วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2561

การปัดเศษ Excel



การปัดเศษ

สมมติว่า คุณต้องการปัดเศษเป็นจำนวนเต็มที่ใกล้ที่สุดเนื่องจากเลขทศนิยมไม่สำคัญสำหรับคุณ หรือคุณต้องการปัดเศษจำนวนเป็นจำนวนเต็มสิบเพื่อให้ประมาณจำนวนได้ง่ายขึ้น มีหลายวิธีในการปัดจำนวน

เปลี่ยนจำนวนที่แสดงในทศนิยมโดยไม่เปลี่ยนตัวเลข

บนเวิร์กชีต

  1. เลือกเซลล์ต่างๆ ที่คุณต้องการจัดรูปแบบ
  2. เมื่อต้องการแสดงเลขหลังจุดทศนิยมเพิ่มขึ้นหรือลดลง บนแท็บ หน้าแรก ในกลุ่ม ตัวเลข ให้คลิก เพิ่มตำแหน่งทศนิยม รูปปุ่ม หรือ ลดตำแหน่งทศนิยม รูปปุ่ม

ในรูปแบบตัวเลขที่มีอยู่แล้วภายใน

  1. บนแท็บ หน้าแรก ในกลุ่ม ตัวเลข ให้คลิกลูกศรถัดจากรายการของรูปแบบตัวเลข แล้วคลิก รูปแบบตัวเลขเพิ่มเติม
    รายการ รูปแบบตัวเลข ในกลุ่ม ตัวเลข บนแท็บ หน้าแรก
  2. ในรายการ ประเภท ให้คลิก สกุลเงิน บัญชี เปอร์เซ็นต์ หรือ เชิงวิทยาศาสตร์ ตามแต่ชนิดข้อมูลของตัวเลขของคุณ
  3. ในกล่อง ตำแหน่งทศนิยม ให้ใส่จำนวนตำแหน่งทศนิยมที่คุณต้องการแสดง

ปัดเศษขึ้น

ใช้ฟังก์ชัน ROUNDUP โดยในบางกรณี คุณอาจต้องการใช้ฟังก์ชัน EVEN และ ODD เพื่อปัดเศษขึ้นเป็นเลขคู่หรือเลขคี่ที่ใกล้เคียงที่สุดได้

ปัดเศษของตัวเลขลง

ใช้ฟังก์ชัน ROUNDDOWN

ปัดเศษเป็นจำนวนที่ใกล้เคียงที่สุด

ใช้ฟังก์ชัน ROUND

ปัดจำนวนเป็นเศษส่วนใกล้

ใช้ฟังก์ชัน ROUND

ปัดเศษของตัวเลขเป็นเลขนัยสำคัญ

เลขนัยสำคัญคือเลขหลักที่มีส่วนให้ความถูกต้องของจำนวนเลขหนึ่ง
ตัวอย่างในส่วนนี้ใช้ฟังก์ชัน ROUND ROUNDUP และ ROUNDDOWN ซึ่งจะครอบคลุมวิธีการปัดเศษสำหรับค่าบวก ค่าลบ จำนวนเต็ม และเลขเศษส่วน แต่ตัวอย่างดังกล่าวยังเป็นส่วนน้อยของจำนวนสถานการณ์ที่อาจเป็นไปได้
รายการต่อไปนี้จะมีกฎทั่วไปบางประการที่ควรตระหนักเมื่อคุณปัดเศษของตัวเลขเป็นเลขนัยสำคัญ คุณสามารถลองใช้ฟังก์ชันการปัดเศษต่างๆ และลองแทนที่ด้วยตัวเลขและพารามิเตอร์ของคุณเองเพื่อให้ได้จำนวนของเลขนัยสำคัญที่คุณต้องการได้
  • เมื่อปัดเศษจำนวนลบ ตัวเลขดังกล่าวจะถูกแปลงเป็นค่าสัมบูรณ์ก่อน (ค่าที่ไม่มีเครื่องหมายลบ) จากนั้นการดำเนินการปัดเศษจะเกิดขึ้น และเครื่องหมายลบก็จะถูกนำมาใช้อีกครั้ง แม้ว่าสิ่งนี้อาจดูเหมือนว่าจะขัดหลักการทางตรรกะ แต่นี่เป็นวิธีที่ใช้ในการปัดเศษ ตัวอย่างเช่น การใช้ฟังก์ชัน ROUNDDOWN เพื่อปัดเศษ -889 เป็นเลขนัยสำคัญสองหลัก ก็จะได้ผลลัพธ์เป็น -880 ในขั้นแรก -889 จะถูกแปลงเป็นค่าสัมบูรณ์ก่อนคือ 889 ต่อมาก็จะถูกปัดเศษลงเป็นเลขนัยสำคัญสองตัว (880) สุดท้าย เครื่องหมายลบจะถูกนำมาใช้ใหม่ ก็จะได้เป็น -880
  • การใช้ฟังก์ชัน ROUNDDOWN กับจำนวนบวกจะเป็นการปัดเศษตัวเลขลง และ ROUNDUP จะเป็นการปัดเศษตัวเลขขึ้น
  • ฟังก์ชัน ROUND จะปัดเศษตัวเลขที่มีเศษส่วนดังนี้ ถ้าส่วนที่เป็นเศษส่วนคือ 0.5 หรือมากกว่า ตัวเลขจะถูกปัดขึ้น ถ้าส่วนที่เป็นเศษส่วนน้อยกว่า 0.5 ตัวเลขก็จะถูกปัดลง
  • ฟังก์ชัน ROUND จะปัดเศษจำนวนเต็มขึ้นหรือลงตามกฎที่เหมือนกับการปัดเศษของเลขเศษส่วน เพียงแต่ใช้พหุคูณของ 5 แทน 0.5
  • ตามกฎทั่วไป เมื่อคุณปัดเศษตัวเลขที่ไม่มีเศษส่วน (เลขจำนวนเต็ม) คุณจะลบความยาวของตัวเลขนั้นจากจำนวนเลขนัยสำคัญที่คุณต้องการปัดเศษ ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการปัดเศษ 2345678 ลงเป็นเลขนัยสำคัญ 3 หลัก ให้คุณใช้ฟังก์ชัน ROUNDDOWN กับพารามิเตอร์ -4 ดังนี้ = ROUNDDOWN(2345678,-4) ซึ่งจะเป็นการปัดเศษตัวเลขลงเป็น 2340000 โดยที่ส่วน "234" คือเลขนัยสำคัญ

ปัดเศษของตัวเลขเป็นพหุคูณที่ระบุ

อาจมีหลายครั้งที่คุณต้องการปัดเศษเป็นพหุคูณของตัวเลขที่คุณระบุ ตัวอย่างเช่น สมมติว่าบริษัทของคุณจัดส่งสินค้าโดยใช้ลังที่สามารถบรรจุสินค้าได้ 18 ชิ้น คุณสามารถใช้ฟังก์ชัน MROUND เพื่อหาจำนวนลังที่คุณจะต้องใช้ในการจัดส่งสินค้า 204 ชิ้นได้ ในกรณีนี้ คำตอบคือ 12 เนื่องจาก 204 หารด้วย 18 จะได้ 11.333 และคุณจะต้องปัดเศษขึ้น โดยที่ลังที่ 12 จะมีสินค้าเพียง 6 ชิ้น
นอกจากนี้ อาจมีบางครั้งที่คุณต้องการปัดเศษจำนวนลบเป็นพหุคูณลบหรือจำนวนที่มีตำแหน่งทศนิยมเป็นพหุคูณที่มีตำแหน่งทศนิยม คุณก็ยังสามารถใช้ฟังก์ชัน MROUND ในกรณีดังกล่าวได้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น