หลวงพ่อพระใส
หลวงพ่อพระใสเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของคนหนองคายมาแต่ช้านาน
ชาวหนองคายให้ความเคารพสักการะถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่กายมาโดยตลอด
มีการรำบวงสรวง การแห่พระใสในวันสงกรานต์
พุทธศาสนิกชนมีความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง ผู้เขียนจึงอยากจะขอนำเรื่องราวของท่านมาเสนอต่อท่านผู้อ่านให้ได้รับข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย
เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมือง ประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย
ซึ่งมีฐานะเป็นวัดอารามหลวง ตั้งอยู่ที่ถนนโพธิ์ชัย ในเขตเทศบาลเมือง ห่างจากตัวเมืองหนองคายไปประมาณ 2 กิโลเมตร ตามทาง หลวงหมายเลข 212 ทางไป
อ.โพนพิสัย วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย
หล่อด้วยทองสีสุก หน้าตักกว้าง 2 คืบ 8 นิ้ว ส่วนสูงจากพระชงฆ์เบื้อล่างถึงยอดพระเกศ ๔ คืบ ๑ นิ้วของช่างไม้
ประวัติการสร้าง
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ในหนังสือประวัติพระพุทธรูปสำคัญ ซึ่งพิมพ์แจกในงานทอดกฐินพระราชทาน พ.ศ. 2468 ว่า หลวงพ่อพระใส เป็นพระพุทธรูปหล่อในสมัยล้านช้าง และตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า พระธิดา 3 องค์ แห่งกษัตริย์ล้านช้างเป็นผู้สร้าง บางท่านก็ว่าเป็นพระราชธิดาของพระไชยเชษฐาธิราช ได้หล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ และขนานนาม พระพุทธรูปตามนามของตนเองไว้ด้วยว่า พระเสริมประจำพี่ใหญ่ พระสุกประจำคนกลาง พระใสประจำน้องสุดท้อง มีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ในหนังสือประวัติพระพุทธรูปสำคัญ ซึ่งพิมพ์แจกในงานทอดกฐินพระราชทาน พ.ศ. 2468 ว่า หลวงพ่อพระใส เป็นพระพุทธรูปหล่อในสมัยล้านช้าง และตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า พระธิดา 3 องค์ แห่งกษัตริย์ล้านช้างเป็นผู้สร้าง บางท่านก็ว่าเป็นพระราชธิดาของพระไชยเชษฐาธิราช ได้หล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ และขนานนาม พระพุทธรูปตามนามของตนเองไว้ด้วยว่า พระเสริมประจำพี่ใหญ่ พระสุกประจำคนกลาง พระใสประจำน้องสุดท้อง มีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ
การประดิษฐาน
เดิมทีนั้นหลวงพ่อพระใสได้ประดิษฐาน ณ เมืองเวียงจันทน์ พ.ศ. ๒๓๒๑ สมัยกรุงธนบุรีได้อัญเชิญไปไว้ที่เมืองเวียงคำ และถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดโพนชัย เมืองเวียงจันทน์อีก ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ เจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์เป็นกบฎ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ เป็นจอมทัพยกพลมาปราบ จึงได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม และพระใส ลงมาด้วย โดยอัญเชิญมาจากภูเขาควายขึ้นประดิษฐานบนแพไม้ไผ่ ซึ่งผูกติดกันอย่างมั่นคงล่องมาตามลำน้ำงึม เมื่อล่องมาถึงตรงบ้านเวินแท่นในขณะนั้น เกิดอัศจรรย์แท่นของพระสุกได้เกิดแหกแพจมลงไปในน้ำ โดยเหตุที่มีพายุพัดแรงจัด และบริเวณนั้นได้นามว่า "เวินแท่น"
เดิมทีนั้นหลวงพ่อพระใสได้ประดิษฐาน ณ เมืองเวียงจันทน์ พ.ศ. ๒๓๒๑ สมัยกรุงธนบุรีได้อัญเชิญไปไว้ที่เมืองเวียงคำ และถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดโพนชัย เมืองเวียงจันทน์อีก ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ เจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์เป็นกบฎ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ เป็นจอมทัพยกพลมาปราบ จึงได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม และพระใส ลงมาด้วย โดยอัญเชิญมาจากภูเขาควายขึ้นประดิษฐานบนแพไม้ไผ่ ซึ่งผูกติดกันอย่างมั่นคงล่องมาตามลำน้ำงึม เมื่อล่องมาถึงตรงบ้านเวินแท่นในขณะนั้น เกิดอัศจรรย์แท่นของพระสุกได้เกิดแหกแพจมลงไปในน้ำ โดยเหตุที่มีพายุพัดแรงจัด และบริเวณนั้นได้นามว่า "เวินแท่น"
การล่องแพก็ยังล่องมาตามลำดับจนถึงน้ำโขง
(ปากน้ำงึม) เฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ได้เกิดพายุใหญ่
เสียงฟ้าคำรามคะนองร้องลั่น ในที่สุดพระสุกได้แหกแพจมลงไปในน้ำ
ซึ่งอาการวิปริตต่างๆ ก็ได้หายไปเป็นอัศจรรย์ยิ่ง บริเวณนั้นจึงได้ชื่อว่า
"เวินสุก" และพระสุกก็จมอยู่ในน้ำตรงนั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้
ก็ยังเหลือแต่พระเสริม พระใส
ที่ได้นำขึ้นมาถึงเมืองหนองคาย พระเสริมนั้นได้ถูกอัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ
วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใส ได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดหอก่อง
(ปัจจุบันคือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ)
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔
สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและเจ้าเหม็น (ข้าหลวง)
อัญเชิญพระเสริม จากวัดโพธิ์ชัย หนองคายไปกรุงเทพฯ
และอัญเชิญพระใสจากวัดหอก่องขึ้นประดิษฐานบนเกวียนจะอัญเชิญลงไปกรุงเทพฯ ด้วย
แต่พอมาถึงวัดโพธื์ชัย หลวงพ่อพระใสได้แสดงปาฏิหาริย์จนเกวียนหักจึงอัญเชิญลงไปไม่ได้
ได้แต่พระเสริมลงกรุงเทพฯ ประดิษฐาน ณ วัดปทุมวนาราม
ส่วนหลวงพ่อพระใสได้อัญเชิญประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์ชัย อ.เมืองหนองคาย จนถึงปัจจุบัน
ความอัศจรรย์ของหลวงพ่อพระใสจนได้สมญาว่า "หลวงพ่อเกวียนหัก"
อีกหนึ่งสถานที่ที่นักท่องเที่ยวทุกคนที่มาเที่ยวที่หนองคาย
จะพลาดไม่ได้นั่นก็คือ ศาลาแก้วกู่ ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม
เหมาะแก่การมาท่องเที่ยวดูสถาปัตยกรรมที่คนโบราณได้สร้างสรรค์ไว้
อยากจะแนะนำให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักดังนี้
ศาลาแก้วกู่, อุทยานเทวาลัย หรือ วัดแขก เป็นอุทยานขนาด 42 ไร่ของสำนักปฏิบัติธรรมแก้วกู่ และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในชุมชนสามัคคี
อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
ที่ประดิษฐานรูปปั้นคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดใหญ่จำนวนรวมกว่า 200 องค์ โดยประกอบด้วยพระพุทธรูป พระรูปของพระโพธิสัตว์
เทพเจ้าฮินดู บุคคลในคริสต์ศาสนา ความเชื่อพื้นบ้าน และตัวละครจากรามเกียรติ์ อุทยานแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นโดยปู่บุญเหลือ สุรีรัตน์ ภายใต้แนวคิดว่า
"ทุกศาสนาสามารถอยู่รวมกันได้" และให้เป็น
"สถานที่แทนภาพดินแดนแห่งการหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง" ในปี พ.ศ. 2521
ภายในอุทยาน
ที่บริเวณฐานของพระรูปแต่ละองค์จะมีจารึกอธิบายชิ้นงานและแนวคิด คติเตือนใจ
เป็นภาษาอีสาน และภาษาไทย รูปปั้นที่สูงที่สุดมีความสูงราว 25 เมตร นอกจากนี้ยังมีอาคารสำนักพุทธศาสนาแก้วกู่ความสูงสามชั้น
สถาปัตยกรรมเลียนแบบมัสยิด บนหน้าบันของอาคารจารึกสัญลักษณ์โอม
และอักษรไทย ศาลาแก้วกู่ โดยชั้นบนสุดเป็นที่ตั้งร่างของ
ที่บรรจุในผอบ (อ่านว่า ผะ-อบ) และไม่เน่าเปื่อย ทำให้สร้างความอัศจรรย์แก่ผู้ที่ศรัทธาในตัวท่านเป็นอย่างมาก
ปู่บุญเหลือได้สร้างอุทยานนี้ถัดจากสวนพระ หรือ
วัดเชียงควน (Buddha Park; Wat Xieng Khuan) ที่ตั้งอยู่ในนครเวียงจันทน์
ประเทศ สปป.ลาว
แต่ท่านได้สร้างให้อุทยานแก้วกู่นี้มีงานที่มีความวิจิตรและยิ่งใหญ่กว่าที่เคยสร้างที่ประเทศลาว
สวนแห่งนี้มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับสวนแห่งโบมาร์โซ (Gardens of
Bomarzo) ที่แควันลัตชี ประเทศอิตาลี
ตลาดขึ้นชื่อของชายแดนหนองคาย
นั่นคือตลาดท่าเสด็จ เป็นสถานที่รวบรวมสินค้ามากมายหลากหลาย จากทั้งเวียดนาม จีน
ลาว ทั้งของกิน ของใช้ อาหาร ของฝากต่างๆมากมาย
อยากแนะนำให้นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวหนองคายได้มาแวะช็อป แวะชิมอาหาร
และซื้อของฝากกลับบ้านกันที่ตลาดอินโดจีน หรือตลาดท่าเสด็จหนองคาย
“ตลาดท่าเสด็จ” “ตลาดท่าเรือ” หรือ“ตลาดอินโดจีน” ไม่ว่าจะชื่อไหนก็ล้วนแล้วแต่เป็นชื่อที่ใช้เรียกขานของตลาดขนาดใหญ่ริมแม่น้ำโขงในเขตเทศบาลเมืองหนองคายเหมือนกันซึ่งที่มาของชื่อตลาดก็ตั้งกันตามลักษณะของตลาดนี่แหละครับ
อย่างชื่อแรกที่เรียกกันว่า “ตลาดอินโดจีน” ก็เป็นเพราะ
ตลาดแห่งนี้เป็นศูนย์รวมสินค้าจากหลากหลายประเทศในแถบอินโดจีนไม่ว่าจะเป็นไทยลาว
เวียดนาม จีนฯลฯส่วนที่มาของอีกสองชื่อก็เริ่มมาจาก
ในอดีตก่อนที่จะมีการสร้างสะพานมิตรภาพไทย– ลาวท่าเรือของตลาดสินค้าอินโดจีนริมแม่น้ำโขงแห่งนี้เคยถูกใช้เป็นจุดผ่านแดนถาวรสำหรับผู้ที่ต้องการจะเดินทางไปมาระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
บริเวณนี้จึงมีเรือข้ามฟากสัญจรไปมาระหว่างสองฝั่งแม่น้ำโขงอย่างคึกคักคนท้องถิ่นจึงนิยมเรียกชื่อตลาดแห่งนี้ในอีกชื่อหนึ่งว่า“ตลาดท่าเรือ” ต่อมาในปี พ.ศ.2498 ได้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช” พร้อมด้วย “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ” ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมเยียนราษฎรผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดหนองคายและได้เสด็จฯขึ้นจากเรือพระที่นั่ง
ณ ท่าเรือของตลาดสินค้าอินโดจีนแห่งนี้ภายหลัง “ตลาดท่าเรือ” จึงได้ถูกเปลี่ยนชื่อไปเป็น “ตลาดท่าเสด็จ” และเรียกติดปากกันมาจนปัจจุบัน
ประเภทของสินค้าที่มีจำหน่ายอยู่ในตลาดท่าเสด็จนี้ก็หลากหลายไม่แพ้ที่ไหนๆเริ่มกันตั้งแต่ข้าวของเครื่องใช้ธรรมดาๆ
เครื่องไฟฟ้า ของเด็กเล่น เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า
เครื่องประดับผ้าทอมือเครื่องครัว เครื่องกระเบื้อง ของแต่งบ้าน เครื่องมือช่าง
ขนมขบเคี้ยว ของแห้ง
ผลไม้สดผลไม้แห้งแม้กระทั่งอาหารปรุงสำเร็จก็มีให้เลือกซื้ออีกสารพัด
ส่วนของฝากขึ้นชื่อที่เราแนะนำว่าไม่ควรพลาดซื้อติดมือกลับบ้านไปก็คือ หมูยอ
กุนเชียง และไส้กรอกอีสาน ซึ่งก็มีให้เลือกหลายร้าน
เราสามารถเลือกชิมและต่อรองราคากันได้ ถูกใจร้านไหนก็ซื้อหากันได้เต็มที่
ส่วนพื้นที่ช่วงตอนกลางๆ ของตลาดท่าเสด็จ
จะมีร้านจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนจังหวัดหนองคายในพระบรมราชินูปถัมภ์ “ณ ตลาดท่าเรือ” ตั้งอยู่
นอกจากสินค้าเกรดพรีเมี่ยมที่คัดสรรกันมาให้เลือกซื้อหาแล้ว
บริเวณนี้ยังเป็นแลนด์มาร์คที่สำคัญที่บรรดานักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายรูปกับป้ายพญานาคสองเศียรไว้เป็นที่ระลึก
ถ้าเดินช็อปกันมาเหนื่อยๆ ก็แวะพักดื่มน้ำดื่มท่า จิบกาแฟกันได้
ทั้งทิวทัศน์ริมแม่น้ำโขงที่สวยงาม และมุมถ่ายภาพเก๋ๆ ที่ทางร้านจัดเตรียมไว้
จึงไม่น่าแปลกใจที่ทำเลบริเวณนี้จะคึกคักเป็นพิเศษ
วัดลำดวน
วัดลำดวนเป็นวัดที่อยู่ใกล้ตลาดท่าเสด็จของหนองคาย
พอนักท่องเที่ยวช็อปปิ้งเสร็จแล้วสามารถเดินต่อมายังวัดลำดวน มีท่าน้ำ
มีแลนด์มาร์คพญานาค สำหรับให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูปอย่างสวยงามตระการตา
วัดลำดวน ตั้งอยู่คุ้มวัดลำดวน ถนนริมโขง
ตำบลในเมือง อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย
อยู่ใกล้กับตลาดอินโดจีนหรือตลาดท่าเสด็จ จุดเด่นของ
วัดลำดวนนอกจากจะได้มาไหว้พระทำบุญแล้ว วัดลำดวนยังมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่
หรือที่เรียกกันว่า "หลวงพ่อพระบุญคุ้ม"
ที่ประดิษฐานอยู่อยู่บนอุโบสถของวัด
ซึ่งใหญ่ขนาดว่าหากมองมาจากทางฝั่งลาวยังเห็นเด่นชัดทีเดียว
รวมถึงด้านบนยังสามารถมองวิวสวยๆ ของแม่น้ำโขงได้อีกด้วย นอกจากนั้นยังมี
หลวงพ่อพระศิลาคำ, เจดีย์ศรีสารพัดนึก, พลวงพ่อพระบุญค้ำ ที่ผู้คนให้ความเคารพนับถืออย่างมาก
ประวัติวัดลำดวนโดยสังเขป
วัดลำดวน สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2092 เดินชื่อว่า "วัดดำดวน" หลักฐานที่ได้มาจากประวัติวัดศรีเมือง
ซึ่งเขียนโดย พระธาามไตรโลกาจารย์ (รักษ์ เรวโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีเมือง
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจากวัดดำดวนเป็น "วัดลำดวน"
เพราะมีต้นลำดวนขนาดใหญ่อยู่ในบริเวณวัดด้านทิศใต้ของวัด (ปัจจุบันล้มต้นไปแล้ว)
วัดลำดวนได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน2549
ปูชนียวัตถุสำคัญ
"เจดีย์ศรีสารพัดนึก"
เป็นเจดีย์เก่าแก่อายุราว 200 ปี ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูน
ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมสิงสอง เป็นลักษณะระฆังคว่ำ
จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่อายุประมาณ 100 กว่าปี
เล่าว่าเห็นแก้วสีสดใสลอยออกจากเจดีย์ไปยังพระธาตุกลางน้ำหรือพระธาตุหล้า
หนองในปัจจุบัน แล้วลอยกลับมายังเจดีย์เหมือนเดิม เมื่อปี พ.ศ. 2554 ท่านพระครูวิจักษ์ปริยัติคุณ เจ้าอาวาสวัดศรีสุมังคล์
และรองเจ้าคณะอำเภอเมืองหนองคาย เล่าว่า หลังจากกลับจากบิณฑบาท เวลา ประมาณ 05.30 น. ได้เห็นลูกแก้วสีสดใสจากกลางแม่น้ำโขงเข้ามาเจดีย์นี้
และเคยมีโจรมาแอบขโมยของภายในเจดีย์แล้วไม่ได้อะไรไป เพราะเห็นมีงูขึ้นมาโจรกลัวงูก็เลยวิ่งหนีไป
จากเรื่องราวที่มีการพบเห็นดวงแก้วสีสดใสจึงเป็นที่มาของชื่อ
"เจดีย์แก้วสารพัดนึก"
"หลวงพ่อพระศิลาคำ"
พระพุทธรูปเก่าแก่อายุราว 400 ปีเศษ
เป็นพระพุทธรูปก่อด้วยอิฐถือปูนประดิษฐานที่วิหารหลวงพ่อพระศิลาคำ
ปัจจุบันลงรักปิดทองโดยคุณนันที โชติมีชัย (ทางเราไม่มีภาพประกอบของหลวงพ่อพระศิลาคำเนื่องจากช่วงที่เก็บข้อมูลกำลัง
มีการบูรณะ)
"หลวงพ่อพระศรีลำดวน"
ชาวคุ้มวัดลำดวนเรียกว่า "หลวงพ่อใหญ่"
เพราะมีขนาดใหญ่กว่าหลวงพ่อพระศิลาคำ
เป็นพระพุทธรูปก่อด้วยอิฐถือปูนประดิษฐานภายในอุโบสถวัดลำดวน ปัจจะบันลงรักปิดทองโดย
คุณนัทที โชติมีชัย
นมัสการ "หลวงพ่อพระบุญคุ้ม"
และชมวิวสวยๆของแม่น้ำโขงจากด้านบน ด้านบนของอุโบสถวัดลำดวนแห่งนี้
มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่คือ "หลวงพ่อพระบุญคุ้ม"
ซึ่งเป็นอดีตเจ้าอาวาสแห่งวัดลำดวนแห่งนี้
ซึ่งการขึ้นไปนมัสการหลวงพ่อพระบุญคุ้มจะต้องขึ้นบรรไดไปสองชั้น
โดยชั้นแรกจะเป็นส่วนของอุโบสถที่ประดิษฐาน "หลวงพ่อพระศรีลำดวน" หรือ
"หลวงพ่อใหญ่" ชั้นที่สองคือชั้นบนสุดจะเป็นที่ประดิษฐาน
"หลวงพ่อพระบุณคุ้ม"
ทางขึ้นจะค่อนข้างแคบและขั้นสูงนิดนึงแต่ก็ไม่ได้ทำให้เหนื่อยมากอะไร
ควรระมัดระวังหน่อย
"หลวงพ่อพระบุญคุ้ม"
พระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในเมืองหนองคาย สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดหน้าตัก 9 เมตร ประดิษฐานอยู่บนหลังคาอุโบสถวัดลำดวน สูงจากพื้อนดิน 13 เมตร เป็นจุดชมวิวแม่น้ำโขงและเมืองหนองคายได้ชัดเจนและสวยมากๆ แห่งหนึ่ง
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2543
เดิมทีผู้เขียนเป็นคนจังหวัดอุดรธานี
ตั้งแต่เรียนจบมาก็เลยได้ย้าย
มาอยู่ที่จังหวัดหนองคาย
เพื่อทำมาอาชีพหาเลี้ยงตัวเอง
และได้รู้จักเมืองหนองคายในหลายด้าน
ว่าเป็นเมืองที่น่าอยู่น่าอาศัย
เป็นอย่างยิ่ง
เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ชอบความวุ่นวายในชีวิตมากนัก
แต่ก็สามารถทำมาหากิน มีอาชีพ
และดำรงชีวิตอยู่ได้
เมืองหนองคายเป็นเมืองหน้าด่านติดกับประเทศ
สปป.ลาว
มีสะพานมิตรภาพแห่งที่ 1 เป็นจุดเชื่อมต่อไปยังนครหลวงเวียงจันทน์
เมืองหลวงของประเทศลาว
ส่วนจังหวัดหนองคายนั้นมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายที่น่าสนใจ
เหมาะกับการแวะมาเยี่ยมเยียน
หรือมาอยู่อาศัยได้เป็นอย่างดี
ที่แรกที่อยากจะแนะนำให้นักท่องเที่ยวหรือผู้สนใจได้รู้จักนั่นก็คือ
พระธาตุหนองคาย พระธาตุหล้าหนอง หรือพระธาตุกลางน้ำ
พระธาตุหนองคาย หรือพระธาตุกลางน้ำ หรืออีกชื่อ พระธาตุหล้าหนอง เป็นพระธาตุที่มีขนาดใหญ่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง
เนื่องจาก แม่น้ำเชี่ยวกรากจึงกัดเซาะตลิ่งจนพระธาตุพังลงในแม่น้ำ
ทำให้ปัจจุบันองค์พระธาตุจมอยู่กลางแม่น้ำโขงห่างจากฝั่งไทย 180 เมตร องค์พระธาตุก่อด้วยอิฐถือปูน ล้มตะแคงไปตามกระแสน้ำ
ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีฐานเหลี่ยมมุมฉาก โดยด้านหนึ่ง โผล่
ขึ้นมาเหนือน้ำเพียงครึ่งฐาน
องค์พระธาตุมีรูปทรงทางสถาปัตยกรรมเท่าที่ยังเหลืออยู่เป็นชั้นฐานเขียง 2 ชั้น ฐานสี่เหลี่ยม ย่อเก็จ ต่อขึ้นมาอีก 4 ชั้น จึงเป็นเรือนธาตุ ต่อด้วยบัวลูกแก้วอีก 2 ชั้น ความสูงของเจดีย์เฉพาะส่วนที่สัมผัสได้ 12.20 เมตร ความกว้างของ ฐานองค์พระธาตุชั้นล่างสุด 15.80 เมตร
พระธาตุหนองคาย เป็นที่เคารพสักการะของชาวหนองคายอย่างมาก
ทางจังหวัดจึงได้สร้างพระธาตุองค์จำลองขึ้น มาบริเวณ
ริมฝั่งแม่น้ำโขงและบรรจุชิ้นส่วนองค์พระธาตุจากองค์เดิมไว้ภายใน และยังเป็นการป้องกันการกัดเซาะตลิ่งด้วย ขนาด พระธาตุ องค์จำลอง ฐานกว้าง 10x10 เมตร
ความสูงประมาณ 15 เมตร
พร้อมทั้งการเสริมสร้างเสถียรภาพตลิ่งและป้องกัน การกัดเซาะตลิ่ง ตลอดความยาว 194 เมตร นอกจากนี้ยังมีการจัดสภาพภูมิทัศน์โดยรอบให้มีความสวยงาม
พระธาตุหนองคาย เป็นที่เคารพสักการะของชาวหนองคาย
และชาวบ้านได้จัดงานประเพณีเกี่ยวกับพระธาตุในทุกปี คือ ประเพณีบุญบั้งไฟ เดือน 6 เพื่อจุดถวายองค์พระธาตุ ในวันแรม 1 ค่ำ
เดือน 6 พิธีบวงสรวงองค์พระธาตุ วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ถวายปราสาทผึ้ง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 และการแข่งเรือยาววันออกพรรษาทุกปี
เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
ชาวหนองคายมีความเชื่อว่า
พระธาตุองค์นี้มีพญานาคอาศัยอยู่
และคอยเฝ้ารักษาพระธาตุอยู่ตลอดเวลา
หากใครกราบไหว้ขอพร
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่พระธาตุแห่งนี้
จะสมหวังดังใจทุกประการ
อีกพระธาตุหนึ่งที่ชาวหนองคายให้ความเคารพกราบไหว้บูชาและเชื่อว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่ที่วัดพระธาตุบังพวนนี้
จึงอยากจะขอเล่ารายละเอียดของพระธาตุบังพวนให้ผู้อ่านได้รับฟังดังนี้
วัดพระธาตุบังพวน เป็นวัดราษฎร์
ตั้งอยู่ที่ 172 หมู่ 3 ต.พระธาตุบังพวน อ.เมือง จ.หนองคาย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
พระธาตุบังพวนมีเนื้อที่ 102 ไร่
เจดีย์พระธาตุบังพวน เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม สร้างด้วยศิลาแลง อิฐดินเผา
พ.ศ. 2210 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
โบราณวัตถุ ภายในวัดพระธาตุบังพวน ได้แก่ พระพุทธรูปใหญ่ 1 องค์
พระปางนาคปรก 1 องค์ ศิลาจารึก 1 หลัก พระธาตุบังพวน พระปรางค์ 3 องค์ เจดีย์เล็ก 7 องค์
เพื่อให้รู้ที่มาที่ไปของพระธาตุบังพวน
ตามปรากฏในตำนานอุรังคธาตุ กล่าวว่า พระยาสุวรรณพิงคานเจ้าเมืองหนองหาน สกลนคร
พระคำแดง เจ้าเมืองหนองหานน้อย อุดรธานี และพระยาจุลณีพรหมทัติ เจ้าเมืองจุลณี
(ลาวเหนือ แคว้นสิบสองจุไทย) พระยาอินทปัตถนคร เจ้าเมืองอินทปัตถนคร (เขมร)
และพระยานันทเสน เจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์หลวง กษัตริย์ทั้ง ๕
พระองค์ได้ทรงอุปถัมภ์พระมหกัสสปะเถระ พร้อมด้วย พระอรหันต์อีก
๕๐๐ก่อสร้างพระธาตุพนมจนเสร็จแล้วและได้บรรลุอรหันต์ในเวลาต่อมา กษัตริย์ทั้ง ๕
จึงออกเดินทางไปอินเดีย เพื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจำนวน ๔๕ องค์
มาประดิษฐานไว้ในสถานที่ ๔ แห่ง ได้แก่
๑.อัญเชิญพระธาตุหัวเหน่า จำนวน ๒๙ องค์
มาประดิษฐานไว้ที่พระธาตุบังพวน หรือภูเขาหลวง
๒.อัญเชิญพระธาตุฝ่าพระบาทก้ำขวา จำนวน ๙ องค์
มาประดิษฐานไว้ที่เจดีย์พระธาตุกลางแม่น้ำโขง ณ เมืองหล้าหนองคาย
๓.อัญเชิญพระธาตุเขี้ยวฝาง ๓ องค์
มาประดิษฐานไว้ที่พระธาตุโพนจิกเวียงงัว บ้านปะโค จังหวัดหนองคาย
๔.อัญเชิญพระธาตุเขี้ยวฝาง จำนวน ๔ องค์
มาประดิษฐานไว้ที่เจดีย์พระธาตุหอผ้าหอแพ เมืองเวียงจันทร์
วัดพระธาตุบังพวน นอกจากมีองค์พระธาตุแล้ว ยังกลุ่มโบราณสถานที่เรียกว่า สัตตมหาสถาน ที่สร้างขึ้นตามคติพุทธศาสนา หมายถึงการจำลองสถานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธองค์ หลังจากตรัสรู้แล้ว จำนวน ๗ แห่ง คือ โพธิบัลลังก์, อนิมมิสเจดีย์ ,รัตนจงกรมเจดีย์, รัตนฆรเจดีย์,อชาปาลนิโครธเจดีย์,มุจลินทเจดีย์ และราชายตนะเจดีย์ ซึ่งในวัดพระธาตุบังพวนแห่งนี้นับเป็นที่เดียวในโลกที่ยังหลงเหลือโบราณสถานอันเป็นสัตตมหาสถานจากอดีตครบทั้ง ๗ สิ่ง
และเป็นสถานที่เกี่ยวกับพญานาค พลาดไม่ได้จริง ๆ
ก็คือ “สระมุจลินท์” หรือ “สระพญานาค”สระ น้ำโบราณที่มีบันทึกในหนังสือใบลานที่เขียนเป็นภาษามคธ
เรียกชื่อว่า “สระมังคละน้ำเที่ยงหมัน” เมื่อครั้งได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระ
พุทธเจ้าบรรจุไว้ในองค์พระธาตุได้เกิดปรากฏการณ์ประหลาดมีสายน้ำพวยพุ่งออกมาจากพื้นดิน
พระมหาเทพหลวงและพระมหาเทพพล พระภิกษุที่ดูแลองค์พระธาตุ ได้สังเกตุเห็นว่ามีสายน้ำพุ่งขึ้นมาตลอดเวลาจากปล่องภูพญานาคที่เฝ้ารักษาพระธาตุบังพวน
จึงได้ชักชวนญาติโยมขุดสระรองรับน้ำเอาไว้ และสร้างรูปปั้นพญานาค
๗เศียรไว้กลางสระแห่งนี้ รูปแบบศิลปะแบบล้านช้าง ในสมัยพระเจ้าวิชลราช
กษัตริย์ล้านช้างได้เสด็จมานมัสการพระธาตุ (ช่วงพ.ศ.๒๐๔๓ – ๒๐๖๓)
โปรดให้มีการปรับปรุงสระน้ำแห่งนี้และนิมนต์พระคุณเจ้าจัดทำพิธีมหาพุทธาภิเษก
สระมุจลินท์ถือเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
และนำน้ำศักดิ์สิทธิแห่งนี้ไปใช้ในพิธีสำคัญในราชสำนักล้านช้างเป็นต้นมา
ในสมัยต่อมา สมเด็จพระไชยเชษฐา (พ.ศ.๒๐๙๓ข๒๑๑๕)
กษัตริย์ล้านช้างได้โปรดเกล้าให้สร้างพระพุทธรูปนาคปรก ๙ เศียร
ไว้ในบริเวณใกล้เคียงกันด้วย
ซึ่งเห็นได้ว่าในยุคสมัยพุทธกาลก็มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพญานาค
มีให้เห็นได้ในทุกยุคทุกสมัยแม้จะไม่สามารถพิสูจน์ได้ก็ตาม
ปัจจุบันสระมุจลินท์แห่งนี้ถือเป็นสระน้ำสำคัญประจำจังหวัดหนองคาย น้ำในสระแห่งนี้ถูกนำไปใช้ในพิธีสรงมูรธราชาภิเษก พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
และพิธีศักดิ์สิทธิ์สำคัญๆ ในรัชกาลปัจจุบันเป็นประจำ แต่น่าเสียดายวันที่ไป
บ่อน้ำมีระดับน้ำที่ลดลงจากสภาพอากาศที่ร้อนมากๆ
แต่ก็มิอาจลดความเข้มขลังของสระน้ำพญานาคอันศักดิ์สิทธิ์ แห่งนี้ไปได้
เชื่อกันว่าการได้ไหว้สักการะพระธาตุอันเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และพระอริยสงฆ์นั้น จะนำมาซึ่งความสุข ความเจริญมาสู่ผู้ที่เคารพบูชา
อีกทั้งอานิสงส์ผลบุญที่ได้จากการกราบไหว้บูชา และสร้างกุศลกับพระธาตุนั้น เชื่อว่าส่งผลแรงยิ่งนัก
หากผู้ใดปฏิบัติบูชาด้วยจิตใจอันบริสุทธิ์
และหมั่นกราบไหว้บูชาตามกำลังความสามารถทุกครั้ง
อานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ของพระธาตุ จะดลบันดาลให้เกิดสิริมงคลในชีวิตแก่ตัวผู้บูชา
Unseen ไม่ควรพลาดอีกสถานที่หนึ่งในจังหวัดหนองคาย คือวัดผาตากเสื้อ
เป็นวัดที่มีทิวทัศน์สวยงามมาก
มองจากบนผาลงมามองเห็นความเป็นอยู่ของชาวไทยลาว ภายในวัดมีธรรมชาติที่สมบูรณ์
สามารถเดินเลาะ ตามหน้าผาเพื่อชม ธรรมชาติและ ทิวทัศน์ที่สวยงามได้
ในอำเภอสังคมนั้นมีแหล่งท่องเที่ยวมากกว่าที่อื่นๆ ในจังหวัดหนองคาย และที่วัดแห่งหนึ่งมีชื่อว่า “วัดผาตากเสื้อ” เป็นวัดแห่งหนึ่งที่นอกจากจะเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมแล้วยังเป็นที่จุดชมวิวที่สวยงามอีกด้วย
เนื่องจากเป็นตั้งอยู่ที่สูงบนยอดเขา
หากขึ้นไปบนผาจะเห็นว่ามีวิวที่สวยงามสามารถที่จะมองเห็นด้านล่างทั้งฝั่งไทย
ซึ่งเป็นอำเภอสังคมและทางฝั่งลาวที่มีแม่น้ำโขงกั้นอยู่
หากไปช่วงหน้าหนาวที่ผาแห่งนี้เป็นอีกจุดหนึ่งมีทะเลหมอกด้วย
วิวจะพบกับเขาต่างๆที่เกิดขึ้นสลับซับซ้อนและมีแม่น้ำโขง
ข้างบนจะเป็นวัดเหมาะสำหรับปฏิบัติธรรมด้วย เพราะว่าเป็นวันที่ร่มรื่นและมีความเงียบสงบ สำหรับประวัติความเป็นมานั้น เนื่องจากมีพระรูปหนึ่งท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่เหรียญซึ่งท่านได้ห้ามไว้ชื่อ “พระอาจารย์ สมเดช” แต่ด้วยความตั้งใจท่านได้ขึ้นไปบำเพ็ญเพียรที่นั้นจนได้
ท่าใช้บริเวณบนยอดภูเป็นหลักในการเข้าสู่ถาวะสงบทางใจ เวลาท่านขึ้นไปยอดภูจึงต้องได้ปีนจากด้านล่างทั้งหินและใช้เถาวัลย์ในการช่วย
หลายครั้งตอนเช้าทางบิณฑบาตแล้วตกลงมาทำให้ข้าวในบาตรนั้นออกไป
บางครั้งมีอาการปวดบ่อยครั้ง แต่ท่านไม่เคยให้โยมช่วยทุกครั้งท่านจะขึ้นไปเอง
พอระยะเวลานานเข้าได้มีโยมพยายามอาสาช่วยให้สร้างทางขึ้นแต่กระนั้นทางขึ้นจากหมู่บ้านเป็นผาสูง
เลยต้องสร้างจากด้านอื่นแทน และได้ก่อสร้างมาเป็นวัด
โดยท่านผู้ว่าจังหวัดในสมัยนั้นให้มีโครงการสร้างทางขึ้นด้วยรถตัดดินและได้มีการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว
สองข้างทางขึ้นจะเป็นโครงการปลุกป่าเฉลิมพระเกียรติด้วย ได้มีการเทลาดยางบางจุดรวมระยะทางจากถนนใหญ่เกือบ
8 กิโลเมตร
ข้างในวัดนอกจากจะมีผาที่สูงเพื่อยังมีสิ่งปลูกสร้างของทางวัดที่ร่มรื่นมาก
อย่างเช่นศาลาเมื่อก่อนไม่มีไฟฟ้าใช้เครื่องปั่นไฟและใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นหลัก
นอกจากนั้นยังมีอุโบสถที่สวยงามและทางบันไดที่สวย ด้านบนสามารถรับชมวิวได้ด้วยนอกจากนั้นได้ข่าวว่ามีการสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุอัฐิธาตุของอริยสงฆ์
เช่นหลวงปู่มั่นไว้ด้วย
ภายในขนาดไม่กว้างมากบนเพดานมีภาพจิตรกรรมเรื่องราวพุทธประวัติให้ชม
ส่วนองค์พระปรานเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ โดยมีพระพุทธรูปปางต่างๆ
ตั้งอยู่ด้านข้างอีกหลายองค์
จากนั้นเดินไปทางศาลาการเปรียญด้านหลังอาคารหลังนี้จะเป็นหน้าผา
และยังเป็นจุดชมวิวอันสวยงามขึ้นชื่อของวัด
จากจุดชมวิวแห่งนี้มองออกไปจะเห็นแม่น้ำโขงช่วงที่โค้งมาจากทอศเหนือสู่ทิศใต้
โดยทางฝั่งซ้ายมือคืออำเภอสังคมฝั่งไทย ส่วนฝั่งชวามือเป็นแขวงเวียงจันทน์ของประเทศลาว
โดยจากประเทศลาวจะเห็นแม่น้ำสายหนึ่งไหลออกมาบรรจบกับแม่น้ำโขงด้วย
จุดชมวิวแห่งนี้สามารถมาเที่ยวชมได้ตลอดปี
ช่วงแล้งน้ำระดับน้ำในแม่น้ำโขงจะลดลงเยอะจนเกิดเป็นดอน
หรือสันทรายกลางแม่น้ำหลายแห่ง
ส่วนฤดูฝนน้ำเยอะไม่เห็นดอนแต่ได้เห็นแม่น้ำโขงน้ำเต็มตลิ่ง สายหมอก
และผืนป่าสีเขียวแทน
จังหวัดหนองคายอยู่กับความเชื่อในเรื่องพญานาคมาแต่ครั้งโบราณ
เมื่อพบเห็นสถานที่ที่น่าพิศวงก็ย่อมต้องเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับพญานาคอย่างแน่นอน
อีกหนึ่งสถานที่ที่ไม่ควรพลาดสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบแอดเวนเจอร์
ท้าทาย ลุยไปได้ทุกที่ แต่ขอให้ตัวเล็กหน่อยนะคะ เพราะงานนี้ต้องมุด
ต้องลุยกันไปยาวๆ นั่นก็คือ
“ถ้ำดินเพียง” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ถ้ำพญานาค” ถูกพบโดย ลุงคำสิงห์ เกศศิริ
ซึ่งเดิมเป็นเจ้าของผืนดินบริเวณปากถ้ำ ต่อมาได้ยกที่ให้กับทางวัดศรีมงคล
และพัฒนาจนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดหนองคาย
ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ วัดถ้ำดินเพียง (ถ้ำพญานาค)
วัดถ้ำศรีมงคล ตั้งอยู่ที่ บ้านดงต้อง ต.ผาตั้ง อ.สังคม จ.หนองคาย
โดยถ้ำดังกล่าวชาวบ้านในพื้นที่เชื่อว่าเป็นถ้ำพญานาค มีตำนานเล่าขานกันมาว่า
ถ้ำแห่งนี้เป็นทางเข้า-ออกของธิดาพญานาคเมื่อครั้งมาเจอเจ้าชายบนโลลกมนุษย์
ต่อมาเมื่อถึงวันออกพรรษาเจ้าชายเดินตามไปพบธิดาพญานาคเล่นน้ำ
จึงรู้ว่าเป็นพญานาคจึงขอตัดขาด
นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าว่าถ้ำแห่งนี้เป็นที่เดินทางของพระธุดงด์ที่เป็นผู้บำเพ็ญศีลเป็นพระอภิญญาสามารถเดินข้ามจากฝั่งแม่น้ำโขงมาที่ไทยได้ด้วย
แต่ต้องเป็นพระที่มีศีลเก่งกล้าเท่านั้น ล่าสุดสถานที่ดังกล่าวเป็นที่นิยม
แต่การจะเข้าไปนั้น ต้องมีผู้เชี่ยวชาญพาเข้าไป มิเช่นนั้นอาจเกิดการหลงทางได้
สาเหตุที่ได้ชื่อว่าถ้ำดินเพียง
เนื่องจากถ้ำแห่งนี้เป็นถ้ำใต้ดินและปากทางเข้าถ้ำอยู่เสมอดินในระดับปกติ
ทำให้หลายคนมักเข้าใจว่าเป็นเพียงหลุมธรรมดา ส่วนสาเหตุที่ชาวบ้านเรียกว่า “ถ้ำพญานาค” นั้น
ก็เพราะว่าภายในถ้ำนั้นมีโพรงซึ่งมีลักษณะคล้ายรูอยู่มากมาย
ซอกซอยแบ่งแยกออกไปทั่วบริเวณ โดยแต่ละรูสามารถเชื่อมทะลุถึงกันได้อย่างน่าอัศจรรย์
และขนาดรูนั้นก็ใหญ่กว่าตัวคนเพียงเล็กน้อย ดูๆ
ไปเหมือนกับเส้นทางการเลื่อยของงูใหญ่หรือพญานาค มากกว่าจะเป็นทางสัญจรของมนุษย์
แถมโพรงเหล่านี้ยังมีน้ำไหลเอื่อยไปตามทางอีกด้วย
ประหนึ่งว่าช่วยให้พวกงูเลื่อยไปมาได้สะดวกขึ้น
และเมื่อนำมาพิจารณาประกอบกับเรื่องเล่าต่างๆ แล้ว ทำให้เชื่อได้ว่า
ถ้ำแห่งนี้ต้องเป็นที่อยู่และที่สัญจรของพญานาคอย่างแน่นอน
วัดหินหมากเป้ง
หนองคาย ดินแดนแห่งวัดในศาสนาพุทธ
ท่านสามารถกราบนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพบเจอวัดมากมายตลอดเส้นทาง
เรียกว่าเป็นเมืองแห่งวัดกันเลยทีเดียว
วัดหนึ่งที่ได้รับความนับถือต้องมานมัสการโดยลืมไม่ได้นั่นก็คือ
วัดหินหมากเป้ง
วัดหินหมากเป้งเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของพระสายวิปัสสานากรรมฐาน
เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของภิกษุสงฆ์ แม่ชี และผู้แสวงบุญทั้งหลาย โดยทางวัดมีที่พักรองรับผู้ปฏิบัติธรรม
สภาพทั่วไปภายในวัดสะอาด เงียบสงบ ร่มรื่น
มีทิวทัศน์ที่สวยงาม โดยเฉพาะทิวทัศน์ริมแม่น้ำโขง
ทั้งยังเป็นสถานที่เกี่ยวเนื่องกับตำนานท้องถิ่น คือตำนานหินหมากเป้ง
นอกจากนี้ ภายในวัดยังมีการสร้างสถานที่ต่างๆ
เพื่อระลึกถึงหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เช่น มณฑปอนุสรณ์หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
(สร้างเมื่อ พ.ศ.2524) เจดีย์พิพิธภัณฑ์พระราชนิโรธรังสีฯ
(สร้าง พ.ศ.2534 ก่อสร้างเสร็จ พ.ศ.2540) เมรุหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี พิพิธภัณฑ์ และศาลาหุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่เทสก์
เทสรังสี ภายในสถานที่แต่ละแห่งจัดแสดงวัตถุและเรื่องราวเกี่ยวกับหลวงปู่เทสก์
เช่น อัฐิ รูปปั้น เครื่องอัฐบริขาร ของใช้ และชีวประวัติของหลวงปู่เทสก์
เจดีย์พิพิธภัณฑ์พระราชนิโรธรังสีฯ
เมรุหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี พิพิธภัณฑ์ และศาลาหุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
เปิดให้เข้าสักการะและเยี่ยมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.30-16.30 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม
ส่วนผู้ที่ต้องการเข้าไปภายในมณฑปอนุสรณ์หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
ควรติดต่อทางวัดล่วงหน้า
ทุกวันที่ 17-19 ธันวาคมของทุกปี ทางวัดจะจัดงานครบรอบวันมรณภาพของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญภายในวัดคือหลักหินและเสมาที่เคลื่อนย้ายมาจากวัดอัญญา
(ดงนาคำ) อ.โพธิ์ตาก นั้น
พระภายในวัดและบุคคลที่เข้ามาสักการะเยี่ยมชมปูชนียสถานวัตถุภายในวัดส่วนใหญ่ทราบแต่เพียงว่าเป็นโบราณวัตถุ
แต่ไม่ทราบที่มาและความสำคัญของหลักฐานเหล่านี้
จึงให้ความเอาใจใส่และดูแลรักษาในระดับหนึ่ง อย่างน้อยก็ไม่มีการรบกวนหลักฐาน
ซึ่งทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมศิลปากรและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ควรจัดทำป้ายให้ข้อมูลหรือนิทรรศการจัดแสดงเรื่องราวของหลักหินและเสมาเหล่านี้
เพื่อประโยชน์ทั้งในแง่วิชาการและการท่องเที่ยว เนื่องจากวัดแห่งนี้มีพุทธศาสนิกชนเข้ามาเยี่ยมเยียนเป็นจำนวนมาก
หาดสีกายใต้
‘หาดสีกายใต้’ ความสวยงามยามภัยแล้ง
แห่งแดนอีสาน จ.หนองคาย
แห่งแดนอีสาน จ.หนองคาย
สงกรานต์นี้มีที่เที่ยวกันยัง? บ้านสีกายใต้ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกดีๆ ที่เหมาะควงแฟนมาเดินชิลล์
ชวนเพื่อนมาเล่นน้ำ หรือพาครอบครัวมาเปลี่ยนบรรยากาศ พักผ่อนสงบๆ ในเมืองเล็กๆ
ริมน้ำโขงอย่างจังหวัดหนองคาย
จังหวัดหนองคายเอ่ยชื่อนี้ขึ้นมาทุกคนต้องนึกไปถึง
ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคแน่ๆ แต่เดี๋ยวก่อน ช่วงนี้ยังไม่ใช่เวลาของพญานาค
แต่เป็นปรากฏการณ์ น้ำโขงลดต่ำ จนเผยให้เห็นหาดทรายขาวโผล่พ้นน้ำขึ้นมา
ในหลายอำเภอเลยทีเดียว
มีการประดับทิวธง
เพื่อเป็นสัญลักษณ์บอกน้ำตื้นน้ำลึก
บ้านสีกายใต้ ตำบลสีกาย อำเภอเมืองหนองคาย
ก็เป็นอีกจุดที่มีหาดเกิดขึ้น เมื่อระดับน้ำในแม่น้ำโขง ลดลงอย่างต่อเนื่อง จนต่ำที่สุดเหลือเพียง 1.19 เมตร โดยหาดทรายทอดยาวกว่า1 กิโลเมตร
กว้างประมาณ 100 เมตร
ชาวบ้านเลยเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว เล่นน้ำคลายร้อน ก่อทรายริมหาด
รวมถึงมีซุ้มขายอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งในปีที่ผ่านมา
ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวอย่างมาก สามารถสร้างรายได้ให้ชุมชน
ขณะว่างเว้นจากการทำนา
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน
วอลเล่ย์ชายหาด การประกวดร้องเพลง การก่อเจดีย์ทราย บานาน่าโบ๊ท
และการเล่นสงกรานต์ชายหาด มองๆ ดูแล้วบรรยากาศเหมือนอยู่ทะเลพัทยาเลยก็ว่าได้
โดยได้เปิดหาดอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2561 แล้ว
บ้านสีกาย อยู่ห่างจากตัวเมืองหนองคายประมาณ 18 กม. โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 212 (หนองคาย-โพนพิสัย)
มุ่งหน้าไปทางอ.โพนพิสัย ประมาณกม.ที่ 18 มีทางแยกเข้าสู่บ้านสีกายเหนือระยะทางประมาณ 2 กม.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น