ายกันกับเวียงจันทน์ที่เป็นเมืองเดียวกับเมืองพานพร้าว (ศรีเชียงใหม่ยังเป็นที่วิเคราะห์กันไม่จบว่า ระหว่างเวียงคุก ฝั่งไทยกับเมืองซายฟอง ฝั่ง สปป.ลาว เมืองไหนจะเป็นเมืองเวียงคำคู่แฝดเมืองเวียงจันทน์ ที่เคยมีความสำคัญมากในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๙

 ลำดับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเมืองเวียงคุก มีปรากฏไว้ในมุขปาฐะพื้นบ้านตำนานอุรังคธาตุ กระทั่งหลักฐานทางโบราณคดี ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า เมืองเวียงคุกเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๘ -๑๙ ซึ่งเป็นช่วงที่กลุ่มชนลาวล้านช้างได้อพยพลงมาจากแคว้นทางใต้และเข้าครอบครองดินแดนบ้านเมืองแถบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองเวียงจันทน์ - เวียงคำ

 เวียงคุกในพุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๕ ดังที่กล่าวมาแล้วว่า เมืองเวียงคำ (เวียงคุกเป็นคู่แฝดของเมืองเวียงจันทน์ ในขณะที่ศูนย์อำนาจการปกครองของพวกลาวล้านช้างยังอยู่ทางแคว้นเหนือ (ตั้งแต่บริเวณเมืองชะวา - หลวงพระบาง ไปถึงหนองแสตอนใต้ของจีนชุมชนบ้านเมืองในแถบลุ่มแม่น้ำโขงที่ตั้งเมืองเวียงจันทน์ - เวียงคุก (เวียงคำคือกลุ่มที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่าส่วนหนึ่งของเจนละบก ซึ่งหลักฐานที่มีอยู่ในเมืองเวียงคุกเริ่มปรากฏชัดขึ้นในสมัยทวาราวดีตอนต้น จนถึงตอนปลาย เนื่องจากพบทั้งเทวรูปหินสมัยก่อนพระนคร (นครวัด - นครธมที่วัดยอดแก้ว สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นรูปเคารพพระอิศวร ของกลุ่มผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู นอกจากนี้ก็มีเสมาหินในพระพุทธศาสนาสมัยทวาราวดีอีกมากตามโบราณสถานวัดวาอารามเก่าในเขตเมืองเวียงคุก รวมทั้งศิลปสมัย ทวาราวดีแบบลพบุรีด้วย

 ในตำนานพระอุรังคธาตุ ระบุว่ามีกลุ่มคนทางแคว้นศรีโคตรบูรณ์ อพพยจากเมืองร้อยเอ็ดมาตั้งเมืองที่ปากห้วยคุคำ ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่มีการตั้งบริเวณหนองคันแทเสื้อน้ำของเมืองสุวรรณภูมิแต่ก่อนเป็นเมืองเวียงจันทน์ แสดงว่าในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๕ ชุมชนเมืองเวียงคุกเคยเป็นบ้านเป็นเมืองมาก่อนหน้านี้ แล้วต่อมาจึงได้พัฒนามากขึ้นตามลำดับการรับเอาอิทธิพลวัฒนธรรมที่กลุ่มคนจากแคว้นทางใต้นำมาจากบ้านเมืองของตน และผสมกลมกลืนกับวัฒนธรรม หรือมีอิทธิพลเหนือกว่าในลำดับต่อมา ซึ่งรูปแบบการแย่งชิงอำนาจเหนือดินแดนอื่น โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกลจากศูนย์กลางการปกครองอย่างเวียงจันทน์ - เวียงคุก (เวียงคำอาจเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เช่นอยู่ในรูปแบบของการแผ่อิทธิพลทางความคิด ความเชื่อ มากกว่าจะเป็นการแย่งชิงด้วยอาวุธและกำลังทหาร

 ลำดับต่อมาเมื่อขอมเรืองอำนาจ สามารถแผ่อิทธิพลไปทั่วดินแดนสุวรรณภูมิจนถึงลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางนี้ด้วย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ -๑๗ ซึ่งพบพระพุทธรูปหินรวมทั้งศิลาจารึกและปราสาทขอมโบราณกระจายอยู่ทั่วไปในเขตเวียงคุก และซายฟอง (ที่ชัดเจนที่สุดคือ เทวรูปฉลองพระองค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เวียงคุกพบที่วัดยอดแก้ว ส่วนซายฟองก็พบพร้อมปราสาทขอมแสดงว่าชุมชนเมืองเวียงคุกในสมัยนั้นคงมีขนาดใหญ่และมีความสำคัญขนาดที่กษัตริย์ขอมโบราณต้องแผ่อิทธิพลมาให้ถึง

 สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๘ - ๑๙ ตรงกับช่วงการสร้างบ้านแปงเมืองของอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า ชาวสยาม ชาวสุโขทัย ก็คือกลุ่มชนในลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางเวียงจันทน์ - เวียงคำ (เวียงคุกที่พัฒนาการเมืองการปกครองจนกระทั่งสามารถขับไล่อำนาจขอมให้พ้นไปจากแว่นแคว้นของตนเองได้ พร้อมทั้งทำการแผ่อิทธิพลของกลุ่มตนไปยังดินแดนที่เคยเป็นของขอมมาก่อนด้วย สรุปว่าชาวสยาม สุโขทัย คือกลุ่มที่อพยพไปจากเมืองเวียงจันทน์ - เวียงคำนั่นเอง

 พงศาวดารล้านช้าง เคยมีกล่าวถึงเวียงคำในสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม (ครองเมืองล้านช้าง เชียงทอง พ.. 1896 - 1915) ได้รวบรวมอาณาจักรล้านช้าง โดยนำกำลังทหารจากกัมพูชาขึ้นมาตามแม่น้ำโขง เข้าตีเมืองรายทางจนถึงปากซัน จึงเข้าตีเมืองพวนแล้วให้ท้าวเทียมคำยอ ลูกพระนายีหิน เจ้าเมืองพวนครอง และนำกำลังชาวพวนเข้าตีเมืองจันทบุรี (เวียงจันท์โดยล่องมาตามแม่น้ำงึม จากนั้นจึงได้เข้าตีเมืองไผ่หนามของพระยาเภา แต่เข้าตีเมืองไผ่หนามไม่ได้เพราะมีแนวกำแพงเมืองเป็นกอไผ่หลายชั้น จึงใช้อุบายทำกระสุนทองคำ (ประวัติศาสตร์ลาวของสิลาวีระวงส์ ใช้คำว่าลูกหน้าไม้เกียงเงินเกียงคำยิงโปรยเข้าไปในก่อไผ่ ชาวเมืองเกิดความโลภพากันตัดกอไผ่ทิ้งเพื่อหากระสุนทองคำ พระเจ้าฟ้างุ้มจึงบุกเข้าชนช้างกับพระยาเภา เจ้าเมืองไผ่หนามเป็นเวลานานไม่สามารถเอาชนะกันได้จึงยอมเป็นพันธมิตรกัน และเปลี่ยนชื่อเมืองไผ่หนามเป็น "เวียงคำเมื่อ พ.๑๘๙๙ (ประวัติศาสตร์ลาว ของสิลา วีระวงศ์ กล่าวถึงตอนนี้ว่าพระเจ้าฟ้างุ้ม ยกพลตีเมืองได้โดยง่าย เมื่อชาวเมืองพากันตัดกอไผ่หาทองคำ โดยพระเจ้าฟ้างุ้มเห็นดังนั้น จึงตรัสสั่งให้ทหารจุดไฟเผากอไผ่จนราบเรียบ จับพระยาเภาใส่กรงขึ้นไปเชียงทอง แต่พอไปถึงบ้านถิ่นแห้งพระยาเภาก็ถึงแก่อสัญกรรม)

 เวียงคำที่ประดิษฐานพระบาง ๑๔๓ ปี

 ชาวล้านช้างแต่ก่อนนับถือผี มีการฆ่าสัตว์เลี้ยงบูชาแถนและผีบรรพบุรุษกันอย่างเอิกเกริก จนพระนางแก้วเก็งยา(แก้วกัลยาอัครมเหสีของพระเจ้าฟ้างุ้ม ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์เขมร ที่เคยเติบโตอยู่บนดินแดนพระพุทธศาสนา ต้องตรัสขอให้พระเจ้าฟ้างุ้มสถาปนาพระพุทธศาสนาในดินแดนอาณาจักรล้านช้าง จึงเป็นเหตุเริ่มต้นให้พระสงฆ์จากเขมรได้ขึ้นไปเผยแพร่ในอาณาจักรล้านช้างตั้งแต่นั้นมา โดยพระเจ้านครหลวง กษัตริย์เขมรพระราชบิดาของพระนางแก้วเก็งยา ได้นิมนต์พระมหาปาสมันตเถระเจ้า และพระมหาเทพลังกา พร้อมด้วยพระสงฆ์อีก ๒๐ รูป นักปราชญ์ผู้รอบรู้ในพระไตรปิฎกอีก ๓ คน อีกทั้งช่างศิลปะทั้งหลาย และข้าทาสบริวาร ญาติโยมพระสงฆ์ อีก ๕,๐๐๐ คน จากเมืองนครหลวง อัญเชิญ "พระบางไปยังเชียงทอง เมื่อ พ.๑๙๒๐

 คณะผู้อัญเชิญพระบางได้หยุดพักอยู่ที่เวียงจันทน์ - เวียงคำ ให้ชาวเวียงจันทน์และชาวเวียงคำได้สักการะบูชาสมโภชน์พระบางเป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน ครั้นถึงเวลาเดินทางเกิดปาฏิหาริย์เมื่อไม่สามารถหามพระบางขึ้นแม้จะใช้คนสักเท่าไหร่ก็ตาม จึงจับสลากเสี่ยงทายดู ในสลากบอกว่า "เทพเจ้าผู้รักษาพระบาง มีความประสงค์จะให้พระบางสถิตย์อยู่เวียงคำนี้ก่อนดังนั้นคณะผู้รักษาพระบางจึงได้มอบให้เจ้าเมืองเวียงคำรักษาและสักการะบูชาต่อไป จนถึง พ.๒๐๔๘ รัชกาลพระเจ้าวิชุลราช จึงให้อัญเชิญพระบางมายังเชียงทอง โดยขึ้นไปทางบกผ่านไปทางอำเภอท่าบ่อ - ศรีเชียงใหม่ ซึ่งยังคงเรียกทางโบราณนี้ว่า "ทางพระบาง"

 เวียงคุกสมัยล้านช้าง

 เมื่อลำดับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เวียงคุกผ่านพ้นอำนาจของขอม มาจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๙๒๐ แสดงว่าชาวลาวล้านช้างได้อพยพโยกย้ายเข้ามากลมกลืนอยู่อาศัยกับชาวเวียงจันทน์ - เวียงคำ (เวียงคุกและบ้านเมืองในแถบลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ถัดจากหลวงพระบางมาเรื่อย ๆ หลังจาก พ.๑๘๙๙ เวียงคุกถือเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้าง ในพงศาวดารลาวมีกล่าวถึงพระนามของผู้ครองนครเวียงจันทน์ที่เป็นเชื้อพระวงศ์กษัตริย์ ล้านช้างมาโดยตลอด แต่ไม่ปรากฎชื่อเจ้าเมืองเวียงคำ (เวียงคุกสันนิษฐานว่าเมื่อเริ่มมีการตั้งบ้านแปงเมืองใหม่หลังพ้นอำนาจขอมในสมัยล้านช้าง ศูนย์กลางการปกครองไปอยู่ที่เวียงจันทน์ เมืองปากห้วยหลวง รวมทั้งเมืองด่านอื่น ๆ เวียงคำ (เวียงคุก) จึงลดฐานะลงไปเพราะคงจะอยู่ใกล้กับเมืองเวียงจันทน์มากด้วยก็เป็นไป จึงปรากฏว่าสภาพโบราณสถาน และโบราณวัตถุต่าง ๆ ขาดช่วงการพัฒนามาตั้งแต่นั้น จนกระทั่งสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจึงปรากฏหลักฐานความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนา ขึ้นมาอีกครั้ง โดยการเสด็จออกบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุบังพวน ซึ่งเป็นศาสนสถานสำคัญของเมืองเวียงคุก ทั้งนี้หลักฐานจารึกและรูปแบบศิลปกรรมที่ผสมผสานอยู่ในพระธาตุบังพวน ชี้ให้เห็นว่าเมืองเวียงคุกเป็นที่สนใจของกษัตริย์ทั้งล้านช้างเชียงทอง และล้านช้างเวียงจันทน์ คือตั้งแต่สมัยพระเจ้าแสนหล้าไตรภูวนาถ (.๒๐๒๘ - ๒๐๓๘พระยาวิชุลราช (.๒๐๔๓ - ๒๐๖๓พระยาโพธิสาลราช (.๒๐๖๓ - ๒๐๙๓พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (.๒๐๙๓– ๒๑๑๕นับว่าเป็นรัชกาลต่อเนื่องกันมาถึง ๔ รัชกาล ที่ทรงมีพระราชกิจทางด้านศาสนา จึงน่าจะเป็นไปได้ว่าพระธาตุบังพวนพร้อมทั้งอาคารศาสนสถานในรอบ ๆ พระธาตุบังพวน และเมืองเวียงคุก ได้รับการก่อสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์มาอย่างต่อเนื่องในสมัยกษัตริย์ล้านช้าง ๔ รัชกาลนี้ ดังจะเห็นได้จากหลักฐานโบราณสถาน และโบราณวัตถุที่หลงเหลืออยู่จนถึงปัจจุบันมีจำนวนหนาแน่นขนาดที่สามารถศึกษาถึงรูปแบบศิลปะล้านช้างได้อย่างดีที่สุดของลาวและภาคอีสาน

 เมืองเวียงคุกจึงมีความสำคัญทางศาสนา เพราะเป็นที่ตั้งของพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ประจำราชอาณาจักรล้านช้าง เช่นเดียวกับพระธาตุหลวงของนครเวียงจันทน์ หลังจากสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชไม่ปรากฏว่ามีกษัตริย์ล้านช้างองค์ใดทำนุบำรุงศาสนสถานพระธาตุบังพวนต่อมา ตามหลักฐานพงศาวดารที่ปรากฏในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ทัพพระยามหากษัตริยศึกยกทัพมาตีเอาเวียงจันทน์ ในปี พ.๒๓๒๑ หลังจากที่ราชอาณาจักรล้านช้างแตกเป็น ๓ อาณาจักร (อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์กองทัพเวียงจันทน์ออกมาตั้งรับทัพไทยที่เมืองพันพร้าว เมืองพะโค เมืองเวียงคุก และเมืองหนองคาย จนถึงเมืองนครพนม ภายหลังเมื่อทัพไทยตีเมืองหนองคาย เมืองพะโค เมืองเวียงคุก ได้แล้วจึงเข้าล้อมเมืองพันพร้าวไว้จนถึง ปี พ.๒๓๒๒เมืองพันพร้าวถูกล้อมไว้นาน ๔ เดือน และพระเจ้าสุริยวงศ์ เจ้าแผ่นดินล้านช้างหลวงพระบางส่งกำลังเข้ามาตั้งล้อมเวียงจันทน์ด้านหลัง พระเจ้าสิริบุญสาร ของเวียงจันทน์จึงลอบหนีออกจากเมืองพร้อมบริวารและราชโอรส เจ้านันทเสนราชโอรสแม่ทัพเวียงจันทน์เห็นดังนั้นจึงเสียพระทัย เลยเปิดประตูเมืองให้ทัพไทยเข้าเวียงจันทน์ได้ ฝ่ายกองทัพไทยได้เวียงจันทน์ครั้งนั้นได้กวาดต้อนชาวเวียงจันทน์ มายังฝั่งเมืองพันพร้าว พร้อมกับอัญเชิญพระแก้วมรกตกับพระบาง และข้าวของมีค่าลงไปกรุงธนบุรี พร้อมกับครอบครัวชาวเวียงจันทน์และราชวงศ์ทั้งหลาย

 แสดงว่า เวียงคุกในสมัยธนบุรีเป็นเมืองปราการด่านหน้าของเวียงจันทน์ มีกำลังคนคอยอยู่ป้องกันเมืองมาโดยตลอด กระทั่งมาสูญเสียเอกราชให้กับกองทัพไทยในสมัยธนบุรี ผู้คนที่เคยอยู่เป็นกำลังเมืองก็คงจะเบาบางลงเพราะล้มตายในสงคราม และถูกกวาดต้อนไปพร้อมกับชาวเวียงจันทน์ ในสมัยนั้นนั่นเอง ภายหลังเมื่อมีเหตุกบฏเจ้าอนุ เมื่อปี พ.๒๓๖๙ - ๒๓๗๐ ชุมชนเมืองเวียงคุกก็คงจะเป็นส่วนหนึ่งของชาวเมืองเวียงจันทน์ฝั่งขวาแม่น้ำโขง ที่ถูกกวาดต้อนมาจากเวียงจันทน์หลังปราบกบฏเจ้าอนุแล้วนั่นเอง

 ปัจจุบันเมืองเวียงคุกมีฐานะเป็นตำบลเวียงคุก อยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย นอกจากเป็นแหล่งโบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดหนองคายด้วย ซากโบราณทั้งที่ใช้การได้และไม่ได้กว่า ๑๐๐ แห่ง ในเขตเมืองเวียงคำโบราณแล้ว พระธาตุบังพวนยังเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวพุทธ ทั้งในจังหวัดหนองคายและภาคอีสานมาจนถึงทุกวันนี้ และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด วันที่ ๓ กันยายน พ.๒๕๒๔ กรมศิลปากรประกาศเป็นเขตโบราณสถาน

 เมืองพานพร้าว (ศรีเชียงใหม่)

 มีเอกสารปรากฏชื่อเมืองพานพร้าวอยู่หลายชื่อ เป็นเมืองพันพร้าวในพงศาวดารลาว (ประวัติศาสตร์ลาว สิลา วีระวงศ์ เรียบเรียงบางแห่งเป็นธารพร้าว หรือพั่งพ่าว ซึ่งต่างก็หมายถึงเมืองพานพร้าว ที่เป็นชื่อเมืองโบราณ ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ลาว มาตั้งแต่ พ.๒๐๗๘ เป็นต้นมา

 เมืองพานพร้าว เป็นตำบลที่ตั้งอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคายปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของเมืองเวียงจันทน์ โดยเริ่มต้นเป็นบ้านเป็นเมืองมาพร้อม ๆ กับการตั้งเมืองเวียงจันทน์ในสมัยทวาราวดีตอนปลาย (พุทธศตวรรษที่ ๑๔๑๖) "…บริเวณนี้เป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่อยู่สองฝั่งแม่น้ำโขงลักษณะเป็นเมืองอกแตก และมีรูปร่างไม่สม่ำเสมอเป็นแบบเมืองทวาราวดีทั่วไป ทางฝ่ายเวียงจันทน์ร่อยรอยของกำแพงดินและคูน้ำยังอยู่ในสภาพที่เห็นได้ชัดเจน แสดงถึงการขุดลอกและบูรณะในระยะหลัง ๆ ลงมานอกจากนั้นยังมีการขยายคัดดิน ซึ่งอาจจะเป็นถนน หรือดินกั้นน้ำเป็นรูปสี่เหลี่ยมไปทางด้านเหนืออีกด้วย ส่วนทางศรีเชียงใหม่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง คูเมืองและคันดินอยู่ในลักษณะที่ลบเลือน แสดงให้เห็นถึงการทิ้งร้างมานาน โบราณวัตถุ - สถานที่พบในเขตเมืองโบราณทั้งสองฟากนี้ มีตั้งแต่สมัยทวาราวดีลงมาจนถึงล้านช้างและอยุธยา…" (รศ.ดร.ศรีภักดิ์ วัลลิโภดม เรื่องแอ่งอารยธรรมอีสาน)

 ลำดับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เมืองพานพร้าว จึงสรุปได้ว่า ชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณสองฟากแม่น้ำโขง ทั้งฝั่งเวียงจันทน์และเมืองพานพร้าวในยุคเริ่มต้นการสร้างบ้านแปงเมือง คือกลุ่มเดียวกัน มีวัฒนธรรมประเพณีเดียวกัน (ตั้งแต่ยุคดั้งเดิมที่กลุ่มคนพื้นเมืองยังนับถือผีและนาคบริเวณที่ตั้งเมืองพานพร้าวในอดีตหรืออำเภอศรีเชียงใหม่ปัจจุบัน จึงน่าจะเป็นชุมชนบ้านขนาดใหญ่ ในขณะที่เมืองเวียงคุก - ซายฟอง เริ่มต้นพัฒนาเป็นบ้านเป็นเมืองมาก่อน พอมาถึงสมัยที่เวียงจันทน์ กลายเป็นบ้านเป็นเมือง ชุมชนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงก็คงจะเริ่มขยายตัวมากขึ้นไปพร้อม ๆ กับเวียงจันทน์ แต่ไม่มีความสำคัญมากนัก จึงยังไม่มีชื่อเฉพาะเรียกชุมชนบริเวณฝั่งซ้าย จนกระทั่ง พ.๒๐๗๘ ซึ่งเป็นระยะหลังของราชอาณาจักรล้านช้างเชียงทอง (หลวงพระบางที่ได้แผ่อิทธิพลครอบคลุมไปทั่วทั้งดินแดนทางใต้และตะวันตกของอาณาจักรแล้ว

 เป็นที่ตั้งของชาวล้านนา ในรัชกาลพระเจ้าโพธิสาลราช ผู้ครองนครเชียงทองของอาณาจักรล้านช้าง (ครองราชย์ พ.๒๐๖๓ - ๒๐๙๓ทรงมีนโยบายที่จะปรับปรุงให้เวียงจันทน์เป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองของอาณาจักรล้านช้างมากขึ้น เพื่อแทนที่นครเชียงทองซึ่งตั้งอยู่ในยุทธภูมิที่ทุรกันดาร ทั้งอยู่ใกล้กับข้าศึกคือพม่า ในรัชกาลนี้ยังมีความสัมพันธ์อันดีกับราชอาณาจักรล้านนาดังปรากฏในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์และกลายมาเป็นตำนานของเมืองศรีเชียงใหม่มาจนถึงปัจจุบัน

 เมื่อ พ.๒๐๗๗ ทรงจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้นที่เวียงจันทน์ เจ้าสาวของพระองค์คือ "เจ้าหญิงยอดคำทิพย์พระราชธิดาพระเจ้าเกษเกล้าแห่งล้านนาเชียงใหม่ ทรงแต่งขบวนขันหมากรับเจ้าหญิงเชียงใหม่อย่างมโหฬาร จนขบวนขันหมากพร้าว (มะพร้าวต้องมาคอยรับอยู่ถึงบริเวณนี้ จึงเรียกสืบต่อกันมาว่า "เมืองพานพร้าวส่วนชาวเชียงใหม่บริวาร

ของเจ้าหญิงยอดคำทิพย์ที่ตามเสด็จมาจากเชียงใหม่ คงมีจำนวนมากพระองค์จึงแยกสลายให้ผู้ชายอยู่ที่ "บ้านหัวซาย" (ซาย หมายถึงผู้ชายปัจจุบันเข้าใจผิดกลายเป็นหัวทราย ส่วนผู้หญิงให้อยู่ "บ้านกองนาง" (นาง หมายถึงผู้หญิงซึ่งต่อมาชาวเชียงใหม่เหล่านี้ก็คงจะอาศัยอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงนี้ รวมทั้งเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์งานศิลปะและเผยแพร่วัฒนธรรมอันดีงานของชาวล้านนาให้กับชุมชนชาว เวียงจันทน์สมัยนั้นด้วย ก่อนหน้านี้เมื่อ พ.๒๐๖๕ ทรงแต่งราชฑูตไปขอเอาพระไตรปิฎกและพระสังฆราชเจ้า จากพระเมืองแก้ว พระเจ้าแผ่นดินเชียงใหม่ มายังกรุงศรีศัตนาคนหุต (เวียงจันทน์เพื่อสืบพระศาสนาให้รุ่งเรือง จากลำดับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์การรับชาวเชียงใหม่ ถึง ๒ ครั้ง ในสมัยพระเจ้าโพธิสารราชเจ้า แสดงว่าชุมชนส่วนใหญ่ของเวียงจันทน์ในสมัยนั้น คงประกอบด้วยชาวเชียงใหม่เป็นส่วนใหญ่เลยทีเดียว (ชาวลาวกำแพงนคร เวียงจันทน์ พูด "เจ๊าหรือ "เจ้าเหมือนชาวเชียงใหม่และชาวเหนือของไทยมาจนถึงทุกวันนี้)

 เมืองพานพร้าวสมัยอาณาจักรล้านช้านรุ่งเรือง

 เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงย้ายราชธานีจากหลวงพระบางมายังเวียงจันทน์ในปี พ.๒๑๐๓ แล้วทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ดำเนินตามรอยบรรพชนผู้สร้างนครเวียงจันทน์ด้วยการบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุสำคัญซึ่งเคยกล่าวไว้ในตำนานตั้งแต่โบราณทั้งนี้พระพุทธศาสนาในเวียงจันทน์ ยังเข้มแข็งเต็มไปด้วยพลเมืองผู้มีศรัทธาปสาทะในพระพุทธศาสนา นั่นก็คือชาวล้านนาเชียงใหม่พลเมืองส่วนหนึ่ง (และส่วนใหญ่ของนครเวียงจันทน์ โดยเฉพาะฝั่งเมืองพานพร้าว ด้านซ้ายแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นผู้เคยอาศัยอยู่ในถิ่นที่เจริญรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนามาก่อน จึงได้นำศิลปวิทยาการต่าง ๆ เผยแผ่ลงในดินแดนล้านช้าง - เวียงจันทน์ จนเป็นผลให้สมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชมีศิลปวัตถุสถานที่ผสมผสานกันระหว่างแบบล้านนา กับแบบล้านช้าง ดังนี้คือ

 "พระเจ้าองค์ตื้อ" พระพุทธรูปขนาดใหญ่หนัก 1 ตื้อ (ประมาณ ๑๒,๐๐๐ กิโลกรัม "ตื้อเป็นมาตรวัดของคนล้านนาศิลปะล้านนา สร้างเมื่อ พ.๒๑๖๕ คาดว่าเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของพระนางยอดคำทิพย์ พระบรมราชชนนีของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทั้งกำหนดเป็นพระราชพิธีที่กษัตริย์เวียงจันทน์ต้องเสด็จมานมัสการพระเจ้าองค์ตื้อทุกเดือน ๔ เสด็จพร้อมขบวนช้างมาราบ มาสักการะจากวัดท่าคกเรือ - ถึงวัดพระเจ้าองค์ตื้อ ด้วยระยะทางประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ถนนนี้จึงมีชื่อว่า "จรดลสวรรค์ถึงทุกวันนี้

 คราวนั้นเมื่อสร้างพระเจ้าองค์ตื้อเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงพระราชทาน ข้าพระเลกวัด และแบ่งเป็นเขตแดนให้เป็นเขตของพระเจ้าองค์ตื้อ ดังนี้คือ ทางทิศตะวันออก ถึงบ้านมะก้องเชียงขวา (ทางฝั่งซ้ายตรงอำเภอโพนพิสัยทิศตะวันตกถึงบ้านหวากเมืองโสม (อำเภอน้ำโสม ปัจจุบันทางทิศใต้ถึงบ้านบ่อเอือด (หรือบ้านบ่ออาดในท้องที่อำเภอเพ็ญปัจจุบันทางเหนือไม่ทราบแน่ชัดว่าถึงบ้านใด แสดงว่าในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมืองพานพร้าว กองนาง หัวซาย ศรีเชียงใหม่ มีฐานะเป็นเขตแดนของพระเจ้าองค์ตื้อ (น่าจะหมายถึงเป็นเขตแดนของพระราชมารดาด้วยประชาชนชาวเชียงใหม่ที่อาศัยอยู่ตามชุมชนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงบริเวณดังกล่าวก็คือ ข้าทาสบริวารของพระเจ้าองค์ตี้อ ไม่ต้องส่งส่วยสาอากรให้กับทางราชการตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา

 เมืองพานพร้าวในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมืองพานพร้าวเป็นเมืองปราการด่านหน้าพร้อมค่ายคูประตูหอรบมั่นคงแข็งแรง เป็นกำลังสำคัญในการรักษานครเวียงจันทน์ ดูจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ตอนเจ้าพระยาจักรี (รัชกาลที่๑ ) จอมทัพของพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรียกพลตีเอาเวียงจันทน์ใน พ.๒๓๒๑หลังจากตีเมืองเวียงคุก เมืองปะโค ได้แล้วยังต้องผ่านด่านเมืองพานพร้าวก่อน ปรากฏว่าต้องล้อมเมืองพานพร้าวอยู่นานถึง 4 เดือน จึงสามารถเข้าเมืองพานพร้าว และเมืองเวียงจันทน์ แสดงให้เห็นถึงลักษณะของเมืองพานพร้าวในอดีตได้อย่างหนึ่งว่า น่าจะเป็นเมืองที่มั่นทางทหาร มีเจ้าเมืองที่เก่งกล้าสามารถในการรบตั้งรบกับข้าศึกได้เป็นอย่างดี ภายหลังเมื่อล้านช้างทั้งหมดตกเป็นของไทยในสมัยกรุงธนบุรีแล้ว ตั้งแต่นั้นมาเมืองพานพร้าว รวมทั้งดินแดนฝั่งซ้ายและขวา ของล้านช้างก็อยู่ในการดูแลของไทยมาโดยตลอด อย่างไรก็ดีครั้นถึงเวลา

สงคราม เช่นกบฏเจ้าอนุ และการปราบฮ่อภายหลัง เหมือนกับว่าดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมดจะเป็นของไทยโดยสมบูรณ์ และกลายเป็นที่มั่นตามแนวชายแดนของกองทัพไทย

 เมืองพานพร้าว จึงได้กลายเป็น "ค่ายพานพร้าวค่ายที่มั่นชั่วคราวของกองทัพไทย ภายหลังได้เวียงจันทน์แล้ว (ปัจจุบันคือ บริเวณ นปข.) เจ้าพระยาจักรีแม่ทัพไทย (รัชกาลที่ ๑ทรงได้นางกำนัลของพระอัครมเหสีของพระเจ้าสิริบุญสาร "ชื่อ นางแว่น (นางคำแว่น)" เป็นอนุภรรยาด้วย ต่อมาได้เป็น "เจ้าจอมแว่นหรือคุณเสือ" พระสนมเอกรับใช้ใกล้ชิดเบื้อง

พระยุคลบาทรัชกาลที่ 1 ชาวพานพร้าว - ศรีเชียงใหม่ เชื่อว่าท่านเป็นคนพานพร้าวทั้งงามพร้อมดุจกุลสตรีในอุดมคติที่เรียกว่า "นางเขียวค้อม" (นางในอุดมคติของชาวลาวคล้ายนางนพมาศในภาคกลางและเจ้าจอมแว่นผู้นี้ทำให้กองทัพไทยไม่ทำลายเมือง จึงเรียกศึกครั้งนี้ว่า "ศึกนางเขียงค้อมโดยมีวัดนางเขียวค้อมอยู่ในศรีเชียงใหม่ (ใต้ บก.นปข.) เป็นที่เคารพสักการะของชาวพานพร้าว - ศรีเชียงใหม่ จนถึงทุกวันนี้ (ตำนานนางเขียวค้อม ของชาวล้านช้างมีหลายตำนาน)

 คราวนั้นเจ้าพระยาจักรี ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบาง มาประดิษฐานไว้ที่ฝั่งค่ายพานพร้าว โดยสร้างหอพระแก้วชั่วคราวเพื่อการนี้ ส่วนราษฎรชาวเวียงจันทน์ ส่วนหนึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองพานพร้าว ปะโค และเวียงคุก จากนั้นจึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางพร้อมทั้งนำเชื้อพระวงศ์เวียงจันทน์ ข้าราชการ กรมการเมือง รวมทั้งราษฎรชาวเวียงจันทน์ที่เหลือลงไปกรุงเทพฯ

 เมืองพานพร้าวในสมัยเจ้าอนุวงศ์ เจ้าอนุวงศ์เป็นพระอนุชาองค์ที่ ๓ ของพระเจ้าสิริบุญสาร ลงไปกรุงเทพฯ เมื่อครั้งศึกเวียงจันทน์ - กรุงธนบุรี ได้ศึกษาวิชาความรู้อยู่ในกรุงเทพฯ จนกระทั่งอายุได้ ๓๗ ปี จึงได้ขึ้นครองราชย์ล้านช้างเวียงจันทน์ แทนเจ้าอินทวงศ์ ผู้เป็นพระเชษฐา ในปี พ..๒๓๔๖ มีพระนามตามศิลาจารึกว่า "พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ที่ ๓หรือ "พระสีหะตะนุ"

 เวียงจันทน์ รวมทั้งเมืองพานพร้าวในสมัยเจ้าอนุวงศ์ เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้ง ทรงดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามทั้งในเวียงจันทน์ และเมืองใกล้เคียง รวมทั้งเมืองพานพร้าวด้วย ทรงสร้างวัดขึ้นที่ฝั่ง พานพร้าว คือวัดช้างเผือก และสร้างหอพระแก้วขึ้นที่วัดช้างเผือกนี้ด้วย เพื่อเป็นที่ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ทั้งยังสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงขึ้นที่ฝั่งวัดช้างเผือกมายังฝั่งเวียงจันทน์ ดังหลักฐานจากศิลาจารึก ณ หอพระแก้ว (เป็นศิลาจารึกขนาดใหญ่ที่สุดของภาคอีสาน อ่านโดย ศ.ธวัช ปุณโณทกระบุว่า พ.๒๓๕๕กษัตริย์ทรงสร้างวัดนี้และถวายปัจจัยทานต่าง ๆ จำนวนมากทั้งทรงสร้าง "สะพานข้ามแม่น้ำโขงบริเวณนี้ด้วย จึงแสดงให้เห็นว่า สมัยเจ้าอนุวงศ์ที่ทรงมีความตั้งพระทัยจะกอบกู้เอกราชคืนจากไทย ได้พยายามจะวางรากฐานเมืองใหม่ โดยเฉพาะเมืองพานพร้าว ซึ่งเคยเป็นปราการด่านหน้าของเวียงจันทน์ ก็ยังให้ความสำคัญเช่นเดิม

 จนถึง พ.๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์เริ่มทำการกบฎต่อไทย ถึงกับยกทัพชาวลาวเวียงจันทน์ลงไปกวาดต้อนเอาชาวเวียงจันทน์ในเขตหัวเมืองของไทยกลับมาเวียงจันทน์ แต่ไปแพ้อุบายของไทยที่นครราชสีมา ทัพลาวจึงหนีคืนมาเวียงจันทน์ดังเดิม รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ พลเสพ แม่ทัพหลวงยกทัพมาตีเวียงจันทน์อีกครั้ง เดือนพฤษภาคม พ.๒๓๗๐ ทัพหลวงไทยมาตั้งมั่นที่ "ค่ายพานพร้าว" (บริเวณ นปข.หนองคายปัจจุบันโดยเจ้าอนุวงศ์พร้อมเชื้อพระวงศ์จำนวนหนึ่ง หลบหนีออกจากเวียงจันทน์ไปได้ ขณะรอการค้นหาองศ์เจ้าอนุวงศ์อยู่ที่ค่ายพานพร้าว สมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ ทรงเห็นว่าใกล้ฤดูฝนจะตามตัวเจ้าอนุวงศ์ คงไม่ได้ จึงส่งพระราชสาสน์กราบบังคมทูลรัชกาลที่ ๓ ขอยกทัพกลับกรุงเทพฯ ได้กล่าวถึงการค้นหาพระพุทธรูปสำคัญของเวียงจันทน์ ดังนี้

 "พระบางหายไปสืบหายังไม่ได้ ได้แต่พระเสริม พระใส พระสุก พระแซ่คำ (แทรกคำพระแก่นจันทน์ พระสรงน้ำ พระเงินหล่อ พระเงินบุ รวม ๙ องค์ แต่จะเอาลงไปกรุงเทพมหานครได้แต่พระแซ่คำองค์หนึ่ง"

 พระพุทธรูปที่จัดส่งไปกรุงเทพมหานครไม่ได้นั้น ได้ก่อพระเจดีย์ ณ ค่ายหลวงเมืองพานพร้าว ซึ่ง รัชกาลที่ ๑ เคยสร้างไว้ เมื่อครั้งปราบเวียงจันทน์ครั้งแรก โดยโปรดเกล้าฯให้ทหารในกองทัพรื้อกำแพงเมืองด้านศรีเชียงใหม่มาสร้าง มี

ฐานกว้าง ๕ วา สูง ๘ วา ๒ ศอก แล้วจะจารึกพระนามว่า "พระเจดีย์ปราบเวียงจันทน์เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปไว้เป็นที่สักการะ เมื่อเสด็จกลับกรุงเทพฯ แล้วทรงให้เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุญยรัตพันธ์สมุหนายก มหาดไทยคุมค่ายพานพร้าวแทน แต่อสัญกรรมด้วยไข้ป่าที่นี่ จึงเลื่อนพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนีเป็นแม่ทัพหน้าประจำค่ายพานพร้าวแทน

 จากค่ายพานพร้าวถึงค่ายบกหวานก่อนอวสานเวียงจันทน์ เจ้าอนุวงศ์กลับคืนเวียงจันทน์หลังจากหนีไปพึ่งญวน โดยมินมางหว่างเด๊ จักรพรรดิญวนส่งพระราชสาสน์ ถึงรัชกาลที่ ๓ ขอพระราชทานอภัยโทษให้เจ้าอนุวงศ์ ทั้งให้ทหารญวนคุมเจ้าอนุวงศ์ และครอบครัวมายังเวียงจันทน์ พวกทัพหน้าค่ายพานพร้าววางใจจึงให้พักอยู่ที่หอคำดังเดิม แต่ไม่ถึงสัปดาห์ วันเสาร์ที่ ๒ สิงหาคม พ.๒๓๗๑ ทหารญวนและลาวลอบฆ่าทหารไทยในเวียงจันทน์ตายไปกว่า ๓๐๐ คน เหลือรอดเกาะขอนไม้ข้ามแม่น้ำโขงกลับมาค่ายพานพร้าวได้ ๔๐ - ๕๐ คน พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนีย์จึงถอยทัพออกจากค่ายพานพร้าวมาตั้งมั่นที่ "ค่ายบกหวาน" (ตำบลค่ายบกหวาน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ปัจจุบันฝ่ายเจ้าอนุวงศ์นำทัพข้ามมารื้อพระเจดีย์ปราบเวียงจันทน์ ที่ค่ายพานพร้าว แล้วนำพระพุทธรูป (8 องค์กลับคืนเวียงจันทน์ และให้เจ้าราชวงศ์ (เจ้าเหง้าตามตีค่ายบกหวานของไทยแตก แม่ทัพไทยบาดเจ็บถอยทัพไปยโสธรจึงได้ท้าวสุวอธรรมา (บุญมาอุปฮาดยโสธร ลูกหลานพระวอ - พระตา นำกำลังเข้าสมทบยกทัพกลับมายึดค่ายบกหวาน และค่ายพานพร้าวคืนได้ ในวันอาทิตย์ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.๒๓๗๑ ส่วนเจ้าราชวงศ์ (เจ้าเหง้าโอรสเจ้าอนุวงศ์บาดเจ็บ ทหารหามออกจากสนามรบและสูญหายไปในคราวนั้นเอง ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์หนีไปเวียดนามอีกครั้ง แต่ถูกเจ้าน้อยเมืองพวน (เชียงขวางจับส่งกองทัพไทยเสียก่อนกลางทาง เวียงจันทน์ถูกทำลายทั้งกำแพง ป้อมเมือง และหอคำ (พระราชวังเหลือไว้แต่วัดวา อาราม และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ประจำเมืองพร้อมทั้งกวาดต้อนเอาชาวเวียงจันทน์มาไว้ฝั่งไทยจนเกือบหมด เหลือแต่พวกข้าพระเลกวัดที่มีหน้าที่ดูแลวัดวาอาราม เท่านั้น

 เมืองพานพร้าวในสมัยปฏิรูปการปกครอง เป็นหัวเมืองในมณฑลลาวพวน ใน พ.๒๔๓๖ ภายหลังขึ้นกับเมืองหนองคาย ต่อมาแบ่งเขตการปกครองเป็นอำเภอ จังหวัด เมืองพานพร้าว เป็นที่ตั้งของอำเภอท่าบ่อ ครั้นอำเภอท่าบ่อย้ายมาตั้งอยู่ที่บ้านท่าบ่อ (อำเภอท่าบ่อ ปัจจุบันจึงตั้งตำบลพานพร้าว เป็นอำเภอศรีเชียงใหม่ (จากตำบลได้ย้ายฐานะเป็นอำเภอโดยไม่ต้องเป็นกิ่งอำเภอสถานที่ราชการส่วนใหญ่ตั้งอยู่ที่บ้านศรีเชียงใหม่ จึงได้ชื่อว่า "อำเภอศรีเชียงใหม่มาตั้งแต่ พ..๒๕๐๐ ถือว่าเป็นอำเภอที่ใกล้ชิดกับเมืองเวียงจันทน์มากที่สุดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

 เมืองหนองคาย (บึงค่าย - บ้านไผ่)

 บริเวณที่ตั้งของตัวอำเภอเมืองหนองคายปัจจุบัน ในอดีตเป็นเพียงชุมชนหมู่บ้านเล็ก ๆ เรียกว่า "บ้านไผ่และน่าจะเป็นชุมชนหมู่บ้านในเขตการปกครองของเมืองเวียงคุก ของอาณาจักรล้านช้าง ของ (ในตำนานอุรังคธาตุ มีกล่าวไว้ว่ามีเมืองลาหนอง หรือหล้าหนอง อีกแห่งหนึ่งที่ตั้งพร้อมกับเวียงคุก - เวียงคำ ซึ่งเจ้าสังขวิชกุมารได้มาตั้งเมืองอยู่ ภายหลังได้ฐาปนาพระธาตุฝ่าตีนขวาไว้ที่เมืองนี้ด้วย)

 เมื่อกองทัพไทยยกทัพมาปราบเจ้าอนุวงศ์ ในปี พ.๒๓๖๙ - ๒๔๗๑ และตั้งมั่นอยู่ที่ค่ายพานพร้าวฝั่งตรงข้ามกับเวียงจันทน์ ภายหลังหลงกลข้าศึกจึงทิ้งค่ายพานพร้าว มาตั้งมั่นที่ "ค่ายบกหวานห่างจากค่ายพานพร้าวมาทางใต้ ๕๐ กิโลเมตร ภายหลังเมื่อรบชนะเจ้าอนุวงศ์ จึงมีการตั้งเมืองใหม่แทนที่เมืองเวียงจันทน์ ซี่งกองทัพไทยได้ทำลายจนไม่เหลือให้เป็นที่ตั้งมั่นของชาวลาวล้านช้างได้อีกต่อไป 

 บึงค่ายที่มาของเมืองหนองค่าย ค่ายบกหวานซึ่งเหมาะสมทั้งตำแหน่งสถานที่และจุดประสงค์ในการย้ายฐานการปกครองจากที่เก่า (เวียงจันทน์ - พานพร้าวมายังแห่งใหม่เมื่อรัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้ยุบยกเลิก "พระเจ้าประเทศราชเวียงจันทน์และเวียงจันทน์ให้พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนีย์เป็นเจ้าพระยาบดินทรเดชา สมุหนายกมหาดไทย และให้ตั้งเมืองใหม่ขึ้นแทนที่เวียงจันทน์ในคราวนั้นด้วย ซึ่งทั้งพระโหราธิบดีและกรมพระอาลักษณ์คงคิดผูกศัพท์ฤกษ์ชัยแล้ว โดยใช้ค่ายบกหวานเป็นนิมิต ดังนี้คือ ค่ายนี้ไม่ติดแม่น้ำ ทหารจึงต้องอาศัยน้ำจากหนองบึงมาบริโภค หนองบึงนั้นคงเรียกกันใน

คราวนั้นว่า "บึงค่ายหรือ "หนองค่ายเป็นที่ตั้งของทหารไทยจนรบชนะเวียงจันทน์ถึงสองครั้งคือ พ.๒๓๒๑ และ พ.๒๓๗๑ จึงได้ชื่อเมืองใหม่แห่งนี้ว่า "เมืองหนองค่าย" เมื่อถือหนองน้ำเป็นนิมิตเมือง จึงถือเป็น "นาคนามที่เหนือกว่า "จันทบุรี สัตนาคนหุต อุตมราชธานีของเวียงจันทน์ ที่ถือนิมิตพญาช้าง และไม้จันทน์หอม (ใช้บูชาเทพเจ้าของลัทธิพราหมณ์ดังนั้นนักปราชญ์ไทยจึงได้ใช้ "ดอกบัวซึ่งเป็นไม้พุทธอาสน์ (อาสนะพระพุทธเจ้าและเป็นไม้น้ำตามนิมิตชื่อเมืองหนองคาย และโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวสุวอธรรมา (บุญมาเป็น "พระปทุมเทวาภิบาลเมืองหนองคาย (นิมิตนามเจ้าเมืองแปลว่า "เทวดาผู้รักษาดอกบัว") ทั้งนี้เพื่อเป็นการข่มดวงเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งถือเป็นเมืองที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีต นั่นเอง

 เมื่อได้ชื่อเมืองแล้ว จึงได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นที่บ้านไผ่ ริมแม่น้ำโขง โดยตั้งกองทหารส่วนหน้าอยู่บริเวณศาลากลาง (หลังที่ ๑ และ ๒ เดิมมีถนนสายหนึ่งเรียกว่า "ถนนท่าค่ายสืบมา ทำหน้าที่ปกครองหัวเมืองลาวล้านช้าง ทั้งฝั่งซ้ายฝั่งขวาแทนเวียงจันทน์ ราษฎรเมืองหนองคายส่วนใหญ่คือชาวลาวเวียงจันทน์นั่นเอง ถือเป็นเมืองเอก ๑ ใน ๑๕ เมือง รวมเมืองขึ้น ๕๒ เมือง หลังปราบศึกเจ้าอนุวงศ์ฯ ยุบประเทศราชเวียงจันทน์แล้วหนองค่ายจังมีบทบาททางการเมืองการปกครองมากที่สุดในหัวเมืองภาคอีสาน และเป็นที่มั่นด่านหน้าของทัพไทยในการทำสงครามกับญวน ต่ออีก ๑๕ ปี (.๒๓๗๑ - ๒๓๘๖)

 ซึ่งจักรพรรดิมินมางหว่างเด๊ ของญวนเป็นพันธมิตรกับเจ้าอนุวงศ์ ทั้งมีอาณาเขตติดกับอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์เดิม เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนีย์สมุหนายกมหาดไทย จึงยกทัพรบญวนจนถึงไซ่ง่อน โดยมีเมืองหนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี ช่วยสกัดทัพด้านนี้แทน รัชกาลที่ ๓ ทรงเห็นว่าราษฎรเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ - จำปาศักดิ์ ต่างระส่ำระสาย เพราะบ้านเมืองกลายเป็นสมรภูมิ จึงทรงมีรัฐประศาสน์นโยบายให้เจ้าเมืองพาราษฎรอพยพมายังฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง โดยพระราชทานที่ทำกินและสืบตระกูลได้ จึงปรากฏว่ามีชาวเมืองพวนจากแคว้นเชียงขวาง และชาวญวน อพยพมาอยู่ฝั่งหนองคายมากขึ้น รวมทั้งนครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี สกลนคร ที่มีชาวเมืองกลุ่มต่าง ๆ เข้ามาตั้งถิ่นฐานจนถึงปัจจุบัน เช่น พวน ผู้ไทย ญวน โส้ บรู และชาวเขาเผ่าต่าง ๆ (ข่าในลาว ก็อพยพมาตั้งบ้านเรือนกระจัดกระจายอยู่ตามภาคอีสานด้วยเช่นกัน

 หนองคายกับศึกฮ่อ ครั้งที่ ๑ และ๒ ในรัชกาลที่ ๕ ชื่อเมืองหนองค่ายถูกเรียกเพี้ยนเป็นเมืองหนองคายแทน เจ้าเมืองคือพระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวเคนสืบต่อจากพระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวสุวอในปี พ.๒๓๘๑ ต่อมาเกิดศึกฮ่อที่ชายแดนติดต่อกับญวน เมื่อ พ.๒๔๑๘ ขณะนั้นพระปทุมเทวาภิบาล (ท้าวเคนลงไปราชการที่เมืองอุบลราชธานี ต้อนรับพระยามหาอำมาตย์ (ชื่น กัลยาณมิตรซึ่งไปตั้งกองสักเลกและเร่งรัดเงินส่วยที่หัวเมืองพอดี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยามหาอำมาตย์ (ชื่น กัลยาณมิตรเกณฑ์ทัพไปปราบฮ่อทันที พอไปถึงหนองคาย ทราบว่ากรมการเมืองหนองคายและโพนพิสัยกลัวฮ่อจนหลบหนีไปไม่ยอมสู้รบ ปล่อยให้ฮ่อบุกเข้ามาจนถึงเวียงจันทน์ จึงสั่งให้หาตัวกรมการเมืองที่หลบหนีศึกฮ่อในครั้งนั้นทั้งเมืองหนองคายและโพนพิสัยมาประหารชีวิตเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างอีกต่อไป ฝ่ายกองทหารฮ่อฮึกเหิมบุกเวียงจันทน์จุดไฟเผาลอกเอาทองจากองค์พระธาตุหลวงได้ แล้วยังบุกข้ามโขงจะตีเมืองหนองคาย แต่ถูกกองทัพเมืองหนองคายตีกลับอยู่ที่บริเวณตำบลมีชัยปัจจุบัน ซึ่งได้เรียกบริเวณไทยรบชนะฮ่อในครั้งนั้นว่า "ตำบลมีชัยเพื่อเป็นอนุสรณ์แล้วขึ้นไปตีศึกฮ่อจนถอยร่นไปทางทุ่งเชียงคำ (ทุ่งไหหินเหตุการณ์ก็สงบลงจนกระทั่ง พ.๒๔๒๘ จึงเกิดศึกฮ่อครั้งที่ ๒ คราวนี้มีพวกไทดำ พวน ลาว ข่า เข้าสมทบกับโจรฮ่อฉวยโอกาสปล้นทรัพย์สิน เสบียงอาหาร และเผาเรือนราษฎร โดยบุกยึดมาตั้งแต่ทุ่งเชียงขวางจนเข้าเวียงจันทน์

 การปราบศึกฮ่อครั้งที่ ๒ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ทัพฝ่ายเหนือและทัพฝ่ายใต้ ยกเข้าตีขนาบฮ่อทั้งทางหลวงที่หลวงพระบางและเวียงจันทน์ โดยทัพฝ่ายใต้ให้พันเอกพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม (ยศในขณะนั้นคุมทัพมาทางนครราชสีมา เข้าเมืองหนองคายแล้วทวนแม่น้ำโขงเข้าทางแม่น้ำงึมโดยเรือคำหยาด บุกค่ายฮ่อ เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม จนมีชัยชนะ จากนั้นคุมเชลยฮ่อมาขังไว้ที่ระหว่างวัดศรีสุมังค์และวัดลำดวน จึงเรียก "ถนนฮ่ฮมาถึงทุกวันนี้ และโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง "อนุสาวรีย์ปราบฮ่อเพื่อบรรจุอัฐิผู้เสียชีวิตในสงครามปราบฮ่อ เมื่อ พ.๒๔๒๙ ไว้ที่เมืองหนองคายด้วย

 เมืองหนองคายสมัยปฏิรูปการปกครองหัวเมืองอีสาน

 เมืองหนองคาย กลายเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ เจ้าเมืองหนองคายเดิมจึงมีบทบาทลดน้อยลง (ต่อมาเปลี่ยนเรียกหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ เป็นมณฑลลาวพวน.๒๔๓๔ พันเอกกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เสด็จกลับมาว่าราชการเป็นข้าหลวงต่างพระองศ์ที่เมืองหนองคาย เพราะหัวเมืองด้านนี้ล่อแหลมต่อการปะทะกับฝรั่งเศสที่ได้มาตั้งศูนย์บัญชาการอยู่ที่เวียงจันทน์ด้วยเช่นกัน แต่ต้องย้ายกองบัญชาการข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการมณฑลลาวพวนมาตั้งที่บ้านเดื่อหมากแข้ง เมื่อ พ.๒๔๓๖ เพราะฝรั่งเศสยื่นคำขาดไม่ให้ตั้งกองทหารภายในเขตชายแดน ๒๕ กิโลเมตร (บ้านเดื่อหมากแข้งห่างจากเมืองหนองคาย ๕๑ กิโลเมตรฝ่ายราษฎรทางฝั่งขวาเม่น้ำโขง เห็นฝรั่งเศสได้อาณาจักรเวียงจันทน์เดิมไป จึงพร้อมใจกันอพยพมาอยู่ฝั่งซ้ายของไทยมากกว่าครึ่งเมือง คือ พระศรีสุรศักดิ์ (คำสิงห์เจ้าเมืองบริคัณฑนิคม มาอยู่บ้าน "หนองแก้วเป็นเจ้าเมืองรัตนวาปี พระกุประดิษฐ์บดี (ชาลีสาลีเจ้าเมืองจันทบุรี (เวียงจันทน์อพยพมา "บ้านท่าบ่อเกลือเป็นเจ้าเมืองท่าบ่อเกลือ (อำเภอท่าบ่อปัจจุบันเป็นต้น ส่วนเมืองหนองคายได้ยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองมาเป็น "ข้าหลวงประจำเมืองหนองคายสมัยนั้นคือ พระยาสุริยเดชวิเศษฤทธิ์ (จันทน์ อินทรกำแหงส่วนราชทินนาม "พระปทุมเทวาภิบาลให้ท้าวเสือ ณ หนองคาย เจ้าเมืองจันทบุรี (เวียงจันทน์ซึ่งต่อมาเรียกตำแหน่งนี้ว่า ผู้ว่าราชการเมืองหนองคาย ในปี พ.๒๔๔๑ ตามข้อบังคับการปกครองท้องที่ ร.๑๗๗

 ต่อมามีการปรับเปลี่ยนเขตการปกครอง เป็นเขตการปกครองพิเศษบริเวณดินแดนมณฑลลาวพวน แยกเป็นบริเวณหมากแข้งขึ้นกับเมืองหนองคายซึ่งอยู่ที่อำเภอมีชัย โดยให้นายอำเภอหมากแข้งรายงานต่อผู้ว่าราชการเมืองหนองคาย แต่ถ้าเรื่องเกินอำนาจให้รายงานกลับไปยังข้าหลวงประจำบริเวณและข้าหลวงต่างพระองค์ ส่วนเรื่องทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย กราบทูลโดยตรงกับข้าหลวงต่างพระองค์ จนกระทั่งแยกการปกครองเป็นมณฑลอุดร ยุบเลิกเมืองจัตวาในบริเวณมณฑลอุดรเป็นอำเภอและขึ้นกับเมืองอุดรธานี รวมทั้ง "อำเภอเมืองหนองคายในปี พ.๒๔๕๐

 ต่อมาอำเภอเมืองหนองคาย ได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัดหนองคาย ในปี พ.๒๔๕๘ มีอำเภออยู่ในการปกครอง ๖ อำเภอ คือ อ.สังคม อ.บ้านผือ อ.ท่าบ่อ อ.โพนพิสัย อ.พานพร้าว และอ.น้ำโมง และมีการปรับยุบเมืองที่เคยเป็นอำเภอลดฐานะลงเป็นตำบลแทน เช่น อำเภอมีชัย เมืองหนองคาย เป็น "ตำบลมีชัยอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น