เดือนสาม บุญข้าวจี่
บุญข้าวจี่เป็นประเพณีที่เกิดจากความสมัครสมานของชุมชนชาวบ้านจะนัดหมายกันมาทําบุญร่วมกันโดยช่วยกันปลูกผามหรือปะรํา เตรียมไว้ใน ตอนบ่าย ครั้นเมื่อถึงรุ่งเช้าในวันต่อมาชาวบ้านจะช่วยกันจี่ข้าว หรือปิ้งข้าวและตักบาตรข้าวจี่ร่วมกัน หลังจากนั้นจะให้มีการ เทศน์นิทานชาดก เรื่องนางปุณณทาสีเป็นเสร็จพิธี
มูลเหตุของพิธีกรรม
มูลเหตุจากความเชื่อทางพุทธศาสนา เนื่องมาจากสมัยพุทธกาล มีนางทาสชื่อปุณณทาสี ได้นําแป้ง ข้าวจี่ (แป้งทําขนมจีน) ไปถวายพระพุทธเจ้า แต่จิตใจของนางคิดว่า ขนมแป้งข้าวจี่เป็นขนมของผู้ต่ำต้อย พระพุทธเจ้าคงไม่ฉัน ซึ่งพระพุทธเจ้าหยั่งรู้จิตใจนาง จึงทรงฉันแป้งข้าวจี่ ทําให้ นางปิติดีใจ ชาวอีสานจึงเอาแบบ อย่างและพากันทําแป้งข้าวจี่ถวายพระมาตลอด อีกทั้งเนื่องจากในเดือนสามอากาศของภูมิภาคอีสานกําลังอยู่ ในฤดูหนาว ในตอนเช้าผู้คนจะใช้ฟืนก่อไฟ ผิงแก้หนาวชาวบ้านจะเขี่ยเอาถ่านออกมาไว้ด้านหนึ่งของกองไฟ แล้วนําข้าวเหนียวมาปั้นเป็นก้อนกลม โรยเกลือวางลงบนถ่านไฟแดงๆ นั้นเรียกว่า ข้าวจี่ ซึ่งมีกลิ่นหอม ผิวเกรียมกรอบน่ารับประทานทําให้นึกถึงพระภิกษุสงฆ์ ผู้บวชอยู่วัดอยากให้ได้ รับประทานบ้าง จึงเกิดการทําบุญข้าวจี่ขึ้น ดังมีคํากล่าวว่า "เดือนสามค้อย เจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ ข้าวจี่บ่มีน้ำอ้อย จัวน้อยเช็ดน้ำตา" (พอถึงปลาย เดือนสามภิกษุก็คอยปั้นข้าวจี่ ถ้าข้าวจี่ไม่มีน้ำอ้อยยัดไส้ เณรน้อยเช็ดน้ำตา)
พิธีกรรม
พอถึงวัดนัดหมายทําบุญข้าวจี่ทุกครัวเรือนในหมู่บ้านจะจัดเตรียมข้าวจี่ตั้งแต่ตอนย่ำรุ่งของวันนั้นเพื่อให้ข้าวจี่สุกทันใส่บาตรจังหัน นอกจาก ข้าวจี่แล้วก็จะนํา "ข้าวเขียบ" (ข้าวเกรียบ) ทั้งที่ยังไม่ย่างเพื่อให้พระเณรย่างกินเองและที่ย่างไฟจนโป่งพองใส่ถาดไปด้วย พร้อมจัดอาหารคาว ไปถวายพระที่วัด ข้าวจี่บางก้อนผู้ เป็นเจ้าของได้ยัดไส้ด้วยน้ำอ้อย แล้วทาด้วยไข่ เพื่อให้เกิดรสหวานหอมชวน รับประทาน ครั้นถึงหอแจกหรือ ศาลาโรงธรรมพระภิกษุสามเณรทั้งหมดในวัดจะ ลงศาลาที่ญาติโยมที่มารวมกันอยู่บนศาลาก่อน แล้วประธานในพิธีเป็นผู้อาราธนาศีล พระภิกษุให้ศีล ญาติโยมรับศีล แล้วกล่าวคําถวายข้าวจี่ จากนั้นก็จะนํา ข้าวจี่ใส่บาตรพระ ซึ่งตั้งเรียงไว้เป็นแถวเท่าจํานวนพระเณร พร้อมกับถวายปิ่นโต สํารับกับ ข้าวคาวหวาน เมื่อพระฉันจังหันเทศน์เสร็จแล้วก็ให้พร ญาติโยมรับ พรเป็นเสร็จพิธี
พิธีตักบาตรข้าวจี่ ประเพณีเก่าแก่ที่หลายชุมชนลืมเลือน แต่ที่วัดไชยศรี ชุมชนสาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น ยังคงถือปฏิบัติสืบทอดกันมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น