วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567

ไหว้พระรับศีลเข้าพรรษา

 


ไหว้พระรับศีล

เข้าพรรษา

ไหว้พระรับศีล 

อิมินา  สักกาเรนะ  ตังพุทธัง  อภิปูชะยามะ

อิมินา  สักกาเรนะ  ตังธัมมัง  อภิปูชะยามะ

อิมินา  สักกาเรนะ  ตังสังฆัง  อภิปูชะยามะ

 

อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  ภะคะวา

พุทธัง  ภะคะวันตัง  อะภิวาเทมิ ฯ  (กราบ)

สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม

ธัมมัง  นะมัสสามิ ฯ (กราบ)

สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ

สังฆัง  นะมามิ ฯ (กราบ)

 

นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ

(๓ จบ)

 

คำอาราธนาศีล ๕

มะยัง  ภันเต  วิสุง  วิสุง  รักขะนัตถายะ  ติสะระเณนะ 

สะหะ  ปัญจะ  สีลานิ  ยาจามะฯ

ทุติยัมปิ  มะยัง  ภันเต  วิสุง  วิสุง  รักขะนัตถายะ 

ติสะระเณนะ  สะหะ  ปัญจะ  สีลานิ  ยาจามะฯ

ตะติยัมปิ  มะยัง  ภันเต  วิสุง  วิสุง  รักขะนัตถายะ 

ติสะระเณนะ  สะหะ  ปัญจะ  สีลานิ  ยาจามะฯ

 

คำอาราธนาธรรม

พรมมา  จะโลกาธิปะติ  สะหัมปะติ

กัตอัญชลี  อันธิวะรัง  อะยาจะถะ

สันตีธะ  สัตตาปปะระชักขะชาติกา

เทเสตุธัมมัง  อะนุกัมปิมัง  ปะชังฯ

 


 

คำสาธุการเมื่อพระเทศน์จบ

 

เมื่อพระแสดงธรรมจบ ขอเชิญรับสาธุการพร้อมกันด้วยถ้อยคำข้างล่างนี้

 

สาธุ  พุทธะสุโพธิตา,   สาธุ ความตรัสรู้ดีจริงของพระพุทธเจ้า,

สาธุ ธัมมะปุธัมมะตา,   สาธุ ความเป็นธรรมดีจริงของพระธรรม,

สาธุ สังฆัสสุปะฏิปัตติ,  สาธุ ความปฏิบัติความดีจริงของพระสงฆ์,

อะโห พุธโธ,               พระพุทธเจ้า น่าอัศจรย์จริง,

อะโห ธัมโม,                พระธรรมเจ้า น่าอัศจรรย์จริง,

อะโห สังโห,                พระสงฆเจ้า น่าอัศจรรย์จริง,

                                                                 

อะหัง พุทธัญจะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ สะระณัง คะตา  (คะโต)

       ข้าพเจ้าถึงแล้วซึ่ง พระพุทธเจ้า, พระธรรมเจ้า, พระสังฆเจ้า, ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกถึง,

อุปาสิกัตตัง เทเสสิง (อุปาสะกัตตัง) ภิกขุ สังฆัสส สัมมุขา,

       ข้าพเจ้าขอแสดงตนว่า, เป็นอุบาสิกา (อุบาสก) ในที่จำเพาะหน้าพระภิกษุสงฆ์

เอตัง เม สะระณัง เขมัง, เอตัง สะระณะมุตตะมัง,

       พระรัตนตรัยนี้เป็นที่พึ่งอันเกษมของข้าพเจ้า, พระรัตนตรัยนี้เป็นที่พึ่งอันสูงสุด

เอตัง สะระณะมาคัมมะ สัพพะทุกขา ปะมุจจะเย,

       เพราะอาศัยพระรัตนตรัยนี้เป็นที่พึ่ง, ข้าพเจ้าพึงพ้นทุกข์ ทั้งปวง,

ยะถาพะลัง จะเรยยาหัง สัมมาสัมพุทธะสาสะนัง,

       ข้าพเจ้า จักประพฤติซึ่งพระธรรมคำสั่งสอน, ของพระสัมมา

สัมพุทธเจ้า โดยสมควรแก่กำลัง,

ทุกขะนิสสะระณะณัสเสวะ ภาคีนิสสัง (ภาคีอัสสัง) อะนาคะเต,

       ขอข้าพเจ้าพึงมีส่วนพระนิพพาน, อันเป็นที่ยกตนออกจากทุกข์ ในอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้นเทอญฯ


 

(หมอบลงว่า)

กาเยนะ  วาจายะ  วะเจตะสา  วา

พุทเธ  กุกัมมัง  ปะกะตัง  มะยายัง

พุทโธ  ปะฏิคคัณหะตุ  อัจจะ  ยันตัง 

กาลันตะเร  สังวะริตุง  วะพุทเธฯ

 

(หมอบลงว่า)

กาเยนะ  วาจายะ  วะ เจตะสา  วา

ธัมเม  กุกัมมัง  ปะกะตัง  มะยา ยัง

ธัมโม  ปะฏิคคัณหะตุ  อัจจะยันตัง 

กาลันตะเร  สังวะริตุง  วะ  ธัมเมฯ

 

(หมอบลงว่า)

กาเยนะ  วาจายะ  วะ  เจตะสา  วา

สังเฆ  กุกัมมัง  ปะกะตัง  มะยา  ยัง

สังโฆ  ปฏิคคัณหะตุ  อัจจะยันตัง

กาลันตะเร  สังวะริตุง  วะ  สังเฆฯ

 

 

คำลากลับบ้าน

(คฤหัสถ์)     หันทะทานิ  มะยัง  ภันเต  อาปุจฉามะ  พะหุ  กิจจา  มะยัง  พะหุกะระณียา

(พระสงฆ์)    ยัสสะทานิ  ตุมเห  กาลัง มัญญะถะฯ

(คฤหัสถ์)     สาธุ  ภันเตฯ

(แล้วกราบพระ ๓ ครั้ง)

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2567

นั่งรถไฟข้ามแดน "ไทย-ลาว" ต้องปฏิบัติอย่างไร ?

 

นั่งรถไฟข้ามแดน "ไทย-ลาว" 

ต้องปฏิบัติอย่างไร ?

สายท่องเที่ยวหลายคน อินกับการนั่งรถไฟท่องเที่ยว โดยเฉพาะการเดินทางข้ามพรมแดนด้วยรถไฟ ล่าสุด การรถไฟแห่งประเทศไทย และรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งชาติลาว ได้ขยายเส้นทางขบวนรถไฟ กรุงเทพฯ-เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) 

งานนี้ การรถไฟฯ เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคมนี้เป็นต้นไป ใครที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์เดินทางข้ามประเทศด้วยรถไฟ เรามีข้อมูลดี ๆ โดยเฉพาะเทคนิควิธีการทำเรื่องข้ามพรมแดนที่ประหยัดเวลา มาบอกกัน

รู้จักเส้นทางรถไฟ “ไทย-ลาว”

ย้อนเวลากลับไป เส้นทางรถไฟที่เชื่อมต่อสองประเทศไว้ด้วยกัน เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2552 โดยเป็นเส้นทางรถไฟไทย-ลาว ที่เชื่อมถึงกัน เริ่มต้นในระยะสั้น ๆ ราว 3.5 กิโลเมตร จากจังหวัดหนองคายไปยังท่านาแล้ง (เมืองหาดชายฟอง) ของ สปป.ลาว 

เส้นทางสายนี้ได้ทำหน้าที่ขนส่งผู้คนมายาวนานกว่า 15 ปี กระทั่งมาถึงปี 2567 เส้นทางรถไฟของ สปป.ลาว ได้ทำการเพิ่มส่วนต่อขยายจากท่านาแล้ง ไปจนถึงสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) เพื่อให้ประชาชนเดินทางได้ไกล และสะดวกมากยิ่งขึ้น

เส้นทางการเดินทางด้วยรถไฟ “ไทย-ลาว” เป็นอย่างไร ?

เส้นทางรถไฟไทย-ลาว มีอยู่ด้วยกัน 4 ขบวน ดังนี้

1.รถเร็ว 133 กรุงเทพอภิวัฒน์ - เวียงจันทน์ (คำสะหวาด)  
รถไฟจะออกเดินทางจากสถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ เวลา 21.25 น. ถึงหนองคาย 07.55 น. ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการตรวจคนเข้าเมืองที่ด่านสถานีหนองคาย ใช้เวลา 40 นาที จากนั้นเดินทางออกจากหนองคาย เวลา 08.35 น. ไปถึงยังเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ในเวลา 09.05 น.

2.รถเร็ว 148 เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) - อุดรธานี 
รถไฟเดินทางออกจากเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) เวลา 09.35 น. ถึงจังหวัดหนองคาย เวลา 10.05 น. จากนั้นเข้าสู่กระบวนการตรวจคนเข้าเมืองที่ด่านสถานีหนองคาย 40 นาที ก่อนจะออกจากหนองคาย เวลา 10.45 น.ไปถึงยังอุดรธานี เวลา 11.25 น.

3.รถเร็ว 147 อุดรธานี - เวียงจันทน์ (คำสะหวาด)
รถไฟเดินทางออกจากจังหวัดอุดรธานี เวลา 16.00 น. ไปถึงจังหวัดหนองคาย เวลา 16.40 น. เข้าสู่กระบวนการตรวจคนเข้าเมืองที่ด่านสถานีหนองคาย 40 นาที ก่อนจะออกจากหนองคาย เวลา 17.25 น. เดินทางถึงเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ในเวลา 17.55 น.

4.รถเร็ว 134 เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) - กรุงเทพอภิวัฒน์ 
รถไฟเดินทางออกจากเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) เวลา 18.25 น. ไปถึงจังหวัดหนองคาย เวลา 18.55 น. เข้าสู่กระบวนการตรวจคนเข้าเมืองที่ด่านสถานีหนองคาย 40 นาที ก่อนจะออกจากหนองคาย เวลา 20.15 น. เพื่อเดินทางสู่สถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ต่อไป

ขั้นตอนการผ่านแดน ต้องทำอย่างไร ?

  1. ลงจากรถไฟเมื่อถึงสถานีหนองคาย
  2. เข้าช่องตรวจหนังสือเดินทาง หรือ บัตรผ่านแดน
  3. กลับขึ้นรถไฟ ระหว่างนี้ผู้โดยสารจะมีสถานะ ยังผ่านแดนไม่สมบูรณ์”
  4. ถึงสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด)
  5. เมื่อลงจากรถ จะมีทางบังคับให้เดินไปเข้าช่องตรวจหนังสือเดินทาง / บัตรผ่านแดน
  6. เมื่อตรวจเรียบร้อย สามารถออกจากสถานีได้ ถือว่า ผ่านแดนถูกต้องสมบูรณ์”

การตรวจหนังสือเดินทาง ต้องทำ 2 แห่ง คือ

  1. สถานีรถไฟหนองคาย
  2. สถานีรถไฟเวียงจันทน์ (คำสะหวาด)

ข้อควรรู้ การใช้หนังสือเดินทาง (Passport) และบัตรผ่านแดน (Border pass) 

Ø  ผู้โดยสารสามารถใช้ได้ทั้งหนังสือเดินทาง หรือ บัตรผ่านแดน ในการเดินทางเข้าออก สปป.ลาว แต่กรณีเดินทางมากับขบวนรถไฟ 133 และ 147 ซึ่งสามารถซื้อตั๋วรวดเดียว ผ่านเข้า สปป.ลาว ผู้โดยสารจะมีเวลาตรวจคนเข้าเมืองเพียง 40 นาที จึงแนะนำให้ใช้หนังสือเดินทางในการผ่านแดน เนื่องจากการใช้บัตรผ่านแดน จะต้องไปทำบัตรที่สำนักงานออกบัตรผ่านแดนจังหวัด ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟไป 5-10 นาที และมีขั้นตอนในการทำบัตร อาจทำให้กลับมาไม่ทันเวลารถไฟออกได้ 

Ø  การใช้บัตรผ่านแดน (Border pass) แนะนำให้ใช้เฉพาะผู้ที่อยู่ในภูมิลำเนาหนองคาย หรือผู้ที่มาขึ้นรถไฟที่สถานีหนองคายเป็นต้นทาง เพื่อลดขั้นตอนการรอเวลาทำบัตรลงไป

Ø  กรณีผู้ที่ต้องการทำบัตรผ่านแดน (Border pass) สามารถทำบัตรผ่านแดนอิเล็กทรอนิกส์ (E-Border pass) ล่วงหน้าได้ที่เว็บไซต์ https://bpsportal.dopa.go.th/ โดยจะได้รับ QR Code เพื่อไปรับบัตรผ่านแดนตัวจริงตามวันนัด เนื่องจากการผ่านแดน ต้องใช้บัตรผ่านแดนตัวจริงในการเข้าออกประเทศเท่านั้น

Ø  กรณีใช้หนังสือเดินทาง (Passport) ควรตรวจอายุพาสปอร์ต ต้องมีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือน  

วิธีจองตั๋วรถไฟ ต้องทำอย่างไร ?

·        จองผ่านช่องทางออนไลน์ ที่เว็บไซต์ www.dticket.railway.co.th

·        จองผ่านคอลเซ็นเตอร์ เบอร์ 1690

·        Walk in ไปจองที่ช่องขายตั๋วที่สถานี

การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถไฟ นอกจากเป็นความสนุก ยังช่วยเพิ่มประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับการเดินทาง ทั้งนี้ต้องดูแลความปลอดภัย เพื่อให้ทริปท่องเที่ยวไปกลับอย่างมีสวัสดิภาพ