อ้างอิง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
รูปแบบและการพิมพ์ปริญญานิพนธ์
กระดาษที่ใช้พิมพ์
ใช้กระดาษสีขาว
ไม่มีเส้นบรรทัด ขนาดมาตรฐาน A 4 หนา 80 แกรม พิมพ์หน้าเดียว
ตัวอักษร
1. พิมพ์โดยใช้คอมพิวเตอร์ ตัวอักษรเป็นสีดำ คมชัด
2. ลักษณะตัวอักษร (Font) ใช้แบบไทยสารบรรณ
(TH-Sarabun-PSK) ตลอดทั้งเล่ม
2.1 ใช้ขนาด 20 พอยท์ แบบตัวพิมพ์หนา (Bold)
ในการพิมพ์ชื่อบท
2.2 ใช้ขนาด 18 พอยท์ แบบตัวพิมพ์หนา (Bold)
ในการพิมพ์หัวข้อใหญ่
2.3 ใช้ขนาด 16 พอยท์ แบบตัวพิมพ์หนา (Bold)
ในการพิมพ์หัวข้อย่อย และชื่อตาราง (ตามความเหมาะสม)
2.4 ใช้ขนาด 16 พอยท์ แบบตัวพิมพ์ธรรมดา (Normal)
ในการพิมพ์เนื้อหา
3. ตัวเลขให้ใช้แบบเดียวกันตลอดทั้งเล่ม ห้ามใช้เลขไทยกับข้อความภาษาอังกฤษ
การเว้นริมขอบกระดาษ
ให้เว้นริมขอบกระดาษทั้งสี่ด้าน โดยไม่ต้องตีกรอบหน้า ดังนี้
ขอบบน เว้น 1.5 นิ้ว สำหรับหน้าทั่วๆ
ไป
เว้น 2 นิ้ว สำหรับหน้าที่ขึ้นบทใหม่และหน้าที่มีหัวข้อ
ได้แก่ คำนำ สารบัญ เอกสารอ้างอิง บทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ ภาคผนวก เป็นต้น
ขอบล่าง เว้น 1 นิ้ว
ขอบซ้าย เว้น 1.5 นิ้ว
ขอบขวา เว้น 1 นิ้ว
การพิมพ์เลขหน้า และการลำดับหน้า
ให้พิมพ์เลขหน้า (Pagination) ทุกหน้า ยกเว้นเมื่อขึ้นต้นบทใหม่ หรือหน้าที่กำหนดไว้โดยเฉพาะ
เช่น บทนำ สารบัญ ภาคผนวก ฯลฯ ไม่ต้องพิมพ์เลขหน้าในหน้านั้น แต่ให้นับหน้ารวมด้วย
รายละเอียดในการพิมพ์เลขหน้าในส่วนต่างๆ
มีดังนี้
1.
ส่วนนำ (Preliminaries) ให้ลำดับหน้าปริญญานิพนธ์ด้วยตัวอักษร ก ข ค..........ตามลำดับ
(เว้นตัวอักษร ฃ และ ฅ) ให้นับหน้า ก ตั้งแต่หน้าปกใน และนับทุกๆ
หน้าต่อไปจนถึงหน้าสุดท้ายของส่วนนำ โดยพิมพ์ลำดับตัวอักษรที่มุมขวาด้านบนของหน้ากระดาษ
ให้ห่างจากขอบกระดาษด้านบน 1 นิ้วและขอบกระดาษด้านขวา 1 นิ้ว
2. ส่วนเนื้อหา (Contents) และส่วนประกอบท้ายเรื่อง ให้ลำดับเลขหน้าด้วยเลข อารบิค
โดยเริ่มตั้งแต่หน้าแรกของบทนำจนจบหน้าสุดท้าย โดยพิมพ์ลำดับเลขหน้าที่มุมขวาด้านบนของหน้ากระดาษให้ห่างจากขอบกระดาษด้านบน
1 นิ้วและขอบกระดาษด้านขวา 1 นิ้ว
การเว้นระยะพิมพ์
1. การย่อหน้า ให้เว้นระยะ 7 ช่วงตัวอักษร
หรือใช้การเว้นวรรคโดยการเคาะ 10-12ครั้งจากขอบที่เว้นไว้แล้ว
โดยการย่อหน้าต้องให้เหมือนกันตลอดทั้งเล่ม
2. การเว้นระหว่างบรรทัด
2.1 ระยะพิมพ์ระหว่างบรรทัดใช้ 1 บรรทัด
ส่วนระยะระหว่างหัวข้อใหญ่กับหัวข้อย่อย หรือระหว่างหัวข้อกับข้อความที่ตามมา
ให้เว้นระยะ 1 บรรทัด
2.2
การเว้นระยะบรรทัดระหว่างด้านบนและด้านล่างของตารางหรือภาพ กับเนื้อความปริญญานิพนธ์
กรณีตารางหรือภาพอยู่ในหน้าเดียวกับเนื้อความปริญญานิพนธ์ ให้เว้นระยะ 1 บรรทัด
3. การเว้นระยะพิมพ์หลังเครื่องหมายต่างๆ
3.1 เว้น 1 ตัวอักษรหลังเครื่องหมายจุลภาค ( , ) เครื่องหมายทวิภาค
( : ) และเครื่องหมายอัฒภาค ( ; )
3.2 เว้น 2 ตัวอักษรหลังเครื่องหมายมหัพภาค ( . ) เครื่องหมายปรัศนี ( ? )
และเครื่องหมายอัศเจรีย์ ( ! ) ยกเว้น หลังชื่อย่อ
คำย่อ ให้เว้น 1 ตัวอักษร
การพิมพ์ส่วนต่าง ๆ ของปริญญานิพนธ์
1. ส่วนนำ
1.1 ปก
1.1.1 ปกหน้า (Front Cover) ใช้ตัวอักษรสีเหลืองทองแบบปั๊มลงบนเนื้อกระดาษทั้งปก
มีรายละเอียดตามลำดับจากบนลงล่าง ดังนี้
1.1.1.1
ตรามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีแบบโปร่ง ขนาดสูง 1.5 นิ้ว สัดส่วนเหมือนจริง อยู่กึ่งกลางหน้า
ห่างจากขอบกระดาษด้านบน 1 นิ้ว
1.1.1.2
ชื่อเรื่องปริญญานิพนธ์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กลางหน้ากระดาษ
โดยพิมพ์ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษไว้ใต้ชื่อเรื่องภาษาไทย อักษรตัวแรกห่างจากขอบซ้ายมือ ไม่น้อยกว่า 1.5
นิ้ว และอักษรตัวสุดท้ายอยู่ห่างจากขอบขวามือไม่น้อยกว่า
1 นิ้ว กรณีที่ชื่อเรื่องมีความยาวเกิน 1
บรรทัด ให้แบ่งคำหรือประโยคลงมาบรรทัดถัดไปตามความเหมาะสม โดยพิมพ์เรียงลงมาเป็นลักษณะสามเหลี่ยมหัวกลับ
และไม่ต้องขีดเส้นใต้ชื่อบท
1.1.1.3 ชื่อและชื่อสกุลผู้วิจัย
ไม่ต้องใส่คำนำหน้านาม นอกจากมียศ ฐานันดรศักดิ์ ราชทินนาม หรือสมณศักดิ์ ให้ระบุไว้โดยใช้อักษรย่อ
ส่วนคุณวุฒิหรือตำแหน่งไม่ต้องระบุ
1.1.1.4 ข้อความ “ปริญญานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร”
และบรรทัดถัดลงมาพิมพ์ชื่อปริญญา
และชื่อสาขาวิชาอยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ
1.1.1.5
ชื่อสถาบัน ให้ใช้ชื่อ “มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี”
1.1.1.6
ปี พ.ศ. ที่ส่งปริญญานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ โดยไม่ต้องมีคำว่า พ.ศ. นำหน้า
1.1.1.7
ข้อความ “ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี”
ห่างจากขอบล่าง 1 นิ้ว
1.1.2 ปกหลัง (Back Cover) ไม่ต้องพิมพ์ข้อความใด ๆ
1.2 ใบรองปก
เป็นกระดาษเปล่า ชนิดและขนาดเดียวกับกระดาษที่ใช้พิมพ์ปริญญานิพนธ์ โดยต้องรองทั้งปกหน้า และปกหลังด้านละหนึ่งแผ่น
1.3 ปกใน ใช้รูปแบบเดียวกับปกหน้า
แต่ไม่ต้องมีตรามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
1.4 หน้าอนุมัติ
1.4.1 ข้อความในหน้าอนุมัติประกอบด้วย หัวข้อปริญญานิพนธ์ เสนอโดย
(ชื่อผู้เขียน) อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษา
และคณะกรรมการสอบปริญญานิพนธ์
1.4.2 ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม และคณะกรรมการสอบปริญญานิพนธ์ ให้ระบุตำแหน่งวิชาการด้วย
1.5
หน้าประกาศชื่อผู้ให้ทุนช่วยเหลือในการทำปริญญานิพนธ์
กรณีที่ได้รับทุนสนับสนุนในการทำปริญญานิพนธ์
ให้ประกาศชื่อผู้ให้ทุนช่วยเหลือในการทำปริญญานิพนธ์ โดยระบุข้อความ “ปริญญานิพนธ์ฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก............. ปีการศึกษา........” ไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ
1.6 หน้าบทคัดย่อ
1.6.1 ปริญญานิพนธ์จะต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
โดยบทคัดย่อแต่ละส่วนควรมีความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษพิมพ์
1.6.2 ในหน้าแรกของบทคัดย่อ ให้พิมพ์ชื่อเรื่องปริญญานิพนธ์
ชื่อและชื่อสกุลผู้วิจัย อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ชื่อปริญญา
และปีการศึกษาเรียงลงมาตามลำดับ
1.6.3 ให้เว้นที่ว่างไว้ 1 บรรทัด
แล้วพิมพ์คำว่า “บทคัดย่อ” หรือ “ABSTRACT” ไว้กลางหน้ากระดาษ
โดยมีขนาดตัวอักษร 20 พอยท์ แบบตัวพิมพ์ตัวหนา
1.6.4 ให้เว้นที่ว่างไว้ 1 บรรทัด แล้วจึงพิมพ์ข้อความ
1.7 หน้ากิตติกรรมประกาศ
1.7.1 ปริญญานิพนธ์ภาษาไทยให้พิมพ์ข้อความ
“กิตติกรรมประกาศ” ปริญญานิพนธ์ภาษาอังกฤษให้พิมพ์ข้อความ
“ACKNOWLEDGEMENT” ไว้กลางหน้ากระดาษ ห่างจากขอบกระดาษด้านบน
2 นิ้ว
1.7.2 พิมพ์ชื่อ และชื่อสกุลของผู้วิจัย
ห่างจากบรรทัดสุดท้ายของข้อความ 2 บรรทัด อักษรตัวสุดท้ายของชื่อสกุล
ให้พิมพ์ชิดขวา
1.8 หน้าสารบัญ
1.8.1 พิมพ์ข้อความ “สารบัญ” หรือ “TABLE OF CONTENTS” ไว้กลางหน้ากระดาษ ห่างจากขอบกระดาษด้านบน
2 นิ้ว
1.8.2 แสดงบัญชีการแบ่งเนื้อเรื่องออกเป็นบท
โดยระบุเลขที่บทและชื่อบทพร้อมหน้า ตามที่ปรากฏในปริญญานิพนธ์ โดยพิมพ์ “หน้า” เป็นบรรทัดแรก ชิดขอบขวา ห่างจากข้อความ
“สารบัญ” หรือ “TABLE
OF CONTENTS” 1 บรรทัด
1.8.3 เว้น 1 บรรทัด พิมพ์ “บทคัดย่อ” “ABSTRACT”
“กิตติกรรมประกาศ” “สารบัญ” “สารบัญตาราง (ถ้ามี)” “สารบัญภาพ
(ถ้ามี)” “บทที่”
“เอกสารอ้างอิง” “ภาคผนวก” และ “ประวัติย่อของผู้วิจัย” ตามลำดับ ชิดขอบซ้าย
1.8.4 พิมพ์ชื่อบท อยู่ห่างจากเลขที่บท 2 ตัวอักษร
1.8.5 พิมพ์หัวข้อย่อยในแต่ละบท โดยเว้นระยะ 7
ตัวอักษร
1.9 สารบัญตาราง
1.9.1 พิมพ์ข้อความ “สารบัญตาราง” หรือ “LIST OF TABLES” ไว้ กลางหน้ากระดาษ ห่างจากขอบกระดาษด้านบน
2 นิ้ว
1.9.2 พิมพ์ข้อความ “ตารางที่” หรือ “Table” ลงมา 1 บรรทัด ให้ห่างจากขอบกระดาษด้านซ้าย 1.5
นิ้ว แล้วพิมพ์ข้อความ
“หน้า” หรือ “Page”
ในแนวเดียวกันให้ห่างจากขอบกระดาษด้านขวา 1 นิ้ว
1.9.3 แสดงบัญชีตาราง โดยระบุหมายเลขตาราง ชื่อตาราง
และเลขหน้าตามที่ปรากฏในปริญญานิพนธ์
ให้หมายเลขตารางอยู่ตรงกลางของข้อความ “ตารางที่” หรือ
“Table” ข้างบน เว้นระยะ 2 ตัวอักษร แล้วพิมพ์ชื่อตาราง
โดยอักษรสุดท้ายของชื่อตารางห่างจากเลขหน้า 2 ตัวอักษร
1.10
สารบัญภาพ
1.10.1 พิมพ์ข้อความ
“สารบัญภาพ” หรือ “LIST
OF ILLUSTRATIONS” ไว้กลางหน้ากระดาษ ห่างจากขอบบน 2 นิ้ว
1.10.2 พิมพ์ข้อความ
“ภาพที่” หรือ “Figure”
ลงมา 2 บรรทัด ให้ห่างจากขอบกระดาษด้านซ้าย 1.5
นิ้ว แล้วพิมพ์ข้อความ
“หน้า” หรือ “Page”
ในแนวเดียวกันให้ห่างจากขอบกระดาษด้านขวา 1 นิ้ว
1.10.3
แสดงบัญชีภาพ โดยระบุหมายเลขภาพ ชื่อภาพ และเลขหน้าตามที่ปรากฏในปริญญานิพนธ์
ให้หมายเลขภาพอยู่ตรงกลางของข้อความ “ภาพที่” หรือ
“Figure” ข้างบน เว้นระยะ 2 ตัวอักษร แล้วพิมพ์ชื่อภาพ
โดยอักษรสุดท้ายของชื่อภาพห่างจากเลขหน้า 2 ตัวอักษร
1.11 คำอธิบายสัญลักษณ์ คำย่อ และอักษรย่อ
1.11.1 ปริญญานิพนธ์ภาษาไทยให้พิมพ์ข้อความ
“สัญลักษณ์” หรือ “คำย่อ” หรือ “อักษรย่อ” หรือ “ศัพท์เทคนิค” ปริญญานิพนธ์ภาษาอังกฤษให้พิมพ์ข้อความ
“LIST OF SYMBOLS” หรือ “ABBREVIATIONS” หรือ “TECHNICAL VOCABULARY” แล้วแต่กรณี ไว้กลางหน้ากระดาษห่างจากขอบบน 2 นิ้ว
1.11.2 พิมพ์ข้อความบรรทัดแรกของอารัมภบท (ถ้ามี)
ห่างจากข้อความในข้อ 11.1 ลงมา 1 บรรทัด
1.11.3 แสดงบัญชีสัญลักษณ์ หรือ คำย่อ หรือ อักษรย่อ
พร้อมคำอธิบายโดยพิมพ์สัญลักษณ์ หรือ คำย่อ หรือ อักษรย่อ รายการแรกห่างจากข้อความข้างบน
1 บรรทัด
หมายเหตุ กรณีที่รายการในข้อ 1.8 ถึง 1.11
ถ้ามีความยาวเกินหน้ากระดาษเดียว
ให้พิมพ์ส่วนที่เหลือโดยพิมพ์คำว่า สารบัญ หรือ สารบัญภาพ
หรือ สารบัญตาราง หรือ
คำอธิบายสัญลักษณ์ คำย่อหรืออักษรย่อ
แล้วตามด้วยคำว่า “(ต่อ)” หรือ
“(Continued)” หรือ “(Cont’d)” ในกรณีนี้จะต้องมีข้อความอย่างน้อย 2 บรรทัด
2. ส่วนเนื้อหา
2.1 การแบ่งเนื้อหา
2.1.1 การแบ่งบท
ควรแบ่งเนื้อหาออกเป็นบทๆ โดยทั่วไปปริญญานิพนธ์ที่ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative
Research) มักแบ่งออกเป็น 5 บทคือ บทนำ
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
และสรุปอภิปรายผลตามลำดับ ส่วนปริญญานิพนธ์ที่ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative
Research) มักแบ่งเป็น 5-6 บท ตามความเหมาะสม โดยบทที่ 1 เป็นบทนำ
และบทสุดท้ายเป็นบทสรุป
2.1.2 หน้าแรกของแต่ละบท ให้เริ่มต้นด้วยข้อความ “บทที่” หรือ “CHAPTER” และตามด้วยเลขกำกับบทโดยวางไว้กึ่งกลางหน้า ถ้าข้อความบทยาวเกิน 1 บรรทัด
ให้จัดเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วหัวกลับ และแบ่งข้อความแต่ละบรรทัดให้ได้ใจความ
2.2 ตาราง
2.2.1 การนำเสนอตาราง อาจทำได้
3 วิธี ให้เลือกวิธีใดวิธีหนึ่ง คือ
2.2.1.1 นำเสนอตารางต่อจากข้อความที่กล่าวถึงตารางนั้น
หากมีเนื้อที่ไม่เพียงพอที่จะเสนอตารางในหน้าเดียวกันกับข้อความ
ให้พิมพ์ข้อความอื่นต่อแล้วจึงเริ่มพิมพ์ตารางในหน้าถัดไป
2.2.1.2
นำเสนอตารางทั้งหมดไว้ด้วยกันในที่หนึ่งที่ใดตามความเหมาะสม
2.2.1.3 นำเสนอตารางเป็นตอน
ๆ แยกจากข้อความตามความเหมาะสม
2.2.2 ขนาดของตาราง ไม่ควรเกินกรอบของหน้าปริญญานิพนธ์
สำหรับตารางที่มีขนาดใหญ่ให้ลดขนาดลงโดยใช้เครื่องถ่ายสำเนาหรือวิธีการอื่น ๆ
ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ให้คงความชัดเจนไว้
2.2.2.1
ตารางที่มีความกว้างจนไม่สามารถบรรจุในหน้ากระดาษเดียวได้
ให้พิมพ์ตารางตามแนวนอนของหน้ากระดาษ
โดยหมุนส่วนบนของตารางเข้าสันปกหรืออาจย่อส่วนให้เล็กลงได้ตามความจำเป็น
แต่ไม่ควรเล็กเกินกว่า 15
ตัวอักษรต่อนิ้ว กรณีนี้ให้พิมพ์ตารางแยกจากข้อความอื่นของส่วนที่เป็นเนื้อหาปริญญานิพนธ์
การพิมพ์หมายเลขหน้าจะต้องทำอย่างเดียวกับหน้าอื่น ๆ
2.2.2.2 ตารางที่มีความยาวจนไม่สามารถบรรจุลงในหน้ากระดาษเดียวได้ จะต้องพิมพ์ชื่อตารางใหม่ และต้องมีข้อความในตารางอย่างน้อย
2 บรรทัด โดยให้พิมพ์ส่วนที่เหลือในหน้าถัดไป
โดยพิมพ์คำว่า “ตารางที่” หรือ “Table”
(พร้อมด้วยเลขลำดับที่ของตาราง) ตามด้วยชื่อตาราง
และตามด้วยคำว่า “(ต่อ)” หรือ “(Continued)” หรือ “(Cont’d)”
2.2.2.3 สำหรับตารางที่มีหัวเรื่องควบสดมภ์ (Boxhead) มาก ๆ ให้ซอยตารางออกได้
2.2.2.4 ให้จัดวางตารางตามความเหมาะสมสวยงามของหน้ากระดาษกรณีตารางอยู่ในหน้าเดียวกับเนื้อหาปริญญานิพนธ์ให้เว้นระยะบรรทัดระหว่างด้านบนและด้านล่างของตารางกับเนื้อหาปริญญานิพนธ์
1 บรรทัด
2.2.3 คำอธิบายตาราง ประกอบด้วยหมายเลขตารางและชื่อตาราง ทั้งนี้
2.2.3.1
อาจจะเรียงหมายเลขลำดับตาราง
ตั้งแต่ตารางแรกจนถึงตารางสุดท้ายในปริญญานิพนธ์ หรือ
เรียงหมายเลขลำดับตารางในแต่ละตอน
ออกเป็นตอน ๆ ไป
2.2.3.2 ระบุหมายเลขตารางในปริญญานิพนธ์ภาษาไทยว่า
“ตารางที่ 1 ตารางที่ 2...” ตามลำดับ ส่วนปริญญานิพนธ์ภาษาอังกฤษให้ใช้ “Table 1 Table 2…”ตามลำดับ และให้เว้นระยะ 2 ตัวอักษร
แล้วจึงพิมพ์ชื่อตาราง
2.2.3.3 ชื่อตารางควรเป็นข้อความที่กะทัดรัดและสื่อความหมายอย่างชัดเจน
ให้ใช้ภาษาเดียวกับภาษาที่ใช้เขียนปริญญานิพนธ์
กรณีชื่อตารางยาวเกินกว่า 1 บรรทัด ให้พิมพ์ตัวอักษรตัวแรกของบรรทัดที่สองตรงกับตัวแรกของชื่อตาราง หากมีคำอธิบายที่ต้องการบ่งบอกรายละเอียดให้ชัดเจน
ให้นำรายละเอียดไปใส่ไว้ในหมายเหตุท้ายตาราง
2.2.3.4 พิมพ์คำอธิบายตารางไว้ด้านบนของตาราง
2.2.3.5
ตารางที่อ้างอิงจากแหล่งอื่น
ให้ถือปฏิบัติตามวิธีการเขียน การอ้างอิงในเนื้อหา
2.2.4
การแสดงหน่วยในตาราง สามารถทำได้ 2 วิธี อย่างใดอย่างหนึ่ง
คือ
2.2.4.1
แสดงหน่วยไว้ในวงเล็บและพิมพ์ต่อท้ายหัวข้อตาราง
2.2.4.2
พิมพ์แยกบรรทัดหัวข้อตารางโดยให้อยู่ในบรรทัดถัดไปและอยู่ตรงกลางของหัวข้อตาราง
2.3 ภาพ
2.3.1 การนำเสนอภาพเช่น แผนภูมิ แผนที่ ภาพถ่าย ภาพวาด เป็นต้น
ให้เลือกแบบใดแบบหนึ่ง คือ
2.3.1.1 นำเสนอต่อจากข้อความที่สัมพันธ์กัน
หากมีเนื้อที่ไม่เพียงพอ
ที่จะเสนอภาพไว้ในหน้าเดียวกันกับข้อความ
ให้พิมพ์ข้อความอื่นต่อให้หมดหน้ากระดาษ
แล้วจึงเสนอภาพในหน้าถัดไป หรือ
2.3.1.2 นำเสนอภาพประกอบทั้งหมดไว้ด้วยกัน
ตามความเหมาะสม
2.3.2 ภาพประกอบที่มีขนาดใหญ่เกินหน้ากระดาษพิมพ์ปริญญานิพนธ์
ให้ลดขนาดภาพลง ด้วยวิธีการที่เหมาะสม
หากวางภาพในกรอบของหน้าปริญญานิพนธ์ตามปกติไม่ได้ ให้วางภาพตามแนวนอน คือ หันด้านบนของภาพประกอบประชิดขอบซ้ายมือของปริญญานิพนธ์
นอกเหนือจากนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์
2.3.3 คำอธิบายภาพ
2.3.3.1อาจเรียงหมายเลขลำดับภาพ ตั้งแต่ภาพแรกจนถึงภาพสุดท้ายในปริญญานิพนธ์หรือเรียงหลายเลขลำดับภาพในแต่ละตอนเป็นตอน
ๆ ไป โดยระบุหมายเลข ลำดับภาพในปริญญานิพนธ์ภาษาไทยว่า
“ภาพที่ 1 ภาพที่ 2...” ส่วนปริญญานิพนธ์ภาษาอังกฤษให้ใช้
“Figure 1, Figure 2…” เว้นระยะ 2 ตัวอักษรแล้วพิมพ์คำอธิบายภาพ
2.3.3.2 ชื่อภาพควรเป็นข้อความที่กะทัดรัด และสื่อความหมายอย่างชัดเจน
2.3.3.3 พิมพ์คำอธิบายภาพไว้กลางหน้ากระดาษใต้ภาพ
2.3.3.4 ภาพที่อ้างอิงจากแหล่งอื่น ให้ถือปฏิบัติตามวิธีการเขียนการอ้างอิงในเนื้อหา
2.4 อัญพจน์
2.4.1 การคัดลอกข้อความจากแหล่งต่างๆ
จะต้องเหมือนของเดิมทุกประการ ไม่ควรแทรกข้อความอื่นใดลงในอัญพจน์
หากจำเป็นต้องอธิบายให้พิมพ์ไว้ในวงเล็บเหลี่ยม [ ] หรือให้เชิงอรรถอธิบาย
หากต้องตัดข้อความบางตอนออกไปให้ใช้จุดสามจุด (...)
แทนข้อความที่ไม่ต้องการคัดลอกนั้น พร้อมทั้งเว้นระยะ 1
ตัวอักษรทั้งก่อนและหลังจุดนั้น ในกรณีที่อัญพจน์นั้น ไม่ใช่ภาษาเดียวกับปริญญานิพนธ์ให้แปลหรือถอดความไว้ด้วย
2.4.2 อัญพจน์ที่เป็นร้อยแก้ว
2.4.2.1 สำหรับข้อความที่ยาวไม่เกิน 4 บรรทัด ให้พิมพ์แทรกไว้ในข้อความบรรยายโดยใช้เครื่องหมายอัญประกาศ
(“...”) กำกับ
2.4.2.2 สำหรับข้อความที่ยาวเกิน 4 บรรทัด ให้พิมพ์แยกจากข้อความบรรยายโดยไม่ต้องใช้เครื่องหมายอัญประกาศ
(“...”) ให้ขึ้นบรรทัดใหม่ห่างจากข้อความข้างบน
2 บรรทัด ย่อหน้าห่างจากขอบซ้าย 4 ตัวอักษรทุกบรรทัด
ถ้าข้อความที่คัดลอกมานั้นมีย่อหน้าให้ย่อหน้าเข้ามาอีก 4 ตัวอักษร
2.4.2.3 ระบุแหล่งที่มา
2.4.3 อัญพจน์ที่เป็นบทกวี คำขวัญ คติพจน์ คำพังเพย
และสุภาษิต
2.4.3.1 ถ้ามีความยาวไม่เกิน 2 บรรทัด ให้พิมพ์แทรกไว้ในข้อความ บรรยายโดยใช้เครื่องหมายอัญประกาศ
(“.......”) กำกับ
2.4.3.2 ถ้ามีความยาวเกิน
2 บรรทัด ให้พิมพ์แยกจากข้อความบรรยายโดยไม่ต้องใช้เครื่องหมายอัญประกาศ (“.......”) ให้ขึ้นบรรทัดใหม่ให้ห่างจากข้อความข้างบน
2 บรรทัด
2.4.3.3 วางรูปบทกวี ฯลฯ
ตามความเหมาะสม พิมพ์ชื่อผู้แต่งบทกวี
ไว้ข้างล่างด้านขวามือ ห่างจากอัญพจน์ 1 บรรทัด
2.4.3.5
ระบุแหล่งที่มา
2.5 เอกสารอ้างอิง
2.5.1 พิมพ์ข้อความ “เอกสารอ้างอิง” สำหรับปริญญานิพนธ์ภาษาไทย
หรือ “REFERENCES”สำหรับปริญญานิพนธ์ภาษาอังกฤษ
ไว้กลางหน้ากระดาษห่างจากขอบกระดาษด้านบน 2 นิ้ว
2.5.2
พิมพ์บรรทัดแรกของรายการแรกห่างจากข้อความข้างบน 2 บรรทัด ให้อักษรตัวแรกอยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านซ้าย 1.5 นิ้ว
และอักษรตัวสุดท้ายอยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านขวา 1 นิ้ว บรรทัดต่อๆ ไปของรายการเดียวกัน
ให้พิมพ์โดยย่อหน้าเข้าไป 7 ช่วงตัวอักษร
2.5.3
ให้บรรทัดสุดท้ายของหน้าอยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านล่างไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว
2.5.4 ปริญญานิพนธ์ภาษาไทยให้พิมพ์เอกสารอ้างอิงภาษาไทยก่อนภาษาอังกฤษ ส่วนปริญญานิพนธ์ภาษาอังกฤษให้พิมพ์เอกสารอ้างอิงภาษาไทยไว้หลังภาษาอังกฤษ
2.5.5 เรียงแต่ละรายการตามลำดับอักษรของคำแรกของแต่ละรายการตามพจนานุกรม
2.6 การพิมพ์ชื่อวิทยาศาสตร์
2.6.1 การพิมพ์ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ จุลชีพ
พืช สัตว์
ให้ใช้ตามประมวลนามศาสตร์สากล (International Code of Nomenclature)
คือ ทำให้เด่นชัดแตกต่างจากตัวอักษรหรือข้อความอื่น ๆ โดย ขีดเส้นใต้
หรือ พิมพ์ด้วยตัวเอน ชื่อวิทยาศาสตร์เป็นไปตามการตั้งชื่อระบบทวินาม (Binominal
Nomenclature) คือประกอบด้วยคำ
2 คำ โดยคำแรกเป็นชื่อ Genus (Generic name) ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่
คำหลังเป็น Species โดยพิมพ์ห่างจากคำแรก
1 ช่วงตัวอักษรและขึ้นต้นด้วยอักษรตัวเล็ก ทั้งนี้อาจตามด้วยชื่อสกุลของบุคคลแรกที่กำหนดชื่อนั้น ตามความเหมาะสมของแต่ละสาขาวิชา
ดังตัวอย่าง
ก.
จุลชีพ
เช่น Escherichia coli หรือ Escherichia coli
ข.
พืช
เช่น Oryza sativa L. หรือ Oryza sativa L.
ค.
สัตว์
เช่น Crassostrea commercialis Iredal and Routhly หรือ
Crassostrea commercialis Iredal and Routhly
2.6.2 การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์
จะใช้ชื่อเต็มตามข้อ 2.6.1 เฉพาะเมื่อกล่าวถึงครั้งแรกเท่านั้น
การเขียนชื่อในครั้งต่อๆ ไปให้ใช้ชื่อ Genus เป็นตัวย่อโดยใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนชื่อ Species ให้ใช้ชื่อเต็มตามเดิม และไม่ต้องมีชื่อบุคคลต่อท้าย
ดังตัวอย่าง
ครั้งแรกเขียน Escherichia coli
ครั้งต่อๆ ไปเขียน E. coli
ครั้งแรกเขียน Oryza sativa L.
ครั้งต่อๆ ไปเขียน O. sativa
ครั้งแรกเขียน Lycosa pseudoannulata Rosenber
and Strandr
ครั้งต่อ
ๆ ไปเขียน L. pseudoannulata
2.7 การพิมพ์คำภาษาต่างประเทศ
ปริญญานิพนธ์ภาษาไทย
ไม่ควรพิมพ์คำภาษาต่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหา
หากจำเป็นต้องใช้คำภาษาต่างประเทศ มีหลักในการปฏิบัติดังนี้
2.7.1 ถ้าคำภาษาต่างประเทศนั้นมีอยู่แล้วในภาษาไทย
เช่น “คอมพิวเตอร์” ให้พิมพ์คำภาษาไทย
ไม่ควรพิมพ์ว่า “Computer” หรือ “เทคโนโลยีสารสนเทศ”
ไม่ควรพิมพ์คำว่า “Information Technology” เป็นต้น
2.7.2 กรณีที่คำภาษาต่างประเทศนั้น ๆ ยังไม่มีคำที่ใช้ในภาษาไทย ให้ใช้คำภาษาไทยในลักษณะทับศัพท์ตามหลักการเทียบพยัญชนะและสระที่กำหนดโดยราชบัณฑิตยสถาน
แล้ววงเล็บคำภาษาต่างประเทศกำกับไว้ เช่น เว็บไซท์ (Web Site)
เป็นต้น ทั้งนี้ให้วงเล็บในการกล่าวถึงครั้งแรกครั้งเดียวเท่านั้น การกล่าวถึงในครั้งต่อ
ๆ ไป ให้ใช้คำภาษาไทยโดยไม่ต้องวงเล็บคำภาษาต่างประเทศนั้นๆ
2.7.3 การพิมพ์คำในวงเล็บ ควรใช้ตัวอักษรให้เป็นรูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเล่ม โดยใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งต่อไปนี้
2.7.3.1
พิมพ์ด้วยตัวเล็กทั้งหมดยกเว้นชื่อเฉพาะ เช่น เว็บไซท์
(web site)
2.7.3.2 พิมพ์ตัวใหญ่เฉพาะอักษรตัวแรกของคำแรก เช่น เว็บไซท์
(Web site)
2.7.3.3
พิมพ์อักษรตัวแรกของทุกคำด้วยตัวใหญ่ เช่น เว็บไซท์
(Web Site) เป็นต้น
3.
ภาคผนวก
3.1 พิมพ์ข้อความ “ภาคผนวก
ก ภาคผนวก ข...” สำหรับปริญญานิพนธ์ภาษาไทย
หรือ “APPENDIX
A APPENDIX B…” สำหรับปริญญานิพนธ์ภาษาอังกฤษไว้กลางหน้ากระดาษ
3.2 พิมพ์ชื่อเรื่องของภาคผนวกห่างจากข้อความข้างบนลงไป
2 บรรทัด
3.3 หากภาคผนวก
แบ่งเป็นหลายเรื่องย่อยหรือหลายตอน ให้พิมพ์คำว่าภาคผนวก พร้อมตัวอักษรกำกับ และชื่อเรื่องไว้กลางหน้ากระดาษ
แล้วพิมพ์ข้อความโดยแยกเป็นเรื่อง หรือ ตอน ในลักษณะเดียวกับข้อ 3.2
3.4 สำหรับจดหมาย แบบสอบถาม
แบบตรวจสอบ แบบสำรวจ ฯลฯ
ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล หากมีขนาดใหญ่กว่ากระดาษที่ใช้พิมพ์ปริญญานิพนธ์
ให้ลดขนาดลงโดยการถ่ายสำเนาเอกสาร
หรือพิมพ์ใหม่ในกระดาษที่ใช้พิมพ์ปริญญานิพนธ์
3.5 ภาคผนวกที่เป็นอภิธานศัพท์
(Glossary)
หากไม่ได้นำเสนอไว้ในบทนำให้เรียงศัพท์ตามลำดับอักษร โดยพิมพ์อักษรตัวแรกของศัพท์แต่ละคำห่างจากขอบกระดาษด้านซ้าย
1.5 นิ้ว เว้นระยะ 2 ตัวอักษร แล้วจึงพิมพ์คำอธิบาย
หากคำอธิบายศัพท์ยาวเกินหนึ่งบรรทัด
ให้พิมพ์บรรทัดต่อไปโดยย่อหน้าเข้าไป 7 ช่วงตัวอักษร
3.6 หากมีภาคผนวกหลายรายการ
ก่อนถึงหน้าแสดงภาคผนวกแต่ละรายการ ให้พิมพ์ข้อความ
“ภาคผนวก”
หรือ “Appendices”
ไว้ตรงกลางหน้ากระดาษก่อนหน้านั้นเป็นแผ่นนำ